เทรนธุรกิจหลังวิกฤติโควิด19 นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า ควบรวมกิจการ หรือที่รู้จักคุ้นหูกันว่า M&A (Mergers and Acquisitions) กำลังเป็นกระแสอยู่ทั่วโลก เนื่องจากหลายธุรกิจได้รับผลกระทบจากทั้งทางตรงและทางอ้อมจากวิกฤติเศรษฐกิจ สำหรับในประเทศไทยดีลการควบรวมที่เป็นกระแสพูดถึงในวงกว้างคงหนีไม่พ้นการควบรวมกิจการวงการโทรคมนาคมของ ทรู-ดีแทค โดยรูปแบบที่ทั้งทรูและดีแทคเลือกใช้นั้น เป็นการควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration) ซึ่งเป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกันโดยหลังการควบรวมกันแล้วจะเกิดขึ้นเป็นบริษัทใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับที่ทางทรู และดีแทค มองตรงกันว่า การปรับโครงสร้างสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี สอดรับกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะก้าวเป็นฮับของเทคโนโลยีในระดับภูมิภาค โดยโทรคมนาคม หรือ Telecom จะยังคงเป็นธุรกิจหนึ่งของโครงสร้าง และจะต้องพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติมในส่วนที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ ระบบคลาวด์เทคโนโลยี ไอโอที อุปกรณ์อัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ดิจิทัลมีเดียโซลูชันของไทย เปิดกระบวนการทำ M&A (Mergers and Acquisitions) ตามทฤษฏีภาคธุรกิจ
ตัวอย่างกรณีการควบรวมของทรูและดีแทคนั้น ดำเนินการขณะนี้ถึงขั้นตอนที่ 4 คือทำรายการตามที่กฎหมายกำหนด รอการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท และตามกฎข้อบังคับกิจการโทรคมนาคมตามเงื่อนเวลาดังต่อไปนี้ กระบวนการทำ Due Diligences ขั้นตอนสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลชั้นความลับ หนึ่งในกระบวนการของ M&A ที่เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการควบรวมกิจการ คือ Due Diligences ตามที่ทราบกันว่าจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลสำคัญของกิจการ ทั้งฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการที่ตรวจสอบ ซึ่งเป็นไปตามที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่างทั้ง 2 กิจการ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีตัวแทนที่มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน (บุคคลที่3) มาทำหน้าที่นี้ โดยต้องให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานบัญชี ซึ่งขอบเขตการให้บริการ Due Diligences แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ Financial Due Diligence เป็นการตรวจสอบฐานะทางการเงินของกิจการ เพื่อความถูกต้องและนำไปประเมินผลที่มีต่อทรัพย์สินภายในกิจการ Legal Due Diligence เป็นการตรวจสอบระเบียบข้อบังคับ สัญญาต่างๆที่มีผลต่อบุคคลภายในและภายนอกกิจการ เพื่อให้ทราบถึงหน้าที่ ภาระผูกผันที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการ Operational Due Diligence เป็นการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการปฏิบัติงาน เพื่อค้นหาจุดเด่น จุดด้อยของกิจการ และนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไปในอนาคต กระบวนการทำ Due Diligence (การตรวจสอบข้อมูลภายในของกันและกัน) จะสุ่มเสี่ยงต่อการฮั้วราคาของผู้ประกอบการในอนาคตหรือไม่ หากดีลการควบรวมไม่สำเร็จ ? ตามปกติแล้วการซื้อขายกิจการเนื่องด้วยเป็น Due ใหญ่ มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จะต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะทำ Due Diligence อยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสัญญาที่เป็นเหมือนกับ Pre-Agreement ทำขึ้นมาก่อน เช่น MOU (Memorandum of Understanding) หรือ LOI (Letter of Intent) ซึ่งเป็นข้อสัญญารักษาความลับ (Confidentiality agreement) เพราะไม่มีอะไรที่รับประกันเลยว่า หากกรณีตรวจสอบสถานะทางกฎหมายไปแล้วเกิดไม่ซื้อ Due มัน Break ไป ตัว Target Company ได้เปิดเผยข้อมูลให้กับเราเยอะมากซึ่งปกติจะไม่เปิดเผยเรื่องพวกนี้ให้กับคนอื่นเป็นคนนอกองค์กรเพราะฉะนั้นจึงต้องมีข้อผูกพันเพื่อทำให้มั่นใจว่าความลับตรงนี้จะต้องได้รับการรักษาไว้และต้องไม่ถูกเปิดเผยออกไป สรุปคือ มีข้อกฏหมายควบคุมอยู่ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ก็มีข้อควรคำนึงในกระบวนการ ทำ Due Diligence ดังนี้
กลยุทธ์ M&A จึงถือเป็นกลยุทธ์สำคัญทางธุรกิจ ที้จะถูกงัดออกมาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพ และรักษาศักยภาพของบริษัทให้ยังอยู่รอดต่อไปในสนามธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นการขยายธุรกิจให้ไปสู่ระดับโลกได้อีกด้วย เพราะการควบรวมกิจการนั้นเป็นช่องทางหนึ่งในการขยายการเติบโตของธุรกิจ ที่เรียกได้ว่า สามารถสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ เพราะธุรกิจไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เข้าไปซื้อกิจการที่ดำเนินการอยู่ มีธุรกิจ มีลูกค้าอยู่แล้ว ทั้งยังอาจได้ประโยชน์จากมูลค่าเพิ่มหรือ Synergy ในแง่มุมต่างๆ.
ข้อมูลเรียบเรียงจาก: โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร TAI Smart Internship 2020 M&A [ห้องเรียนบริษัทจดทะเบียน] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มีนาคม 2022 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |