บทเรียนแรก ปี 1959 ณ สถาบันที่มีชื่อเสียง เวลตั้น อคาเดมี่
โรงเรียนเตรียมเข้ามาหาวิทยาลัยที่ผลงานเชื่อถือได้และขึ้นขื่อกับความเคร่งครัดทั้งวิชาการและระเบียบวินัย
รวมทั้งเป็นที่คาดหวังของผู้ปกครองว่าลูกหลานของตัวเองจะเข้ามหาวิทยาลัยในคณะดีๆเมื่อผ่านจากสถาบันนี้
วันแรกของการเรียนการสอนอาจารย์แต่ละคนต่างมุ่งมั่นตามประเพณีปฏิบัติของโรงเรียน เปิดหนังสือท่องจำ ท่องศัพท์
ทำตารางสอบเก็บคะแนน เป็นเรื่องปกติที่นักเรียนจะต้องเจอ
แต่เมื่อนักเรียนห้องหนึ่งพบเจอกับเรื่องประหลาดที่ผิดคาดเมื่อครูสอนภาษาคนใหม่ท่านหนึ่งเริ่มคลาสเรียนด้วยการเดินผิวปากผ่านจากประตูหน้าแล้วเดินออกประตูหลังก่อนจะหันกลับมาบอกให้นักเรียนในห้องเดินตามออกมา
ทิ้งห้องเรียนไว้ข้างหลังเพียงการสอนคลาสแรกแบบไม่เคยมีครูคนไหนปฏิบัติมาก่อน และชื่อของอาจารย์คนนั้นก็คือ จอห์น คีตติ้ง
พร้อมกับบทเรียนแรกที่เป็นภาษาละตินบอกว่า คาเปเดี้ยม(Carpediem) ที่หมายถึง จงฉวยวันเวลาไว้ (To Seize the Day) ![]() ![]() ![]() ![]() จอห์น คีตติ้ง: จงฉวยวันเวลาไว้ เร่งเก็บดอกไม้แรกแย้ม ทำไมเขาเขียนอย่างนั้น นักเรียน: คงรีบร้อนทำมั้งครับ จอห์น คีตติ้ง: ผิด ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็น พวกเราเป็นอาหารของหนอน เพราะเรา....เชื่อหรือไม่ว่า ทุกคนในห้องนี้สักวันต้องหยุดหายใจ ตัวเย็นซีดแล้วก็ตาย ขอให้นักเรียนก้าวมาตรงนี้ (พานักเรียนเข้าไปดูรูปศิษย์เก่าใกล้ขึ้น) พิจารณาหน้าบุคคลในอดีต พวกเธอเดินผ่านวันละหลายหนแต่ก็แค่มองผ่านไป พวกเขามิได้้แตกต่างจากพวกเธอ ผมทรงเดียวกัน ฮอร์โมนเปี่ยมล้นเช่นกัน ยิ่งทะนงเหมือนพวกเธอที่รู้สึกเหมือนโลกอยู่ใต้แทบเท้า มั่นใจว่าอนาคตจะโชติช่วง ตาเป็นประกายของความหวังไม่แตกต่างกันจากพวกเธอ พวกเขาคอยจนสายไปที่จะใช้ชีวิตให้สมกับความสามารถ เพราะบัดนี้สังขารพวกเขาร่วงโรยแล้ว ถ้าเงี่ยหูฟังพวกเธอจะได้ยินเสียงกระซิบ(จากพวกเขา) เอียงหูเข้าไป ฟังดู (ทุกคนเอียงหูเข้าหารูป) ได้ยินไหม คาร์เป...อะไรนะ คาร์เปเดี้ยม จงฉวยวันเวลาไว้ ใช้ชีวิตให้สุดพิเศษ ![]() -------------------------------------------- บทเรียนที่สอง ในชั่วโมงสอนชั่วโมงหนึ่งขณะเริ่มสอนบทกวี
นักเรียนอ่านตำราเรื่องการเข้าใจบทกวี ในตำราอธิบายการเข้าใจบทกวีสามารถตีภาพออกมาเป็นกราฟและตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบว่าบทกวีของใครมีคุณค่ากว่ากัน
ครูคีตติ้งก็บอกว่าให้นักเรียนฉีกหน้านั้นในตำราทิ้งไป ท่ามกลางความฉงนของนักเรียนทั้งห้อง
จอห์น คีตติ้ง: ฉีกต่อไป นี่คือศึกสงคราม มันอาจเป็นหัวใจหรือจิตวิญญาณ เหล่ากองทัพนักศึกษากำลังต่อต้่านการตีค่าบทกวี เก็บเอาไม่ได้ ไม่มีตำราเล่มนี้อีกต่อไป พวกเธอต้องมีความคิดเป็นของตัวเอง ต้องเรียนรู้การลิ้มรส ถ้อยคำและภาษา ไม่ว่าใครจะบอกอะไรเธอ ความคิดอาจเปลี่ยนโลกได้ ทุกคนอาจจะบอกว่าเราควรเรียนตำราต่อไปเพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้อย่างอื่น จะบอกความลับให้ล้อมวงเข้าใกล้ๆ.......เราไม่เขียนหรืออ่านบทกวีเพราะมันแค่สดสวย แต่เพราะเราเป็นมนุษยชาติ มนุษยชาติเต็มไปด้วยกิเลส วิชาแพทย์ กฎหมาย ธุรกิจ วิศวะ เป็นสิ่งที่คนไขว่คว้าไว้เลี้ยงชีพ แต่เรื่องบทกวี ความไพเราะ โรแมนติค ความรัก เป็นสิ่งที่เราดำรงชีพอยู่เพื่อมัน....ถามตัวเอง ใยชีวิตมีปริศนามากมาย ทำไมศรัทธาทอดไกลไม่สิ้นสุด อีกทั้งความโง่งมของมนุษย์ ไหนความดีบริสุทธิ์ท่ามกลางเหล่าชีวี ตอบตัวเอง ใยพวกเราอยู่ที่นี่ เมื่อชีพเรายืนยงและคงด้วยศักดิ์ศรี คอยสร้างสรรค์คุณธรรมและความดี บทกวีชี้พลังเพื่อสังคม และ.............บทกวีของพวกเธอจะเป็นเช่นไร -------------------------------------------- บทเรียนที่สาม ขณะที่สอนเรื่องเช็คเสปียร์
ครูคีตติ้งก็เดินขึ้นไปยืนบนโต๊ะของครูแล้วถามว่า ทำไมครูถึงมายืนบนนี้
นักเรียนตอบผิด ครูคีตติ้งก็ตอบว่า
ที่ครูมายืนบนนี้ก็เพื่อเตือนใจตัวเองว่าเราต้องมองอะไรในแง่มุมที่แตกต่าง
แล้วก็หมุนตัวเองไปบนรอบๆโต๊ะแล้วพูดว่า โลกเราแปลกออกไปเมื่อยืนบนนี้
แล้วครูคีตติ้งก็ให้นักเรียนต่างผลัดกันขึ้นมายืนบนโต๊ะและมองตามรูปแบบตัวเอง จอห์น คีตติ้ง: (ขณะที่นักเรียนพากันเดินขึ้นไปยืนบนโต๊ะ) พวกเธอคิดว่ารู้อะไรดีแล้ว ลองมองจากอีกมุมหนึ่ง แม้จะดูเหลวไหลก็ต้องลอง เวลาอ่านอย่าคล้อยตามไปกับผู้เขียน แต่จงใช้หัวคิดของตัวเอง พวกเธอต้องฝ่าฟันหารูปแบบตัวเอง เธอเริ่มต้นเท่าไร ยิ่งหารูปแบบตัวเองยากขึ้น ทอร์โร่บอกว่าคนมักอ่านแบบสิ้นคิด จงอย่าทำตามแบบนั้น แหวกมันออกมา อย่าเดินตามกันต้อยๆแล้วพากันลงเหว ขอบคุณ กล้าออกความคิด กล้าหาแนวทางใหม่ -------------------------------------------- ![]() ![]() Dead Poet Society คือภาพยนตร์ในปี 1989 หรือเมื่อกว่า 20 ปีมาแล้ว พร้อมกับคำชมมากมายในแง่ของภาพยนตร์ที่สอนให้ผู้ชมได้เรียนรู้วิธีการของการเรียนรู้และฉกฉวยวันเวลาเมื่อยังสามารถทำได้ไม่ให้ปล่อยเลยไป รวมทั้งการกล้าแสดงความคิดเห็นในรูปแบบของตนเอง แทนรูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมที่ตีกรอบให้ทุกคนก้าวเดินไปตามทาง แม้อาจจะเป็นที่ถกเถียงถึงนักเรียนหรือมนุษย์ในช่วงอายุหนึ่งต้องมีกรอบหรือแนวทางเดินแต่ภาพยนตร์ที่ส่งข้อมูลผ่านต่อโดยครูคีตติ้งก็อธิบายว่าทุกคนควรใช้ความคิดได้เองว่าสิ่งใดควรทำตามและสิ่งใดควรเปลี่ยนมุมมอง เหมือนที่บอกว่า วิชาแพทย์ วิศวะ ธุรกิจ เป็นสิ่งที่ทำเพื่อหาเลี้ยงชีพ แต่่บทกวี ความรักหรือสิ่งที่อ่่อนไหว เราดำรงชีพเพื่อมัน นั่นก็หมายความว่าถ้าทุกคนได้ทุกฝึกให้รู้จักคิดก็จะรู้ว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร ซึ่งแตกต่างจากสังคมที่ห้ามไม่ให้คิด เพราะเมื่อถึงเวลาก็กลายเป็นคิดตามคนอื่นทุกครั้ง จึงไม่ต่างว่ากับคนไม่มีความคิดหรือคนที่ตายไปแล้วนั่นเอง ดังนั้นสังคมที่คิดไม่เป็นก็เปรียบเป็นสังคมที่ตายไปแล้วเช่นกัน ![]() ภาพยนตร์ผ่านพ้นครบ 20
ปีไปเมื่อปีที่แล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายสิ่งดีๆมักถูกละเลยเสมอ
พร้อมกับคงด้านมืดในตัวมนุษย์ไว้เพื่อทำลายสังคม สัปดาห์ก่อนต้อนรับวันครูมีโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง(โรงเรียนไหนคงทราบกันดี)ลงโทษลูกศิษย์ตัวเองและกดดันผู้ปกครองเพียงเพราะกล้าแสดงออกในรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับมุมมองทางด้านการเมือง
โดยผู้กระทำต่อลูกศิษย์เป็นถึงครูตำแหน่งผู้อำนวยการและครูคนอื่นที่เกี่ยวข้องก็เป็นถึงระดับผู้บริหาร
ซึ่งไม่แตกต่างจากตอนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่อง Dead Poet Society ที่เหล่าครูในเรื่องกดดันนักเรียนเพื่อโยนความผิดให้กับครูคีตติ้ง
แม้จะต่างกันในรายละเอียดแต่ก็แสดงความไร้จริยธรรมและไร้ความคิดเฉกเช่นเดียวกัน
จนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นวิธีคิดของคนที่มีคำนำหน้าว่า “ครู” และเชื่อว่ายังมีแอบแฝงอยู่ในสังคมไทยอีกมากมาย สังคมต่างยกย่องเด็กที่ออกมาเลียนแบบดารา
เต้นโชว์บนหน้าเวทีว่ามีความกล้า เด็กที่จดจำหน้าคนเป็นร้อยว่าฉลาดอัจฉริยะ
แต่เด็กประถมที่กล้าคิดทางการเมืองกับถูกลงโทษ สังคมแบบนี้จะยกระดับพัฒนาทางด้านคุณภาพและจิตใจไปได้อย่างไร
และเชื่อว่าสังคมที่มีคนเหล่านี้แอบแฝงอยู่ในระบบการศึกษามากเท่าไร
สังคมนั้นก็คงไม่ต่างจากตายไปแล้วเท่านั้น เพราะคงหาคนคิดเพื่อนำสังคมผ่านอุปสรรคคงไม่มีเลยสักคน Gather the rosebuds
while ye may, Old Time
is still a-flying; And this same flower
that smiles today, To-morrow
will be dying. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มกราคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |