กว่า 23 ผ่านมาแล้ว ที่ชาวสะเอียบ ได้รวมตัวกัน เพื่อคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อน แก่งเสือเต้น ในขณะที่ ภาครัฐ มีความพยายามที่จะผลักดันโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นมาแล้วหลายครั้ง โดยในครั้งล่าสุด นายปลอดประสพ สุรัสวดี ในฐานะประธาน กบอ.ได้ออกมาให้ข่าวว่าจะลุยสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยไม่สนใจคำคัดค้านจากหลายฝ่าย หลังจากที่เดินทางลงตรวจพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดสุโขทัย การที่นายปลอดประสพ ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน กบอ. ดำเนินการผิดพลาดในการจัดการน้ำตั้งแต่ปี 54 จนทำให้เกิดน้ำท่วมภาคกลาง และกรุงเทพอย่างสาหัส ได้อาศัยสถานการณ์ช่วงที่เกิดน้ำท่วมอีกครั้ง ที่ จ. สุโขทัย ในปี 55 เนื่องจากผนังกั้นน้ำชำรุด ประกาศเดินหน้าโครงการก่อสร้างแก่งเสือเต้น อย่างไม่ฟังเหตุผลในการคัดค้าน ดูเหมือนจะเป็นการแสดงออกที่ไร้เหตุผลในฐานะตัวแทนของรัฐ จึงอยากให้มาฟังเหตุผลของชาวบ้าน ที่คัดค้านโครงการแก่งเสือเต้น และโครงการเขื่อนอื่นๆ อีกหลายเขื่อน ( จะทยอยลงให้อ่าน ) โดยในวันที่ 5-6 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ที่ วัดดอนชัย ต.สะเอียบ อ. สอง จ. แพร่ ได้มีการจัดงาน " ปกป้องป่าสักทอง รักษาแม่น้ำยม " โดยมีทั้ง ชาวบ้านสะเอียบ และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน มาร่วมงาน หลายพันคน
น้องๆ เยาวชนสะเอียบ กลุ่มตะกอนยม ชาวบ้าน และ น้องๆ จาก ม. เชียงใหม่ พ่อสมเกียรติ พ้นภัย แห่งสมัชชาคนจน จ. อุบลราชธานี มาร่วมงาน และถ่ายทอดผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล พร้อมให้ประสบการณ์บอกเล่าต่อชาวสะเอียบ ให้สู้ต่อไป ผู้ใหญ่ วิชาญ เสกสูงเนิน (ขวา) คุณโม คำคูน (ซ้าย ) ชาวบ้านลุ่มน้ำชมพู มาร่วมงาน เพราะเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ หากมีการสร้างเขื่อนคลองชมพู จ. พิษณุโลก ซึ่งมีแผนอยู่ใน โครงการ 3.5 แสนล้านของ กบอ. ยังมีอีกหลายกลุ่ม ทั้งจากภาคใต้ และอีสาน ที่ไม่ได้เอ่ยถึงในที่นี่นะคะ มีการร่วมเสวนาวงใหญ่ ทั้งนักอนุรักษ์ , นักวิชาการ , องค์กรชาวบ้าน , นักศึกษา , ผู้ได้รับผลกระทบ และ ศิลปิน โดยจะขอยกไปไว้ในเอ็นทรีถัดๆ ไป ในงานนี้ มีการลงสัตยบรรณร่วมคัานขื่อนด้วยกัน ระหว่าง เขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงก์ นายประกอบ อินชูพงษ์ ประธานกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมพยุหะคีรี ตัวแทนจากแม่วงก์ (บนซ้าย) นายสมมิ่ง เสือร้อง แกนนำชาวบ้าน ต.สะเอียบ ตัวแทนจากแก่งเสือเต้น (บนขวา) ( ล่าง )สมเกียรติ พ้นภัย แห่งสมัชชาคนจน จ. อุบลราชธานี กำนันชุม และ กำนันเส็ง ( ขออภัยขาดภาพกำนันชุม ) เซ็นเป็นพยาน แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายภาคประชาชน ปกป้องป่าสักทอง-รักษาแม่น้ำยม คลิก Playเมือจะดู
เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ร่วม ยืนหยัด ต่อสู้ ปกป้องป่าสักทอง และชุมชน ณ ที่แห่งนี้ ดินแดนชุมชนสะเอียบ บรรพบุรุษเราก่อตั้ง สร้างบ้านแปรงเมืองมากว่า 200 ปี เราลูกหลานอยู่กันมาด้วยความผาสุกมาโดยตลอด ปี 2534 เราได้ร่วมกันก่อตั้ง กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ซึ่งได้ร่วมกันปกป้อง ดูแล รักษา ป่าสักทองผืนสุดท้ายของคนไทยทั้งชาติมาอย่างต่อเนื่อง
เขื่อนแก่งเสือเต้น จะทำลายป่าสักทองผืนสุดท้ายที่เราร่วมรักษากันมา ไม่เพียงป่าสักทองกว่า 24,000 ไร่เท่านั้นที่จะถูกน้ำท่วมอย่างถาวร ป่าเบญจพรรณอีกกว่า 30,000 ไร่ ก็จะถูกตัดฟัน ล้างผลาญ ผืนดินจมอยู่ใต้เขื่อนแก่งเสือเต้นเช่นกัน และยังต้องอพยพพวกเราชาวสะเอียบ 4 หมู่บ้านอีกกว่า 1,000 ครอบครัว ท่วมที่ทำกินเราอีกกว่า 10,000 ไร่ อีกทั้งสัตว์ป่า แร่ธาตุ ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเมินค่าไม่ได้ ต้องจมอยู่ใต้เขื่อนแก่งเสือเต้น ทั้งยังเป็นการผลาญงบประมาณแผ่นดินอีกกว่า 20,000 ล้านบาท แม่น้ำยมยาวกว่า 735 กิโลเมตร เขื่อนแก่งเสือเต้นจะตั้งอยู่ที่ 115 กิโลเมตรทางตอนบนของลุ่มน้ำยม รับน้ำจาก 11 ลำห้วยสาขาเท่านั้น แล้วหากฝนตกใต้เขื่อนซึ่งยาวถึง 620 กิโลเมตรที่เหลือทางตอนกลางและตอนล่าง ที่รับน้ำจาก 66 ลำน้ำสาขาใต้เขื่อน อย่างฝนที่ตกที่เด่นชัย วังชิ้น ศรีสัชนาลัย ซึ่งอยู่ใต้ลงไปจากจุดที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น 100 – 200 กิโลเมตร แล้วเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง จะแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมได้อย่างไรเมื่อฝนตกใต้เขื่อน เขื่อนแก่งเสือเต้นสูง 72 เมตร เขื่อนยมล่างอยู่ต่ำลงมาจาเขื่อนแก่งเสือเต้นเพียง 10 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนแม่ยม และรอยเลื่อนแพร่ หากเขื่อนแตกมา คงไม่ตายเฉพาะคนเมืองสอง แต่คงตายกันทั้งเมืองแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เขื่อนยมบนอยู่ห่างจากหมู่บ้านเราเพียง 2 กิโลเมตร หากเขื่อนแตกมา คงไม่ตายเฉพาะคนสะเอียบ คนเมืองสอง คนเมืองแพร่ คงต้องตายกันทั้งเมืองเช่นกัน เขื่อนเหล่านี้วนเวียนอยู่แถวนี้ และยังคงจ้องทำลายป่าสักทองอยู่เหมือนเดิม เราเครือขายองค์กรภาคประชาชน นักศึกษา นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชาวบ้าน สมัชชาคนจน นักอนุรักษ์ ลูกหลานเยาวชนกลุ่มตะกอนยม และพี่น้องชาวสะเอียบ ขอยืนยันว่า เราจะร่วมกันปกป้องรักษาป่าสักทองและชุมชนของเราสืบต่อไป และจะต่อสู้คัดค้านโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง จ.แพร่, เขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์, เขื่อนโป่งอาง จ.เชียงใหม่, เขื่อนแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, เขื่อนวังชมพู จ.พิษณุโลก, เขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ, เขื่อนท่าแซะ จ.ชุมพร, เขื่อนคลองกลาย จ.นครศรีธรรมราช, เขื่อนลำโดมใหญ่ จ.อุบลราชธานี, เขื่อนเหล่านี้คือรัฐภัย ประเทศไทยไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเขื่อนขนาดใหญ่อีกแล้ว เรา เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ขอเรียกร้องให้รัฐบาล ยุติการผลักดันเขื่อนใหม่ หันมาใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชน พัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ พัฒนาระบบเหมืองฝาย ฯลฯ อันจะเป็นประโยชน์ต่อคนยากคนจนมากกว่า และขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาเขื่อนที่สร้างมาแล้ว อย่างเช่น เขื่อนสิรินธร, เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา จ.ศรีสะเกษ เป็นต้น รวมทั้งเร่งแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ยุติการข่มขู่คุกคามพี่น้องคนจนเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง ยุติการข่มขู่คุกคามพี่น้องท่าแซะ จ.ชุมพร และเร่งแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนให้เป็นรูปธรรม เพื่อความผาสุกของพี่น้องประชาชนสืบไป ด้วยจิตรคารวะ เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 6 ตุลาคม 2555 ณ วัดบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ หมายเหตุ : ท่านสามารถค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แม่น้ำเพื่อชีวิต : http://www.livingriversiam.org/thai/kst.htm เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ : http://northern-thailand-river.com/ Face book : ป่าสักทอง หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น และ Fan Pace : ป่าสักทอง หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น 2
( ผู้เขียน )การพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง และการไม่ยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เกิดปัญหามากมายในสังคม ประเทศเรากำลังจะเปิดรับประชาคมอาเซียน ในขณะที่ภาครัฐก็เร่งทำโครงการขนาดใหญ่ จนเกิดผลกระทบไปทั่ว รัฐบาลเองที่เป็นคู่ขัดแย้ง และเป็นตัวที่สร้างความขัดแย้งให้กลุ่มประชาชนกันเอง หากจะเดินหน้าโครงการอีกหลายโครงการ รวมทั้งเขื่อนต่างๆ ใน TOR 3.5 แสนล้านบาท ย่อมจะเกิดการต่อต้านขึ้นอย่างทั่วไปแน่นอน สิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง คือการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ การแสดงความคิดเห็นในโครงการที่เกิดผลกระทบต่อพวกเขาโดยตรง ซึ่งก็เป็นเรื่องของบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตยทั่วๆไป ที่ควรจะกระทำ รอเพียงภาครัฐจะเข้าใจ และยอมมารับฟังเหตุและผล มิใช่ดึงดัน และอ้างว่าเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ เลือกตัวเองมาแล้ว จะทำอย่างไรก็ย่อมได้
นิดา รายงาน และภาพ ขอขอบคุณ คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ และ ชาวชุมชน ต.สะเอียบ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
80'y Long Live the King | ||
![]() |
||
ความทรงจำฉลอง 60 ปีครองราชย์ |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |