วรรณกรรมสำหรับเยาวชนจากตะวันตกมักจะเป็นที่ชื่นชอบของสตูดิโอจิบลิในการนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนของค่ายนี้ และเมื่อนำมาผนวกกับแนวคิดหลักของสตูดิโอนี้ก็ยิ่งทำให้กลายเป็นส่วนผสมของ 2 ซีกโลกระหว่างตะวันตกและตะวันออกที่น่าสนใจยิ่ง การแฝงแง่มุมการรักชีวิตร่วมโลกทั้งหลาย การอนุรักษ์ธรรมชาติ ในบรรยากาศความสวยงามของลายเส้นการ์ตูน ถือว่าเป็นเสน่ห์ที่สำคัญของงานจากค่ายจิบลิ Arrietty คือภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องล่าสุดของค่ายและออกฉายที่ญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมา ก็คืออีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรมากมาย ภาพยนตร์ดัดแปลงจากวรรณกรรมชุดแนวแฟนตาซีระดับเยาวชนที่ชื่อ “The Borrower” ซึ่งเป็นผลงานของนักเขียนชาวอังกฤษนามว่า แมรี่ นอร์ตั้น (Mary Norton) และได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี 1952 สำหรับสตูดิโอจิบลิได้มอบหมายให้กับผู้อำนวยการสร้างให้กับ Hiromasa Yonebayashi และนับว่าเป็นงานใหม่ถอดด้ามในตำแหน่งนี้และถือว่าเป็นผู้อำนวยการสร้างที่เด็กสุดของค่ายจิบลิขึ้นมาทันที แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้คุณภาพงานลดลงไปแต่อย่างใด งานของจิบลิดึงตัวละครหลักๆมาจากงานวรรณกรรมดั้งเดิมนั่นก็คือครอบครัวคนจิ๋วสามคนพ่อแม่ลูก โดยมีลูกสาวก็คือตัวเอกและเป็นชื่อเรื่อง อาริเอตี้ (Arrietty) คือหัวใจหลักของเรื่อง แต่ปรับช่วงเวลาในเรื่องให้เป็นปัจจุบัน โช เด็กหนุ่มที่ประสบปัญหาพ่อแม่แยกทางและตัวเองก็เผชิญกับโรคร้ายที่ต้องผ่าตัดใหญ่ และก่อนหน้าการผ่าตัดจำต้องย้ายมาอยู่กับคุณยายและหญิงชรานรับใช้ในบ้านดั้งเดิมของตระกูลที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม วันแรกที่เขามาถึงเขาก็บังเอิญพบเจอกับตำนานที่เขาได้ยินบรรพบุรุษของครอบครัวเล่าสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนนั่นก็คือ สิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเหมือนคนแต่ขนาดเล็กกว่ามากร่วมอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ แต่การเห็นชั่วครู่โชก็นึกว่าตาฝาดไป ในขณะเดียวกันอาริอาตี้ หญิงสาวอายุ 14 ปี และเธอคือคนจิ๋วที่อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ในบ้านหลังนั้นก็คือคนที่โชเห็นนั่นเอง อาริอาตี้กำลังมีความสุขกับวันครบรอบวันเกิดและวันนี้นี่เองที่เธอจะได้มีโอกาสทำภาระกิจสำคัญเป็นครั้งแรกนั่นก็คือ “การยืม” พอตกค่ำคืนพ่อและอาริอาตี้ก็เริ่มทำภาระกิจการยืม นั่นก็คือการหาสิ่งของที่อยู่ในบ้านของมนุษย์ที่พวกเขาอาศัยอยู่ โดยเฉพาะน้ำตาลทรายก้อนที่กลายเป็นชนวนสำคัญของเรื่อง เมื่อภาระกิจการยืมเกือบจะสำเร็จ แต่เกิดเหตุบังเอิญทำให้อาริอาตี้ทำน้ำตาลทรายก้อนตก จนเป็นเหตุให้เกิดเรื่องราวอื่นๆตามมาอีกไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างโชกับอาริอาตี้ การหวาดกลัวว่ามนุษย์จะทราบว่ามีคนจิ๋วอยู่ในบ้านมนุษย์ และทำให้ครอบครัวคนจิ๋วตกอยู่ในอันตรายจนถึงต้องเตรียมการจะอพยพไปหาที่อยู่ใหม่เลยทีเดียว อาริอาตี้เป็นภาพยนตร์การ์ตูนจากจิบลิอีกเรื่องที่เน้นย้ำว่าธรรมชาติทั้งหลายบนโลกใบนี้ต้งเสื่อมโทรมก็มาจากฝีมือของมนุษย์นั่นเอง แม้ว่าในอาริอาตี้จะไม่ได้สะท้อนภาพชัดเจนเหมือนใน Nausicaa Valley of the Wind หรือใน Laputa, Castle in the Sky แต่ในความเรียบง่ายของอาริอาตี้ก็เป็นภาพของมนุษย์ที่เผ่าพันธ์อื่นๆต่างพากันหวาดกลัว เพียงแค่การพบเจอก็ทำให้เผ่าพันธ์อื่นต้องย้ายถิ่นหลบหนี น่าจะเป็นภาพลักษณ์ที่น่าตะลึงไม่น้อย อาริอาตี้ผู้พบเจอกับโชแม้จะยืนยันกับพ่อของเธอว่าโชเป็นเด็กหนุ่มที่นิสัยดีงาม ไม่มีอันตรายใดๆอย่างแน่นอน แต่พ่อของอาริอาตี้ก็ยืนกรานว่าแค่มนุษย์พบเจอพวกเราก็เป็นอันตรายแล้ว เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ยากจะคาดเดา และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆเมื่อ ฮารุหญิงชราคนรับใช้เพียงหนึ่งเดียวในบ้านสังเกตความผิดปกติและรู้ว่ามีคนจิ๋วที่เป็นเรื่องเล่าขานมีอยูในบ้านจริง ก็เริ่มปฏิบัติการตามหาและกล่าวโทษเหล่าคนจิ๋วเป็นเหมือนหัวขโมยที่อยู่ในบ้านต้องตามจับและกำจัดให้ได้ บางทีพฤติกรรมของฮารุดูเหมือนจะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความความสมเหตุสมผล แต่บางทีนี่ก็อาจจะเป็นเจตนาที่สำคัญของผู้สร้างที่อธิบายว่าเหตุใดครอบครัวอาริอาตี้เกรงกลัวกับการถูกมนุษย์พบเห็นนัก เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมไม่ต่างจากฮารุมากนักนั่นคือความไม่สมเหตุสมผลและการชอบทำลายโดยไม่ต้องมีเหตุผลอื่นใด อาริอาตี้จึงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่เรียบง่าย ภาพสวยงาม ที่ทั้งเรื่องมีแต่บรรยากาศธรรมชาติที่หลายคนฝันถึง แต่....ก็ยังแฝงความอันตรายของมนุษย์ที่ไร้เหตุผลอยู่นั่นเอง ใน Arrietty ยังมีมุมมองที่เปรียบเทียบของครอบครัวอาริอาตี้ ครอบครัวมนุษย์จิ๋วที่ดูเหมือนจะขาดแคลนทรัพยากรแต่อยู่พร้อมหน้ากันอย่างอบอุ่น แต่ครอบครัวของโช ครอบครัวมนุษย์ที่มีความมั่งคั่งกลับต้องอยู่เพียงเดียวดาย พ่อแม่แยกทาง และคงจะหมายถึงสิ่งอื่นใดไปไม่ได้นอกจากความสุขหาได้เพิ่มพูนตามทรัพย์สินที่มีมากแต่อย่างใด แนวคิดที่สำคัญในเรื่องก็คือ “การแบ่งปัน” เพราะเป็นชื่อเรื่องและมีฉากที่สำคัญอยู่ในเรื่อง หลายคนอาจจะแปลกใจว่าแท้จริงมันการคือยืมมากกว่าตามความหมายตรงตัวของคำว่า The Borrower เหล่าคนจิ๋วก็เหมือนเผ่าพันธ์บนโลกใบนี้ที่เกิดมาได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ได้การแบ่งปันจากธรรมชาติให้ชีวิตดำรงอยู่ คงจะมีเพียงเผ่าพันธ์เดียวคือ “มนุษย์” ที่ฉกฉวยทุกๆอย่างบนโลกใบนี้เป็นสมบัติของตน โดยเผ่าพันธ์อื่นใดมาใช้ประโยชน์ก็ถีอว่าเป็นหัวขโมย เป็นการยืมที่ต้องจ่ายคืน โดยไม่เฉลียวใจแม้แต่น้อยว่าหาได้มีสิ่งใดเป็นของมนุษย์อย่างแท้จริงแม้แต่น้อย ในทุกๆเรื่องของค่ายจิบลิมักจะมีฉากที่เรียบง่ายแต่มีความงดงามและเป็นหัวใจสำคัญของเรื่อง อย่างใน Totoro ฉากพี่น้องสองคนยืนคอยพ่อกลับบ้านที่ป้ายรถเมล์ก่อนเจอเทพในตำนานอย่าง Totoro ก็คือฉากที่ว่านั้น ในอาริอาตี้ก็เช่นกันเมื่อ อาริอาตี้ปฏิบัติการที่เรียกว่า “การยืม” ครั้งแรกไม่สำเร็จโดยเฉพาะการทำน้ำตาลก้อนหล่น เป็นที่มาของฉากสำคัญก็คือ โช นำน้ำตาลก้อนดังกล่าวมาวางในที่ๆเห็นอาริอาร์ตี้ในตอนแรกพร้อมกับกระดาษบันทึกเล็กๆที่เขียนว่า “เธอลืมของของเธอ” ฉากนั้นน่าจะเรียกร้องหัวใจคนดูให้หวั่นไหว แต่ที่สำคัญมันได้อธิบายว่า ทุกๆสิ่งเกิดมาจากธรรมชาติมีการแบ่งปันเพื่อให้ธรรมชาติเกิดความสมดุล ชีวิตที่ใหญ่กว่าแบ่งปันสรรพสิ่งให้กับชีวิตที่เล็กกว่า สิ่งที่มากมายเหลือเฟือของชีวิตหนึ่งซึ่งอาจจะปันเพียงเล็กน้อยแต่มีค่ามากมายสำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โชไม่ได้อ้างสิทธิในน้ำตาลก้อนนั้นเลยกลับบอกว่าเป็นของๆอาริอาร์ตี้ บางทีเรื่องราวของการแบ่งปันแบบนี้อาจจะมีให้เห็นแต่ในภาพยนตร์ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงคงจะยากที่จะเห็นผู้มีมากกว่าจะแบ่งปันผู้มีน้อยกว่าโดยไม่หาผลประโยชน์ อย่าว่าแต่แบ่งปันให้เผ่าพันธ์อื่นเลยเพราะเพียงมนุษย์ด้วยกันเองก็อาจจะลืมความหมายที่แท้จริงของคำที่ว่า “การแบ่งปัน” ไปเสียแล้วนอกจากคำสวยหรูที่ไว้หุ้มห่อพฤติกรรมแฝงยาพิษของมนุษย์เท่านั้นเอง เรื่องราวของการแบ่งปันก็คงอาจจะสูญหายไปในไม่ช้าไม่นาน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กรกฎาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |