สงครามล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์เป็นเรื่องที่กล่าวขานไม่รู้จบสิ้นและไม่เป็นเพียงตราบาปของชนชาติที่เริ่มต้นก่อสงครามเท่านั้นแต่เป็นของมวลมนุษย์ทั้งหมด เผ่าพันธุ์ที่ยกย่องตัวเองว่าประเสริฐที่สุดในพื้นพิภพใบนี้สามารถทำลายล้างกันเองได้มากมายอย่างไม่รู้จบสิ้น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันชาติผู้จุดชนวนหายนะให้กับมนุษย์ชาติภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเองไปอย่างมากมายโดยเฉพาะชาวยิวที่เป็นเป้าหมายในการทำลายล้าง และการกวาดล้างนั้นเริ่มต้นก่อนสงครามโลกจะอุบัติขึ้นด้วยซ้ำด้วยกันอพยพชาวยิวไปอยู่ที่ค่ายกักกันและใช้งานจนหมดแรงหรือป่วยตายไปก่อน The Boy in the striped pajamas คือภาพยนตร์ที่สะท้อนความโหดร้ายของสงครามครั้งนี้ผ่านมุมมองของเด็กที่ไม่เข้าใจกับสงครามรอบตัวที่บรรดาผู้ใหญ่ก่อไว้ให้ และไม่ว่าจะเป็นเด็กชนชาติใด เยอรมัน หรือยิว พวกเขาก็เกิดมาพร้อมกับความบริสุทธิ์ที่ไร้การปรุงแต่งที่พบกันเมื่อใดก็สามารถสร้างมิตรภาพได้เมื่อนั้น แต่วันเวลาที่ผ่าน ประสบการณ์ที่เติบโต วันเวลาที่ดีก็เริ่มหมดไป The Boy in the striped pajamas คือภาพยนตร์สองสัญชาติ อเมริกันและอังกฤษที่สร้างในปี 2008 โดยสร้างจากวรรณกรรมเยาวชนชื่อเดียวกันที่แต่งโดยชาวไอริช จอห์น บอยน์ ในเวอร์ชั่นหนังสือเป็นที่นิยมถึงขนาดขึ้นเบสต์เซลเลอร์ทั้งในสหรัฐฯ อังกฤษ สเปน ออสเตรเลีย และอีกหลายๆประเทศ รวมทั้งมียอดขายกว่า 5 ล้านเล่มทั่วโลก รวมทั้งได้การแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “เด็กชายในขุดนอนลายทาง” ในเวอร์ชั่นภาพยนตร์กำกับโดย มาร์ค เฮอร์มัน ผู้กำกับชาวอังกฤษที่เราอาจจะไม่คุ้นชื่อนัก ผลงานที่เคยผ่านตาของผู้กำกับคนนี้ก็คือ Hope Springs ภาพยนตร์เริ่มที่ครอบครัวของราล์ฟนายทหารชาวเยอรมันผู้หนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ได้รับภารกิจใหม่ทำให้ต้องย้ายบ้านจากกรุงเบอร์ลินไปสู่ชนบท เขาจึงนำพาภรรยาและลุกชายวัย 8 ขวบกับลูกสาววัย 12 ปีตามไปด้วย บรููโนลูกชายของนายทหารเหมือนกับเด็กทั่วๆไปที่อาลัยอาวรณ์กับเพื่อนในกรุงเบอร์ลินและดูเหมือนจะมีปัญหากับการย้ายครั้งนี้ เมื่อมาถึงที่ใหม่สถานที่ๆห่างไกลความเจริญ แต่มีทหารเดินเข้าออกบ้านอยู่บ่อยๆ บรูโนสังเกตว่ามีฟาร์มอยู่ใกล้ๆบ้านและคนแถวๆนั้นที่เขาคิดว่าเป็นชาวไร่มีพฤติกรรมแปลกๆรวมถึงการสวมใส่ชุดนอนลายทางอยู่เป็นประจำ รวมทั้งที่ฟาร์มยังชอบเผาสิ่งของมีกลิ่นแปลกๆและมีควันลอยสูงขึ้นฟ้าอยู่เป็นประจำ คำถามในใจของบรูโนมีมากมายด้วยลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ชอบการผจญภัยแต่ในช่วงแรกความคิดถึงเพื่อนๆทำให้บรูโนรู้สึกเหงามากกว่า ส่วนเกรเทลพี่สาวกลับปรับตัวได้ดีกว่าเมื่อความสนใจของเด็กสาวไปอยู่ที่ทหารหนุ่มที่ประจำการอยู่และกลายเป็นเด็กสาวที่ถูกปลูกฝังให้คลั่งชาติไปกับลัทธินาซี ความอยากรู้อยากเห็นของบรูโน่นำเขาหาช่องทางออกจากนอกบ้านที่มีการคลุมเข้มอย่างมาก และบรูโน่ก็มุ่งไปยังฟาร์มที่เขาเห็นจากบ้านและพบกับเด็กรุ่นเดียวกับเขา นั่งอยู่ในฟาร์มที่มีรั้วสูงขวางกั้นอยู่ เด็กที่ใส่ชุดนอนลายทางที่เขาไม่เข้าใจว่ากลางวันแสกๆทำไมถึงใส่ชุดนอน เด็กที่มีชื่อที่เขาไม่เคยได้ยินมาก่อนว่าชมูเอล เด็กที่ดูเศร้า หิวโหย และหวาดกลัวที่แตกต่างจากเขาที่สุขสบาย ที่จะเหมือนกันก็อาจจะมีเพียงความเหงาและไร้เพื่อนในช่วงเวลาเดียวกัน และทำให้มิตรภาพของบรูโน่และชมูเอลก่อตัวโดยมีรั้วขวางกั้นเท่านั้นที่ทำให้ทั้งสองไม่สามารถเล่นด้วยกันเหมือนเด็กทั่วไป ![]() ความที่เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากวรรณกรรมของเยาวชนทำให้ทั้งเรื่องเราจะไม่เห็นภาพที่โหดร้ายของสงครามนอกจากภาพที่จินตนาการโดยผู้ชมเอง ยิ่งเคยชมภาพยนตร์เรื่อง The Schindler’s list ภาพยนตร์ที่เหตุการณ์ในเรื่องอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและเล่าถึงสงครามล้างเผ่าพันธุ์ยิวเช่นเดียวกันยิ่งทำให้ผู้ชมจินตนาการภาพธรรมดาในเรื่องนี้ไปในทางที่สุดขั้ว ภาพยนตร์เล่นกับประสบการณ์ที่ขัดแย้งของผู้ชมกับบรูโนเด็กน้อยตัวเอกของเรื่อง เมื่อบรูโนมองไกลออกจากหน้าต่างที่บ้านเห็นฟาร์มอยู่ลิบๆมีชุมชนที่น่าจะอบอุ่น ผู้ชมก็รับรู้ว่านั่นคือสถานที่กักกันและทรมานเชลยไม่ต่างจากนรกบนพื้นโลก บรูโนมองว่าชาวไร่รวมทั้งเพื่อนของเขาชมูเอลมีพฤติกรรมแปลกๆ เรื่องราวแปลกๆ เช่น บางคนเป็นหมอแต่กลับดันมาเลือกที่จะปลอกเปลือกมันอยู่ในครัวของเขา พฤติกรรมที่ใส่ขุดนอนลายทางตลอดเวลาของพวกเขาทั้งๆที่เป็นเวลากลางวันแสกๆ รวมทั้งชื่อของมูเอลที่เขาไม่เคยได้ยินว่ามีเด็กคนไหนมีชื่อนี้มาก่อน แต่ผู้ชมก็รู้ทันทีว่านี่คือนักโทษชาวยิวที่ต้องทนทุกข์มากมายจากการข่มเหงของทหารชาวเยอรมันไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไหน ควันไฟที่บรูโนเห็นว่าชาวไร่เผาอะไรอยู่เรื่อยๆจินตนาการของผู้ชมก็รู้ดีว่ามันคืออะไรที่โหดร้ายเกินบรรยาย ราล์ฟบิดาของบรูโนที่เขาเชิดชูเป็นฮีโร่ผู้ชมก็คงรู้สึกโหดร้ายเมื่อต้องบอกในใจว่านี่คือฆาตรกรของมนุษย์ชาติ ดังนั้นตลอดทั้งเรื่องเราจึงไม่เห็นภาพของสงครามที่เราชินตา แต่เห็นภาพที่ธรรมดาทั่วไป แม้แต่เด็กที่ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ไม่เห็นภาพความรุนแรงใดๆของสงครามเหมือนสายตาของบรูโนทีมองหลายๆสิ่งที่แตกต่างออกไป แม้จะมีเสียงตวาด การดุตวาดของทหาร การทำร้ายร่างกายเล็กๆน้อยๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ใครๆก็เห็นเป็นประจำในทุกวันนี้ และบรูโนที่แสดงโดย อซา บัตเตอร์ฟิลด์ เป็นจุดแข็งของเรื่องที่ถ่ายทอดทั้งสายตา สีหน้าของความไม่เข้าใจในโลกที่เขาเห็นเหมือนเด็กๆทั่วไป จนผู้ชมที่มีประสบการณ์ที่มากกว่าตีความสิ่งที่ไร้เดียงสานั้นได้โหดร้ายกว่ามากนัก รวมทั้งชมูเอล ที่รับบทโดยแจ็ค สแกนลอน ที่สะท้อนเด็กที่เผชิญกับชะตาที่โหดร้ายแต่เขาก็ไม่เข้าใจว่าชีวิตเขาแตกต่างจากเด็กปกติอย่างไรนอกจากความหิวโหย ความกลัวที่เขาต้องรู้สึกอยู่ทุกวัน มีเพียงสิ่งเดียวที่ผู้ชมอาจจะจินตนาการไปในทางเดียวกับบรูโนก็คือมิตรภาพของบรูโนและชมูเอล ความรู้สึกที่ไร้สารพิษเจือปนใดๆแต่เป็นมิตรภาพที่เกิดจากความไร้เดียงสา ความบริสุทธิ์ของมนุษย์ที่มีตั้งแต่เกิดก่อนที่จางหายไปเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น รั้วกั้นที่เปรียบสงครามไม่สามารถขวางกั้นมิตรภาพของเด็กชายสองคนได้ และมันก็คือสิ่งที่ไม่มีความใหดร้ายใดๆมาทำลายได้ตลอดกาล ![]() สงครามในประวัติศาสตร์ได้บ่งบอกพวกเราเสมอว่าไม่มีผู้ใดที่ได้รับชัยชนะที่แท้จริง มีแต่บาดแผลแห่งประวัติศาสตร์ บาดแผลในจิตใจของคนนับล้านๆ ภาพยนตร์เรื่อง The Boy in the striped pajamas ก็สะท้อนให้เห็นในตอนจบของภาพยนตร์ไม่ว่าผู้ก่อหรือผู้ถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมันหรือยิว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็ได้รับผลที่เลวร้ายจากสงครามทั้งนั้น และเมื่อบรูโนตอบแทนมิตรภาพที่มีชมูเอลมีให้กับเขาด้วยการช่วยชมูเอลตามหาพ่อที่หายไป และต้องปลอมตัวด้วยการสวมชุดนอนลายทางเข้าไปในฟาร์ม วินาทีที่บรูโนใช้แขนของเขาสอดใส่ไปในเสื้อนอนลายทางนั้น ความไร้เดียงสาของเขาไม่ได้หายไปไหน ความบริสุทธิ์ของมิตรภาพยังคงติตามบรูโนไปตลอดแต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปคือโลกที่เขาเคยมองด้วยสายตาไม่เข้าใจ เขาก็ยังคงไม่เข้าใจต่อไป แต่สิ่งที่เขากำลังได้สัมผัสมันคือความโหดร้ายที่เขาไม่เคยจินตนาการได้ถึง และมันก็บ่งบอกว่าสงครามไม่เคยมีผู้ชนะที่แท้จริงนอกจากความสูญเสียเท่านั้น
“Childhood is measured
out by sounds and smells and sights, John Betjeman “วัยเด็กวัดได้จากเสียง
กลิ่น และการมองเห็น ก่อนเวลาแห่งความมืดมิดของเหตุผลจะเติบโต” |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กรกฎาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |