เมื่อมนุษย์เข้าสู่ยุคโลกาวิวัฒน์แบบก้าวกระโดด การเดินทางย่นระยะเวลาจากหลายเดือนมาเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการข้ามทวีป ความสะดวกสบายที่ทำให้ยกระดับการเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และทุก ๆสิ่งมีด้านลบที่เป็นของคู่กันเสมอ การระบาดของโรคร้ายที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งไปอีกซีกโลกหนึ่งก็รวดเร็วเพิ่มขึ้นเช่นกัน โรคที่มนุษย์ภูมิภาคหนึ่งมีภูมิคุ้มกันระดับหนึ่ง ต่างยกโขยงไปสู่อีกภูมิภาคที่มนุษย์ที่ระดับภูมิคุ้มกันที่น้อยกว่า วัฒนธรรมหริอวิถีชีวิตที่แตกต่างแต่มีโอกาสเสี่ยงกว่า Steven Soderbergh ผู้กำกับที่คนไทยรู้จักดีในภาพยนตร์ไตรภาคชุด Ocean และ Erin Brockovich ที่มาจากเรื่องจริงของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่หาญกล้าฟ้องบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ที่ก่อมลภาวะ และเมื่อ Steven Soderbergh เปลี่ยนแผนจากความตั้งใจสร้างภาพยนตร์อัตชีวประวัติของบุคลในวงการภาพยนตร์เยอรมันช่วงยุคนาซีครองอำนาจ มาเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสที่กระจายไปทั่วโลก จากคำแนะนำของนักเขียนบทนาม Scott Z. Burns ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเกิดโรคระบาดไข้หวัดหมูในช่วงปี 2009-2010 จากการทำวิจัยเรื่องโรคระบาดมาช่วงหนึ่งทำให้สุดท้ายกลายเป็น Contagion (2011) โดยการนำต้นตอของการเกิดไวรัสที่เคยเกิดขึ้นจริงในมาเลเซียในปี 1997 ที่ชื่อ Nipah มาเป็นแหล่งกำเนิดไวรัสในภาพยนตร์ Contagion เป็นภาพยนตร์ที่เน้นความสมจริงแม้ว่าโรคระบาดในภเรื่องจะดูรุนแรง รวดเร็วกว่าโลกความเป็นจริงที่มีอยู่มากมายแต่ก็น่าจะเพื่อทำให้ภาพยนตร์เกี่ยวกับโรคระบาดให้ดูตื่นเต้นขึ้นมาบ้าง และที่น่าสนใจของภาพยนตร์ก็คือเป็นการรวบรวมดารามีชื่อมากมายในเรื่องตั้งแต่ แมท เดม่อน, กวินเน็ธ พัลโทรว์, จู๊ด ลอว์, เคต วินสเล็ต, มารียง กอตียาร์, ลอว์เรนซ์ ฟิชเบิร์น ภาพยนตร์เริ่มต้นที่นักธุรกิจหญิงที่เริ่มติดเชื้อเป็นวันที่ 2 (Day 2) และแสดงให้เห็นกับการติดต่อจากการสัมผัสไปสู่บุคคลอื่น และเรื่องราวส่วนใหญ่อยู่กับการสืบหาต้นตอในการติดเชื้อโดยบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีบล็อกเกอร์ไร้ชื่อที่พยายามจะสร้างชื่อให้ตัวเองด้วยการเข้ามามีบทบาทในวิกฤติการณ์ของโรคระบาดในภาพยนตร์ สร้างข้อมูลที่บิเบือน ในขรธที่บุคลากรทางสาธารณะสุขนอกจากเหน็ดเหนื่อยกับการจัดการทางการแพทย์ต้องมาจัดการกับข่าวสารที่สามารถเปิดเผยได้และความวิตกของผู้คน Contagion อาจจะเป็นภาพยนตร์ที่ดูไม่น่าสนุกเท่าไร แต่ก็เป็นภาพยนตร์ที่ฝากบทเรียนไว้มากพอสมควร
บทเรียนที่ 1 การสัมผัสคือต้นตอของการติดต่อ ภาพยนตร์เริ่มต้นที่ day 2 หรือหลังจากเริ่มมีการติดเชื้อคนแรกซึ่งไม่รู้อยู่ที่ไหน แต่สังคมจะเริ่มรับรู้ว่าเมื่อเริ่มมีการติดต่อละขยายตัวของโรค ภาพยนตร์สื่อแต่ต้นเรื่องว่าการสัมผัสเพียงเล็กน้อยที่ใกล้ชิดกันในชีวิตประจำวัน เป็นเหตุผลสำคัญของโรคระบาด การสัมผัสแก้วน้ำจากลูกค้า การจับราวในรถสาธารณะ การกดปุ่มลิฟท์ ก๊อกน้ำ ประตู การโอบกอดกันและกัน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของคนทั้งโลก
บทเรียนที่ 2 อัตราการติดเชื้อ เชื้อโรคในภาพยนตร์มีการติดต่อผ่านทางอากาศ ที่สำคัญมีวัตถุเป็นพาหะซึ่งก็คือการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อและเมื่อเฉลี่ยคนสัมผัสหน้าตัวเองหลายครั้งต่อวัน (ในภาพยนตร์ให้ข้อมูล 2-3,000 ครั้งต่อวันและ 3-5 ครั้งต่อนาที) ดังนั้นอัตราการแพร่เชื้อมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย ระยะฟักตัว ระยะของการติดเชื้อของแต่ละคน คนป่วยที่ยังไม่มีอาการสามารถติดเชื้อได้หรือไม่ ความยากง่ายของการติดเชื้อของประชากรในแต่ละสังคม แม้จะเป็นเพียงภาพยนตร์แต่เมื่อเทียบกับปัจจุบัน เราอาจะรู้ระยะฟักตัวแต่ข้อมูลที่น่าจะสำคัญก็คือเรายังไม่รู้แน่ชัดเลยว่า คนป่วยที่ยังไม่มีอาการสามารถติดเชื้อได้หรือไม่ เพราะน่าจะเป็นคำถามสำคัญแต่ขาดความชัดเจนว่าเป็นอย่างไรกันแน่เพราะคำตอบนี้อาจส่งผลต่อการป้องกันอย่างมากของสังคม
บทเรียนที่ 3 ความลับที่เริ่มปล่อยมักแพร่กระจายเหมือนไวรัสหรือบางครั้งอาจจะเร็วกว่า ตอนหนึ่งของเรื่องผู้เชี่ยวชาญของสาธารณสุขโทรคุยกับภรรยาว่าให้ขับรถออกจากเมืองที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรงแล้วห้ามบอกใคร ผลลัพธ์อย่างที่ทราบกันขนาดระดับคนเก็บความลับยังอดไม่ได้ คนที่รับข้อมูลไปซึ่งเป็นปุถุชนธรรมดามีหรือจะไม่บอกต่อ แน่นอนเรามักจะได้ยินสิ่งที่พูดกล่าว แชท ไลน์ ว่าเพื่อนที่เป็นแพทย์บอกมา และการกระจายข่าวลับทำนองนี้แพร่กระจายไปเร็วมากและสร้างความแตกตื่นอย่างได้ผล ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม ความกลัวจากข้อมูลปลอมยังทำให้ประเทศที่มีวินัยดีอย่างญี่ปุ่นต้องแห่กันไปกักตุนกระดาษอนามัยจนเกลี้ยงชั้นขายของแทบทุกๆร้าน
บทเรียนที่ 4 Super Spreader ไม่จำเป็นต้องมีเชื้อไวรัส ตามความหมายของสาธารณสุข Super Spreader เป็นผู้มีเชื้อแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นอีกมากมาย ในภาพยนตร์มีนักข่าวอิสระในโลกออนไลน์ที่มีผู้ติดตามหลายล้านคน จากไม่มีชื่อเสียงพยายามสร้างชื่อผ่านวิกฤติโรคระบาด และเมื่อสร้างชื่อได้เรียบร้อยแล้วก็มีการตกลงลับๆกับบริษัทขายยาที่จะทำให้สต๊อกยาที่มียาทำกำไร ก็เลยสร้างเรื่องว่ามียาตัวหนึ่งสามารถรักษาโรคได้ จนทำให้สังคมเกิดโกลาหล เข้าแย่งชิงในร้านยา และเกิดการปล้นชิงลามไปจนเรื่องอื่น การแย่งกันกักตุนอาหาร และลองนึกภาพว่าการโกลาหลเช่นนั้น สมมติใน ชาวบ้านที่แย่งชิงเกิดมีคนติดเชื้ออะไรจะเกิดขึ้น ซึ่งภาพยนตร์ก็ใส่เหตุการณ์นั้นมาเช่นกัน ดังนั้นเปรียบเปรยแล้วนักข่าวคนนั้นก็เปรียบเหมือน Super Spreader เช่นกัน แม้นักข่าวแท้จริงแล้วไม่ได้ติดเชื้อใด ๆเลย
บทเรียนที่ 5 Hero ตัวจริง มักอยู่เบื้องหลัง ภาพยนตร์เสนอตอนจบที่บุคลากรทางการแพทย์ที่ต่างทุ่มเท เวลา ชีวิต เพื่อคิดค้นการป้องกันและหาวิธีหยุดโรคร้าย แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด แต่ก็สูญเสียบุคลากรไปมากมายและส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เปิดเผยชื่อต่อสาธารณชน เริ่มตั้งแต่ทีมงานที่ไปสืบค้นต้นตอของโรคที่น่าจะอันตรายมากที่สุดเพราะแทบจะมีความรู้เกี่ยวกับเชื้อเป็นศูนย์ แถมแทบจะอยู่ท่ามกลางความมืดและสุดท้ายก็สละชีวิตเพื่อได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างวัคซีนในท้ายสุด ดังนั้นในโลกแห่งความเป็นจริงเราอาจจะไม่ได้เจอ Hero ตัวจริงเลยก็เป็นได้
ข้อสังเกตและข้อแนะนำ 1. วิกฤติทางสาธารณสุขต้องแก้ด้วยแนวทางของสาธารณะสุข ถ้าสังคมมีคน 10 คน 1 คนเป็นหมอ 1 คนเป็นนักการเมือง 1 คนเป็นอภิมหาเศรษฐี 2 คนเป็นคนชั้นกลาง 5 คนเป็นคนจน และใน 10 คนมีคนป่วย 1 คนที่ไม่รู้ว่าใคร มีหน้ากาก 1 ชิ้น คุณคิดว่าใครควรจะเป็นคนใส่ ถ้าใช้หลักประชาธิปไตย นักการเมืองก็บอกว่าเขาควรใส่เพราะอย่างน้อย 5 คนในพวกคุณเลือกเขาหรือเธอมา มหาเศรษฐีก็บอกควรใช้กลไกราคาเป็นตัวตัดสิน อุปสงค์และอุปทานจะบอกเองฉะนั้นประมูลหน้ากากชิ้นนี้ละกัน คนจนก็บอกว่าเขาหรือเธอเกิดมาก็ด้อยโอกาสอยู่แล้วควรได้หน้ากากชิ้นนี้ ดังนั้นโจทย์และถึงขั้นวิกฤติทางสาธารณะสุขจำเป็นต้องตอบด้วยหลักสาธารณะสุข ไม่ใช่หลักการเมือง หรือหลักประชาธิปไตย วิกฤติในไทยปัจจุบันจะเห็นว่ามีบุคคลากรทางการแพทย์ที่จริงหรือไม่จริงเป็นอีกเรื่อง มาสื่อสารในโลกออนไลน์ และคนส่วนใหญ่ก็มักจะเชื่อโดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นบุคลากรทางการแพทย์จริงไหมหรือข้อมูลที่สื่อสารจริงแท้แค่ไหน แต่สะท้อนให้เห็นว่าคนพร้อมจะเชื่อกับข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องกับสาะรณสุขในสถานการณ์เช่นนี้ 2. นับตั้งแต่เกิดเหตุที่จีนจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่มีเชื้อทั้งหมดหรือส่วนใหญ่จะยังวนอยู่กลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไปหรือชนชั้นกลางขึ้นไปเป็นอย่างน้อย(ยกเว้นคนขับแท็กซี่ 1 ราย) เนื่องจากต้นเหตุของโรคมาจากต่างประเทศ และคนไทยที่ไปรับมาก็ต้องมาจากการบินไปทำงานหรือท่องเที่ยว หรือเกิดจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศ และกลุ่มคนเหล่านี้มีวิถีชีวิตที่อยู่ในกลุ่มตัวเอง เช่น การดื่มเหล้าในผับ จึงไม่ค่อยเห็นการติดเชื้อในกลุ่มระดับชาวบ้านธรรมดา คนมีรายได้น้อย แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์รวมชุมนุมคนทุกชนชั้น เช่น งานสงกรานต์ มหกรรมลดราคาของศูนย์การค้า งานวัดประจำปีที่ส่วนใหญ่จะเริ่มเดือนมีนาคมเป็นต้นไป และถ้าการแพร่ขยายไปสู่กลุ่มระดับชาวบ้านขึ้นมาระดับการแพร่ขยายจะน่ากลัวยิ่งขึ้น เพราะระดับชาวบ้านจะมีการพบปะกันในวงกว้างกว่าแต่ระดับการป้องกันที่น้อยกว่า แถมวิถีชีวิตอาจจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า 3. สถานที่ที่อาจจะถูกลืมในการจัดการหรือป้องกันความเสี่ยง เช่น วัดวาอารามต่าง ๆ สถานที่สำคัญทางศาสนาอื่น ๆ หรือที่ชุมนุมคนมากมาย ที่น่าสังเกตคือยังไม่มีการออกข่าวว่ามีการพ่นฉีดฆ่าเชื้อตามวัด แต่ลองคิดดูว่าชาวบ้านเข้ามากราบไหว้ในวัด จุดกราบส่วนใหญ่จะเป็นที่เดียวหรือใกล้เคียงกัน มีโอกาสติดเชื้อสูงไหม 4. หน้ากากอนามัยไม่ใช่สิ่งเดียวที่ป้องกัน ทุกวันนี้เหมือนสังคม สื่อ หรือนักการเมืองจะเทความสนใจไปที่หน้ากากอนามัย จนอาจละเลยการส่งสารการจัดการป้องกันความเสี่ยงทางด้านอื่นไป เพราะหน้ากากอนามัยแม้จะสำคัญแต่ถ้าไม่มีหรือมีไม่พอเราควรจะทำอย่างไร ปฏิบัติตัวอย่างไรในการอยู่ในสังคม เช่น การหลีกเลี่ยงการเดินทางในที่สาธารณะในชั่วโมงเร่งด่วน ด้วยการแปลี่ยนเวลาทำงานของตัวเอง เช่นขยับเวลาทำงานสายหน่อย กลับบ้านค่ำหน่อยเพื่อการเดินทางในระสาธารณะไม่แออัดจนเกินไป หรือวิธีอื่นๆที่หน่วยงานทางการแพทย์น่าจะระดมสมองกัน เพื่อให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ข้อมูลน่ารู้ ตามการศึกษาของ the American Journal of Infection Control ในปี 2015 เฉลี่ยผู้คนจะสัมผัสบนใบหน้าตนเอง 20 ครั้งต่อชั่วโมง และ 44 % ของการสัมผัสบนใบหน้านั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับดวงตา จมูกและปาก การศึกษาโดย the Journal of Occupational and Environmental Hygiene ศึกษาในห้อง เฉลี่ยผู้คนจะสัมผัสใบหน้า 15.7 ครั้งต่อชั่วโมง ในขณะที่อีกการศึกษาการสัมผัสหน้าในที่สาธารณะ จาก 249 ตัวอย่างในสหรัฐและบราซิลพบว่าการสัมผัสหน้าในที่สาธารณะจะเหลือเพียง 3.6 ครั้งต่อชั่วโมง Source: 1. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25637115 2. https://www.livescience.com/25086-stop-touching-yourself-flu-researchers-say.html |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มีนาคม 2020 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |