*/
<< | มีนาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
..... จากบทความ ‘จอดรถวันอาทิตย์ตรงป้าย “ห้ามจอดตลอดเวลา เว้นวันอาทิตย์” แต่ถูกตำรวจปรับ 700 บาท’ ที่ อาจารย์หม่องเก็บประสบการณ์ที่เพิ่งเจอมาด้วยตนเอง มาถ่ายทอดให้กับสมาชิกในสังคม OK ได้รับรู้ (ซึ่งต้องขออนุ- ญาติอาจารย์หม่องนำมาขยายความต่อด้วยครับ) เป็นอีกกรณีหนึ่งในหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้น และดำเนินอยู่ในสังคม ปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ‘ช่องว่างทางกฎหมาย’ บนสัมพันธภาพระหว่า ง ‘ผู้บังคับใช้กฎหมาย’ กับ ‘ผู้อยู่ ใต้บังคับของกฎหมาย’ ซึ่งหมิ่นเหม่ต่อการบิดเบือนเจตนารมณ์ทางกฎหมายจาก ‘ป้องปราม’ เพื่อสร้างความสงบ เรียบร้อยในสังคม มาเป็นการ ‘ฉวยประโยชน์’ สร้างเม็ดเงินรายได้จากค่าปรับ (ดังความเห็นที่ 43 ซึ่งพี่ชาลีแจกแจง ไว้ใน entry เดียวกัน) โดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการการณ์หรือความไม่รู้กฎหมายของประชาชนเป็นเครื่องมือ .........
..... ในประเด็นข้อเท็จจริงที่มีประชาชนเป็นจำนวนมากต้องเสียค่าปรับจากการนำรถไปจอดบริเวณนั้น ว่ามีความถูก ต้องเหมาะสมเพียงใด? คงต้องทิ้งเป็นคำถามไว้ให้กับ สน.ท้องที่เป็นผู้ตอบคำถามนั้นเอง เพราะถึงผมจะมีความเห็น ทางกฎหมายที่เป็นอื่นอย่างไร แต่กระนั้นก็เป็นเพียงแค่มุมมองทางกฎหมายที่ยังไม่มีข้อยุติเท่านั้น ซึ่งคงเปล่า ประโยชน์ที่จะนำมาโต้แย้ง หรือไม่ได้ช่วยให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดลงไปได้แต่อย่างใด ดังนั้นวันนี้ผมจึงจะขอแค่นำ ประสบการณ์ที่บังเอิญเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านกฎหมาย ทั้งจากตนเองและคนรอบข้างมาบอกเล่าแบ่งปันใน บทความนี้ โดยหวังว่าน่าจะพอเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีพวก ‘หัวหมอ’ ปะปนอยู่ด้วย โดยเฉพาะ พวกที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ..........................................................................................................
..... ก่อนอื่นอยากให้ทุกท่านทิ้งทัศนคติที่มีต่อกฎหมายว่า “เป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวาย ยกให้เป็นหน้าที่ของทนายความ ไปก็แล้วกัน” แล้วหันมามองกฎหมายในฐานะหลักเกณฑ์ที่เป็นตัวกำหนด ‘หน้าที่’ ให้ประชาชนต้องปฏิบัติตาม และ กำหนด ‘สิทธิ’ ของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่ กับมันทุกวันโดยไม่รู้ตัว และก็ไม่รู้ด้วยว่ามันจะกลายเป็นปัญหาให้ปวดหัวขึ้นมาเมื่อไหร่ ดังนั้นการทำความเข้าใจหลัก เกณฑ์ทางกฎหมายว่าห้ามอะไร และคุ้มครองอะไรเราบ้าง จึงไม่ต่างจากการมีกรมธรรม์ประกันความวุ่นวายและการ โดนเอารัดเอาเปรียบเอาไว้กับตัว โดยเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายเพียงแค่เวลาและความใส่ใจเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเอง .......
..... ‘กฎหมายไม่ใช่สิ่งไกลตัว’ ........................................................................................................
..... เข้าใจว่าหลายท่านคิดกันว่ากฎหมายเป็นเรื่องไกลตัว ขอแค่คิดดีทำดีแค่นี้ก็พอแล้ว (อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลยครับ แม้แต่ตัวผมเองที่เคยเรียนกฎหมายมายังเคยคิดว่า เรียนมาเสียเวลาเปล่า!! เพราะไม่เคยนำมาใช้ในการทำมาหาเลี้ยง ชีวิตเลย จนเจอเข้ากับตัวเองนั่นล่ะครับ ถึงได้เข้าใจว่าโชคดีจริงๆ ที่เรียนมา) ทั้งนี้เพราะ โดยหลักทั่วไปทาง กฎหมายที่เชื่อมโยงกับคุณค่าทางศีลธรรม เป็นสิ่งทุกคนต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่ทำแล้วผิดกฎหมาย แต่ ความจริงก็คือ ยังมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับระเบียบทางสังคมอีกมากมาย ที่ไม่สามารถใช้ศีลธรรม จริยธรรม หรือจิตสำนึกชี้ วัดออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การกระทำนั้นๆ ‘ถูก’ หรือ ‘ผิด’ กฎหมาย ซึ่งกฎเกณฑ์ทางสังคมเหล่านี้ล่ะครับที่ เรามักจะมองข้ามความสำคัญไป ทั้งๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเองโดยตรง จนทำให้เกิดข้อแตกต่างระหว่าง ‘ผู้ที่รู้’ กับ ‘ผู้ที่ไม่รู้’ กฎหมาย อันเป็นช่องว่างให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ หรือฉวยผลประโยชน์อย่างถูกต้องตามกฎหมายไป โดยปริยาย ยกตัวอย่างใกล้ๆ ตัว เช่น ‘กฎหมายแรงงาน’ ........................................................................
..... ผมเชื่อว่าผู้ที่อยู่ในฐานะ ‘ลูกจ้าง’ (ถึงจะเป็นลูกจ้างที่มีความรู้ก็เถอะ) ไม่น้อยกว่าครึ่ง ไม่เคยเปิดดูกฎหมายฉบับ นี้เลย ทั้งๆที่เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิของตนเองในฐานะลูกจ้าง ที่จะได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายแท้ๆ เพื่อนผม คนหนึ่งถูกโยกย้ายหน้าที่การงาน อันเข้าข่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ซึ่งนายจ้างไม่สามารถทำได้หาก ลูกจ้างไม่ยินยอม แต่เพราะความไม่รู้ทำให้เพื่อนคนนั้นหมดโอกาสที่จะโต้แย้งใดๆ ได้ เพราะถือว่ายอมรับสภาพการ จ้างงานใหม่ไปแล้วโดยพฤตินัย หรือน้องที่รู้จักคนหนึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่มีค่าชดเชยเพราะไม่ผ่านการทดลองงาน (โดยให้เขียนหนังสือลาออก) หลังจากทำงานมา 5 เดือน (4 เดือนทดลองงาน กับอีก 1 เดือนกับการขยายเวลา ทดลองงาน) และเขาก็ออกจากงานมาโดยที่ไม่รู้เลยว่า กฎหมายกำหนดว่าลูกจ้างที่ทำงานเกิน 120 วัน นายจ้างต้อง จ่ายค่าชดเชย 1 เดือน และการเลิกจ้างนั้นต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 รอบการจ่ายเงินค่าจ้าง ไม่เช่นนั้นต้องมีค่า บอกกล่าวให้อีก 1 เดือน ทำให้เขาพลาดเงินชดเชย 2 เดือนไปเพราะความไม่รู้นั้นไปอย่างน่าเสียดาย ...................
..... หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในฐานะ ‘นายจ้าง’ เองก็ไม่ต่างกัน โดยเฉพาะนายจ้างในธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม จะมี ซักกี่คนที่เปิดอ่านกฎหมายรแรงงานบ้าง หลายคนโดนลูกจ้างหัวหมอย้อนศรเข้าให้ว่า “ก็ทำแบบนี้มาตั้งแต่แรก” ทำให้เอาผิดลูกจ้างไม่ได้เพราะไม่เคยทำสัญญาจ้างงาน ญาติผู้ใหญ่ของผมท่านหนึ่งต้องเสียเวลาวิ่งขึ้นลงสำนักงาน คุ้มครองแรงงาน และเสียเงินค่าชดเชยให้กับลูกจ้างที่ขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร และไม่แจ้งให้ทราบ เพราะคำพูดที่ว่า “ออกไปเลยไม่ต้องมาทำงานแล้ว” ด้วยไม่รู้ว่าการเลิกจ้างต้องทำเป็นหนึ่งสือระบุถึงสาเหตุที่เลิกจ้าง โดยละเอียด ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างได้ .......................................................................
..... เห็นแล้วใช่มั้ยครับว่ากฎหมายไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเราเลย และการที่เราละเลยไม่ทำให้ตัวเองรู้เอาไว้บ้าง ก็อาจเป็น เหตุที่ทำให้ต้องเสียสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายของตนเองไป ทางที่ดีสละเวลามาพิจารณากันดูซักนิดดีกว่าครับว่า ชีวิตประจำวันของเราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายอะไรบ้างหรือเปล่า แล้วลองหามาเปิดดูเพื่อให้พอรู้ว่า ‘สิทธิ’ และ ‘หน้าที่’ ของเราในทางกฎหมายกำหนดไว้อย่างไรบ้าง .......................................................................
..... ‘ความรู้คู่ความถูกต้อง’ ............................................................................................................
..... อย่าว่าแต่กรณีที่มั่นใจแล้วแท้ๆ ว่าทำถูกต้อง แต่ก็ยังพลาดถูกกล่าวหาว่าทำผิดจนได้ อย่างที่อาจารย์หม่องเพิ่ง ไปเจอมาเลยครับเรื่อง บางเรื่องต่อให้เราทำถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่างแล้วจริงๆ ก็ยังมิวายที่จะกลายเป็นผู้กระทำ ความผิดได้ หากเราไม่รู้กฎหมายที่สามารถนำไปโต้แย้งได้ ดังเช่นที่ผมเจอมากับตัวเองตอนเปิดร้านเบียร์สดช่วง เทศกาลปีใหม่เมื่อหลายปีก่อน ............................................................................................................
ตำรวจ) เข้ามาในร้าน จะยึดเครื่องเล่นเพลง โดยนำพยานมาอ้างกล่าวหาว่าร้านผมละเมิดลิขสิทธิ์เพลงไทยของค่าย เพลงหนึ่ง ทั้งๆ ที่ร้านผมไม่เคยเปิดเพลงไทยเลย อีกทั้งเพลงสากลที่นำมาเปิดก็ติดต่อชำระเงินกับตัวแทนลิขสิทธิ์ อย่างถูกต้อง มีหลักฐานยืนยันครบถ้วนทุกประการ แต่โชคดีที่ผมเคยอธิบายให้ภรรยาและเด็กทุกคนในร้านให้ได้รู้ถึง ขั้นตอนการตรวจค้นเอาไว้อย่างละเอียดแล้ว ว่าถ้าพวกนี้มา จะให้เข้ามาตรวจค้นได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานการแจ้งความ ดำเนินคดี และต้องมีหมายค้นเท่านั้น ถึงจะยอมให้เข้ามาค้นได้ และเมื่อเห็นว่าทำอะไรไม่ได้พวกเขาก็ไปพร้อมทิ้งคำ ขู่ว่า “หัวหมอนักนะมึง เดี๋ยวเห็นดีกัน” ทำให้ผมที่มาถึงหลังจากนั้นตามไปเอาเรื่องที่โรงพัก ในข้อหาบุกรุกและขู่ กรรโชก แต่ก็จบด้วยการออกมาขอโทษของตัวแทนลิขสิทธิ์ว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด .............................................
..... ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าผมไม่ได้ไปเปิดดูข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ก่อนที่จะทำร้าน (ไม่ได้เรียนกฎหมายนี้มา ก่อนเหมือนกันครับ เพราะตอนเรียนยังไม่ออก พรบ. นี้) ถ้าภรรยาผมไม่รู้ถึงสิทธิของตนที่กฎหมายคุ้มครอง คนพวก นั้นก็คงจะอ้างกฎหมายมาข่มขู่เพื่อยึดเครื่องเล่นเพลงไปจนได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจะมีแผ่นเพลงที่ไม่ใช่ของ ผมงอกออกมาเพื่อเอาผิดผมหรือเปล่า และเรื่องก็จะลงเอยที่ว่า ถึงแม้ผมจะทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ตาม ก็คงไม่พ้นถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดอยู่ดี ...........................................................................
..... นี่ล่ะครับที่ผมบอกว่า ‘ความถูกต้อง’ จำเป็นต้องมี ‘ความรู้’ ควบคู่อยู่ด้วย เพราะเราไม่ได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ที่ทุกคนยึดถือความถูกต้องเหมือนกัน ดังนั้นกฎหมายอะไรที่คิดว่าตนเองน่าจะรู้ไว้บ้าง ก็ลองหามาเปิดอ่านกันดูเถอะ ครับ ไม่จำเป็นต้องไปอ่านอย่างละเอียด เพราะเราไม่ได้จะไปเป็นทนายความให้ใครที่ไหน แค่อ่านให้รู้ถึงสาระสำคัญ ของกฎหมายนั้นเพื่อปกกันไม่ให้ใครมาอ้างกฎหมายเพื่อเอาเปรียบ หรือรังแกเราได้ก็พอ ....................................
..... ‘รู้ไว้ใช่ว่า เหมือนมียาสามัญประจำบ้าน’ .....................................................................................
..... ประเด็นนี้ผมหมายถึงข้อกฎหมายเบื้องต้นทั่วๆ ไป ซึ่งน่าจพอรู้เอาไว้บ้าง เพราะรูปแบบของปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่ว่าจะเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องงาน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่หลีกไม่พ้นที่จะมีกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่ จะแสดงออกมาให้เห็นก็ต่อเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาเท่านั้น การที่เรามีความรู้ทั่วไปทางฎหมายติดตัวเอาไว้บ้าง จึง ไม่ต่างจากมียาสามัญประจำบ้านติดไว้กับตัว ซึ่งสามารถช่วยให้เราหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น หรือช่วย บรรเทาความขัดแย้งให้ลดลง หรือหมดไปได้ในสถานการณ์ที่ไม่ใหญ่โตขนาดที่ต้องพึ่งพาทนายความ ..................
..... ยกตัวอย่างใกล้ตัวสมาชิกชาว OK เช่น ‘การเขียนบล็อก’ ...................................................................
..... “เขียนบล็อกอยู่ดีๆ สามารถทำให้ท่านเสียเงินได้” ถ้าจะสรุปเป็นคำโฆษณาผมว่าน่าจะมีใจความได้ประมาณคำ พูดนี้ หากบล็อกเกอร์ท่านใดเผลอไผลไปทำผิดกฎหมายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ขึ้นมา ..................................
..... รูปภาพ-เพลง .. ถ้าไม่ใช่รูปที่ท่านถ่ายเอง หรือเพลงที่ท่านแต่งเอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นซึ่งมี กฎหมายคุ้มครองไว้ครับ ดังนั้นก่อนนำมาใช้ประกอบเคยเปิดดูกับบ้างไหมครับ ว่ากฎหมายกำหนดข้อห้ามในการทำ ซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณะไว้อย่างไรบ้าง รวมถึงข้อยกเว้นที่กฎหมายอนุโลมให้เราสามารถนำมาใช้ได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เอาไว้อย่างไร เพื่อให้เราปฏิบัติตาม (พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗) .....................
..... หมิ่นประมาท .. การเขียนพาดพิง วิพากษ์วิจารณ์ ถึงบุคคลใดก็ตาม ย่อมมีโอกาสที่จะผิดกฎหมายว่าด้วย ‘การ หมิ่นประมาท’ เสมอทั้ง หมิ่นประมาทในทางอาญา หมิ่นประมาททางแพ่ง และ หมิ่นประมาทตาม พรบ.ว่าด้วยการกระ ทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายเหล่านี้มีข้อห้ามและข้อยกเว้นเขียนไว้อย่างชัดเจน ก่อนจะขีดเขียนอะไรเคยได้ ลองเปิดดูกันบ้างหรือยังครับ ..............................................................................................................
..... กฎหมายต่างๆ ตามตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเป็นกฎหมายทั่วไป ที่ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เป็น กฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับให้เกิดความเรียบร้อยแก่สังคม ซึ่งผมคิดว่าหากพอมีเวลาจะหามาอ่านผ่านตาเอาไว้บ้างก็ ดีนะครับ คิดเสียว่าของแบบนี้ “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม” ไม่แน่ว่าอาจจะมีประโยชน์กับเราขึ้นมาวันใดวันหนึ่งก็ได้ .....
..... เข้าใจครับว่าพอบอกว่าเรื่องกฎหมาย อาการเหม็นเบื่อของหลายๆ ท่านอาจจะกำเริบขึ้นมาในทันที ทั้งลักษณะ ภาษาที่ต้องแปลความจากไทยเป็นไทย ทั้งลักษณะความหมายที่ต้องอาศัยการตีความ แต่ก็อย่างที่ผมบอกเอานั่นล่ะ ครับ เราไม่ได้ศึกษาเพื่อที่จะไปว่าความให้กับใคร อะไรที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยก็ข้ามๆ มันไปก็ได้ สนใจแต่ใจสาระ หลักที่สำคัญว่ากฎหมายให้สิทธิและหน้าที่อะไรแก่เราบ้าง เท่านั้นก็เพียงพอที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการถูกเอาเปรียบโดยผู้รู้ กฎหมายได้ในระดับหนึ่งแล้วล่ะครับ .....................................................................................................
กฎหมายให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เฝ้าระวัง หาใช่ผู้หลับไหลไม่ตื่นตัว
พรายพิลาศ
ขอบคุณภาพจาก worth1000.com
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |