จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความสัมพันธ์ด้านการจัดการเรียนการสอนศิลปะของวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี กับสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติลาวในครั้งแรกนั้น นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ส่งผลให้ต้นสังกัดสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการต่อในปีนี้เป็นครั้งที่ ๒ โดยยังคงกิจกรรมการจัดนิทรรศการศิลปกรรมแสดงผลงานร่วมกันของทั้ง ๒ สถาบัน ณ ห้องวางแสดงผลงานศิลปกรรม (Arts Exhibition room) ของสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์เป็นกิจกรรมหลัก สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดผลของการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายจึงได้เสนอให้จัดทำ “บันทึกความเข้าใจ” หรือ “เอ็มโอยู” (MOU-Memorandum Of Understanding) ร่วมกัน อาทิเช่น การสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านงานศิลปกรรมของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา การแลกเปลี่ยนการเดินทางไปทัศนศึกษาของนักเรียน นักศึกษา โดยจัดทำโครงการร่วมกัน เป็นต้น สำหรับวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีนั้น สถาบันบัณฑิพัฒนศิลป์ซึ่งเป็นต้นสังกัดได้อนุมัติในหลักการแล้ว ในส่วนของสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติลาวนั้น รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าว, วัฒนธรรม และ ท่องเที่ยว กำลังพิจารณาอยู่ คาดว่าการจัดงานร่วมกันในครั้งที่ ๓ ก็น่าจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การจัดการศึกษาของวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ศ.ปวช.) และหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ศ.ปวส.) เป็นหลัก ดังนั้น คณะที่เดินทางมาในครั้งนี้ จึงมีความประสงค์ที่จะเยี่ยมชมการจัดการศึกษาศิลปะในระดับเดียวกันของสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติลาวที่สาขาต่างแขวง คือ โรงเรียนวิจิตรศิลป์ชั้นกลางหลวงพระบาง การเดินทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปหลวงพระบางด้วยรถบัสที่ทางสถาบันฯ จัดให้นั้น นับเป็นประสบการณ์แรกในชีวิตของผู้เขียนที่รู้สึกว่าโหดสุดๆ สภาพถนนเป็นทางราดยางมีสองเลนรถวิ่งสวนกันไป - มาแต่ไม่ค่อยมีไหล่ทาง เส้นทางจะคดเคี้ยวไปมาตามหุบเขา บ้านเรือนผู้คนก็จะปลูกริมถนนสลับกับทุ่งนาและป่าเขา ระยะทางแค่ ๓๘๕ กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาถึง ๘ - ๙ ชั่วโมง ผู้เขียนตั้งใจที่จะซึมซับกับบรรยากาศความงามสองข้างทางให้เต็มที่ แต่พอรถเลี้ยวซ้าย - เลี้ยวขวาสลับกันไปมาโดยตลอด ก็ต้องนั่งหลับตาทำสมาธิ มิฉะนั้นคงจะต้องคายของเก่าที่พึ่งกินไว้ออกมาจนหมด โรงเรียนวิจิตรศิลป์ชั้นกลางหลวงพระบาง ชื่อเดิมคือ โรงเรียนวิจิดตะกำ (ECOLE DES BEAUX_ARTS) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๗๕ ปัจจุบันตัวอาคารเรียนเป็นอาคารอนุรักษ์ ด้านบนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะของนักเรียน ส่วนด้านล่างใช้เป็นห้องเรียนของภาควิชาจิตรกรรม ปั้นหล่อพื้นเมือง, ควัดพื้นเมือง, ภาพพิมพ์ ปัจจุบันอาจารย์บัวเคน อนุรักษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ กว่าคน เปิดสอนในระดับชั้นกลาง ๓ ปี และชั้นสูง ๓ ปี นักเรียนส่วนใหญ่จะไปเรียนกันที่อาคารเรียนซึ่งจัดสร้างขึ้นมาใหม่ อยู่ห่างจากที่เดิมไปประมาณ ๖ กิโลเมตร ผลงานศิลปะของนักเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ดูแล้วมีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากผลงานของนักศึกษาในสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติมากนัก ทั้งในด้านเรื่องราว รูปแบบ แนวความคิด และการแสดงออกทางศิลปะ ก็ยังคงถูกจำกัดโดยผู้มีอำนาจ ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างเสรีแบบเดียวกับไทยเรา อาจารย์บัวเคนกล่าวบรรยายสรุปให้ที่ประชุมฟังว่า ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ โรงเรียนจะพัฒนาการเรียนการสอน โดยจัดตั้งภาควิชาศิลปะพื้นเมือง และปฏิสังขรณ์ เพื่อให้สอดรับกับบริบทของพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม แต่ว่าทางโรงเรียนมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพียง ๒ - ๓ คน อาจจะขอความร่วมมือจากอาจารย์ของวิทยาลัยฯ ในโอกาสต่อไป ผู้เขียนฟังแล้วก็แอบนึกในใจว่า ถ้ามาสอนพิเศษแล้วเขาจะมีค่าตอบแทนให้หรือไม่ เหมือนกับอ่านความคิดของผู้เขียนออก อาจารย์บัวเคนกล่าวต่อไปว่า ตามระเบียบของโรงเรียนแล้วจะจ่ายค่าตอบแทนให้อาจารย์ที่มาสอนพิเศษชั่วโมงละซาวห้าพันกีบ (๒๕,๐๐๐ กีบ = ๑๐๐ บาท) ผู้เขียนคิดต่อว่าถ้าได้มาสอนพิเศษคงต้องอยู่แบบพอเพียง เพราะที่นี่เป็นเมืองท่องเที่ยวมีสิ่งเร้าที่เย้ายวนเยอะมาก ประชาชนโดยทั่วไปมีรายได้น้อย แต่ค่าครองชีพสูงมากถ้าเทียบกับบ้านเรา ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ก็นับว่าแพงเนื่องจากนำเข้าจากเมืองไทย ถ้าเป็นของที่ลาวผลิตเองจึงจะถูก ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเดินตลาดยามเช้า โดยส่วนตัวสนใจสินค้าประเภทพืชผัก จึงสอบถามแม่ค้าว่าเป็นพืชผักปลอดสารพิษหรือไม่ เขาบอกว่าพืชผักที่นี่ปลูกตามธรรมชาติโดย ไม่ใช่ยาฆ่าแมลง สาเหตุเพราะต้องซื้อในราคาที่แพงมาก เนื่องจากต้องนำเข้ามาจากเมืองไทย ที่เสียก็เสียไปที่ได้จึงจะนำมาจำหน่ายที่นี่ จริงเท็จประการใดผู้เขียนมิอาจสรุปได้ โปรดใช้วิจารณญาณของท่านเอง |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Thailand Blog Awards 2010 | ||
![]() |
||
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภท Education Blog |
||
View All ![]() |
หุ่นกระบอก | ||
![]() |
||
ไหว้ครูเบิกโรงหุ่นกระบอก |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |