การกินอาหารข้างนอกถ้าคุณไปกินร้านข้างถนนฟู้ดคอร์ทหรือ ฟาสต์ฟู้ดกินเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น
แต่เมื่อใดคุณเข้าร้านที่ค่อนข้างแพง พนักงานเสริฟต้อนรับบริการอย่างดี ทิปจะกลายเป็นเรื่องน่าคิด จะทิปเท่าไหร่ สี่สิบห้าสิบ อ้าว..หนึ่งร้อย มากไปหรือเปล่า ร้านอาหารบางร้านตัดปัญหาลูกค้าทิปน้อยหรือไม่ทิปโดยรวมค่าบริการที่เรียกว่า service charge ไว้เรียบร้อย หลายคนคิดไปว่า service charge คือทิปที่ให้กับพนักงานเสริฟ ดังนั้นจึงไม่ทิปอีก ทิปทำไมซ้ำซ้อน แต่จากการบอกเล่าของเจ้าของร้านและพนักงานเสริฟหลายต่อหลายคน กลายเป็นว่า Service charge เข้าบัญชีร้านโดยตรง ถ้าเจ๊เจ้าของร้านดีก็จะนำมาแบ่งเท่าๆกันระหว่างเด็กหน้าร้านและหลังร้าน แต่ถ้าเจ๊คิดว่าจ่ายค่าจ้างเต็มที่แล้วจะเอาเข้ากระเป๋าเจ๊เองมันก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่มันจะทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าเรื่องทิปที่เมืองไทย มันเป็นเรื่องของความสมัครใจ ไม่มีกฎตายตัว ไอ้ที่จะทิปเท่าไหร่มันก็ตามแต่วิจารณญานของแต่ละคน จะห้าหรือสิบเปอร์เซนต์ หรือค้นเจอก้นกระเป๋ายี่สิบสามสิบแล้วทิป ก็ไม่น่าเกลียด คนไทยไม่ซีเรียส ต่อให้คุณนั่งในกินร้านหรูแล้วไม่อยากทิป พนักงานก็จะไม่ตามทวง หรือถากถางว่าเจ๊นี่ทำไมถึงหนืดถึงเค็มอย่างนี้ หรือในกรณีที่บริการแย่มาก รออาหารนานเกือบชั่วโมง พนักงานไม่ยิ้มไม่สบตา เรียกแล้วทำเฉย มันก็เป็นเหตุผลที่ดีที่จะไม่ทิป
ที่แน่แน่คือเรื่องทิปไม่ใช่วัฒนธรรมไทยเพราะแต่ไหนแต่ไรมาคนไทยนั้นขึ้นชื่อในการบริการอย่างเป็นมิตรช่วยเหลือด้วยความเต็มใจจะทิปหรือไม่ทิปก็เถอะ แล้วการทิปนั้นมาจากไหนใครคือหัวหมอต้นตำรับ
ทิปนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกที่อังกฤษในศตวรรษที่สิบเจ็ด (ช่วงปีค.ศ. 1600) ใน Taverns ร้านที่ขายเบียร์ขายอาหาร นักดื่มทั้งหลายจะหย่อนเงินให้กับพนักงานเสริฟเพื่อแลกกับการบริการที่รวดเร็ว บางร้านมีโถวางไว้ตรงกลางโดยเขียนไว้ข้างโถ "To Insure Promptitude" ซึ่งหมายความว่ารับประกันบริการที่ทันใจ คำว่าทิปเลยมีการสันนิษฐานว่าน่าจะย่อมาจากตัวอักษรตัวแรกของ 3 คำข้างบนนี้ Michael Lynn ศาตราจารย์มหาวิทยาลัย Cornell ผู้ค้นคว้าประวัติศาสตร์การทิปของอเมริกากล่าวไว้ว่าการทิปของอเมริกานั้นเริ่มขึ้นหลังสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในปี 1865 เศรษฐีอเมริกันทั้งหลายที่เดินทางไปยุโรปและคลุกคลีกับชนชั้นสูงที่นั่นได้นำธรรมเนียมทิปกลับมาเพื่อที่จะอวดว่าตนเป็นพวกมีการศึกษาและเป็นชนชั้นสูง การนำระบบทิปเข้ามาใช้ ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วย คนอเมริกันบางกลุ่มได้ก่อตั้งขบวนการแอนตี้การทิป (The Anti-Tipping Society of America) ซึ่งเริ่มก่อตั้งครั้งแรกที่รัฐ Georgiaในปี 1904) กลุ่มต่อต้านทิปเรียกร้องให้มีการยกเลิกเพราะเห็นว่าระบบนี้มันเป็น un-American และ un-democratic เป็นการแบ่งชนชั้นอย่างชัดแจ้ง William Scot เขียนคัดค้านไว้ในหนังสือ The Itching Palm ในปี 1916 ว่าการทิปนั้นมันเป็นความคิดของพวกชั้นสูง แล้วเพราะไม่ใช่ระบบชนชั้นหรอกหรือที่ทำให้พวกเราต้องออกจากยุโรปมาตั้งประเทศใหม่ในอเมริกา เราต้องกำจัดการทิป เพราะมันคือเนื้องอกร้ายของระบบประชาธิปไตย
จากงานวิจัยของ Jayaraman ในหนังสือ Forked: A New Standard for American Dining ขุดลึกไปว่า อเมริกาผ่านกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำครั้งแรกในปี 1938 ระบุว่าพนักงานเสริฟมีสิทธิได้รับค่าแรงขั้นต่ำ แต่ค่าแรงนั้นจะได้มาจากค่าจ้างโดยตรง หรือจากทิปก็ได้นั่นหมายถึงว่ากฎหมายเปิดช่องให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าแรงพนักงาน ถ้าพวกเขาได้รับทิปจากลูกค้าเทียบเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ Jayaraman เชื่อว่ากฎหมายค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีความเกี่ยวโยงกับการเลิกทาส เพราะเมื่อระบบทิปเข้ามาในอเมริกามันเป็นช่วงเดียวกับคนผิวขาวย้ายไปทำงานในโรงงานซึ่งมีรายได้ดีกว่า ส่วนงานเสริฟถูกรับช่วงต่อโดยคนผิวดำซึ่งเพิ่งได้รับการปลดปล่อยมา เจ้าของร้านส่วนใหญ่ยังคงมีความคิดว่า คนดำเป็นคนชั้นต่ำกว่าตน จึงสนับสนุนกฎหมายที่ออกมานี้เพื่อเลี่ยงจ่ายค่าจ้าง
อย่างไรก็ตามเมื่อมาถึงจุดหนึ่งขบวนการแอนตี้ทิปได้รณรงค์ จนกฎหมายงดทิปผ่านในปี 1909 ในรัฐวอชิงตันและอีกหกรัฐทางใต้กฎหมายงดทิปในเจ็ดรัฐที่ผ่านนี้ บังคับให้เจ้าของร้านจ่ายพนักงานเสริฟตามค่าแรงขั้นต่ำ ผลการชนะของเจ็ดรัฐนี้ ส่งอิทธิพลไปยังประเทศในยุโรปทำให้สหภาพแรงงานของประเทศในยุโรปรวมทั้งอังกฤษเริ่มเรียกร้องต่อรัฐบาลตน ว่าอาชีพเสริฟเป็นอาชีพหนึ่งเหมือนกันไม่ควรจะต้องทำงานพึ่งทิป แต่ควรมีรายรับอย่างน้อยเป็นค่าแรงขั้นต่ำจากนายจ้าง
มาถึงตรงนี้กลายเป็นว่าการออกกฎหมายงดทิปของอเมริกาในเจ็ดรัฐนั้น ได้ส่งอิทธิพลทางอ้อมให้ระบบทิปในยุโรปล้มเลิกไป ยุโรปตาสว่างแต่อเมริกายังไม่มีแฮ้ปปี้เอ็นดิ้ง เพราะเมื่อกฎหมายงดทิปเริ่มใช้เบื้องต้นในเจ็ดรัฐก็จริง แต่กลับไม่สามารถยืนหยัดนานเพราะสิบห้าปีต่อมา กฎหมายตัวนี้ก็ถูกยกเลิกไปในที่สุด
เรื่องทิปในอเมริกาดูจะเป็นเรื่องที่ถูกนักท่องเที่ยวกล่าวถึงมากเพราะน่าสับสน แต่คนอเมริกันเองเห็นเรื่องทิปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และต่างปฎิบัติตามอย่างภาคภูมิใจ
จำได้ว่าไปบอสตันเมื่อเจ็ดปีที่แล้วสามีพาครอบครัวKirk เพื่อนเก่า ไปเลี้ยงขอบคุณก่อนกลับบ้าน เพราะเราไปอาศัยอยู่บ้านเขาตลอดเจ็ดวัน พอถึงจ่ายค่าทิปสามีว่าจะจ่ายเท่าอังกฤษ 10% ดีไหม มิสซิส Kirk โวยวาย โอ้ยไม่ด้ายเลย อย่า.. ป้าขอออกคำสั่งต้องจ่ายค่าทิป 20% นั่นคือสองร้อยห้าสิบเหรียญ (เก้าพันกว่าบาทแน่ะ) เหมือนถูกปล้นกลางวันแสกๆเ ท่านั้นยังไม่พอป้าKirk บอกยูต้องทิปกับตันร้านที่พาเรามานั่งโต๊ะด้วยน่ะสิบเหรียญอย่างต่ำ ทำเอาฉันต้องร้อง โอ้โฮอะไรกันป้า กัปตันร้านไม่ได้บริการอะไรพวกเราเลยนะ ยังต้องทิปด้วยหรือ ป้า Kirk คาแรคเตอร์ผู้หญิงเก่ง (คล้ายฮิลลารี่คลินตัน) อย่างที่ฝรั่งเรียก she wears the pants in the house ย้ำด้วยเสียงมั่นใจ "ปกติมากินร้านนี้ฉันทิปให้เขามากกว่า 20% ฉันชอบร้านนี้มากร้านนี้เป็น fine diner ดังมากแต่ไม่เป็นไรครั้งนี้สามียูจ่าย 20 ก็ได้คือเป็นมาตรฐาน"
เห็นหน้าฉันเปลี่ยนสีเพราะช็อคจากค่าทิปป้าเลยช่วยอธิบายให้รู้สึกดีขึ้นว่า
ที่อเมริกา 50 รัฐมีค่าแรงขั้นตำ่ต่างกันไป ปกติประมาณ 8 ดอลล่าร์ต่อหนึ่งชั่วโมงแต่ถ้าเป็นพนักงานที่พึ่งทิปค่าแรงจะได้แค่ 2.13 ดอลล่าร์ต่อชั่วโมง นั่นหมายถึงว่าค่าทิปที่ได้รับคือเงินค่าแรงของพวกเขานั่นเอง ถ้าเราไม่ให้ทิปพวกเขาพวกเขาจะเอาอะไรไปเลี้ยงครอบครัว " If you don't give them tip , they can't pay the rent coz they live and die by the tip" Emotional Blackmail กันเลยน่ะเนี่ย
คิดแล้วมันก็น่าสงสาร แล้วทำไมเจ้าของร้านไม่จ้างเขาเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำหล่ะ ทำไมเจ้าของร้านโยนความรับผิดชอบของชีวิตพนักงานเสริฟมาให้ลูกค้า
ป้า Kirk แกเป็นถึงไดเร็คเตอร์ของมหาวิทยาลัย ความรู้นั้นท่วมหัวเลยสวมวิญญาณอาจารย์อธิบายให้ฉันฟังต่อว่า การทำธุรกิจร้านอาหารนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นธุรกิจเสี่ยง กำไรส่วนใหญ่มาจากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่รัฐบาลเลิกให้ขายแอลกอฮอลล์เพราะถูกกดดันจากกลุ่มศาสนาว่าสิ่งมึนเมาทำให้เกิดอาชญากรรมและความรุนแรง สถานการณ์บังคับเลยต้องลดค่าจ้างพนักงานเสริฟเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด จ้างพนักงานเป็นแบบอาศัยทิป แม้เมื่อรัฐบาลเปลี่ยนกฎหมายให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอลล์ได้อีกครั้ง แต่กลับไม่มีการเปลี่ยนกฎหมายค่าจ้างพนักงานเสริฟ
ปัจจุบันนี้ค่าจ้างพนักงานเสริฟยังคงถูกแบ่งเป็นสองประเภทคือค่าจ้างแบบพึ่งทิปคือ 2.13 ดอลล่าร์ และค่าจ้างที่ไม่น้อยกว่าแรงงานขั้นต่ำที่ไม่ต้องพึ่งทิป แต่เจ้าของร้านบางแห่งในอเมริกาเริ่มเปลี่ยนนโยบาย ไม่ต้องให้เด็กทำงานหวังทิป โดยเพิ่มservice chargeในบิล20% เป็นการรับประกันค่าแรงให้กับพนักงานเสริฟ ว่าอย่างน้อยจะได้รับ 20 ดอลล่าร์ต่อชั่วโมงในขณะที่เด็กในครัวจะได้ 14.50 ดอลล่าร์ต่อชั่วโมง ส่วนรัฐบางรัฐเริ่มจ่ายค่าแรงขั้นตำ่ให้กับพนักงานคือ 7.25 ดอลล่าร์ ไม่ว่าจะเป็น tip or non- tip staff
โชคดีที่อังกฤษไม่ได้มีถือเรื่องทิปแบบเอาจริงเอาจังเท่ากับพี่กัน พนักงานเสริฟที่อังกฤษได้ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย 6.7 ปอนด์ต่อชั่วโมงตามร้านอาหาร ถ้าพวกเขาบริการดีเอาใจใส่คุณดี คุณพอใจคุณทิปเขา 10% มันก็เป็นการแสดงความมีมารยาทสังคมที่ดีของคุณ
เครดิตภาพ http://www.chiangraibulletin.com https://commons.wikimedia.org www.amazon.co.uk Resource http://www.foodwoolf.com/2010/08/history-of-tipping.html http://foodtravel.about.com/od/tippingguide/fl/A-Brief-History-of-Tipping.htm https://www.washingtonpost.com/news/wonk/wp/2016/02/18/i-dare-you-to-read-this-and-still-feel-ok-about-tipping-in-the-united-states/ http://www.capradio.org/articles/2015/08/12/great-gratuity-a-brief-history-of-tipping-in-america/ http://uk.businessinsider.com/history-of-tipping-2015-10?r=US&IR=T) http://time.com/money/4046887/restaurants-no-tipping-ban/?iid=obinsite |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤษภาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |