ชุมชนแออัดกับปัญหาการไล่รื้อ เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่คู่กันมาเป็นเวลาช้านาน ผืนดินรกร้างว่างเปล่าที่คนจนบุกเบิกเป็นถิ่นอาศัยภายหลังการอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในเมือง เมื่อเจริญขึ้น มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ก็มักจะถูกนำไปใช้ในทางธุรกิจเป็นด้านหลัก ชุมชนในที่ดินเอกชนจึงถูกเคลียร์เพื่อแปลงสภาพพื้นที่ให้เป็นศูนย์การค้า อาคารพาณิชย์ บ้านจัดสรรหรือคอนโดหรู ขณะที่ภาครัฐเองก็มักใช้ที่ดินไปตามวัตถุประสงค์ที่ว่านี้เช่นกัน ดังข่าวคราวการเปิดประมูลที่ดินการรถไฟฯให้นายทุนเช่า หรือการลงทุนโครงการคลองเตยคอมเพล็กซ์ในพื้นที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย การไล่รื้อชุมชนแออัดทั้งจากเอกชนและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์เชิงธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอันใด ทั้งนี้เพราะทั้งกลุ่มทุนและรัฐไทย ล้วนยึดเอาแนวทางผลกำไรต้องมาก่อนความผาสุกทางสังคมและสวัสดิภาพของประชาชนตามกรอบลัทธิเสรีนิยมใหม่ มาเป็นจุดหมายในการพัฒนาอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามในระยะหลัง ได้ปรากฏสภาพการณ์ไล่รื้อที่นอกเหนือความคาดหมาย เป็นการไล่รื้อที่ทั้งปะทะ ขัดแย้ง สวนทาง กับค่านิยม จารีต และชุดคุณค่าดั้งเดิมของสังคมไทยโดยสิ้นเชิง ปรากฏการณ์ที่ว่าก็คือการไล่รื้อชุมชนโดยวัดและพระสงฆ์องค์เจ้าผู้สืบทอดสถาบันพระพุทธศาสนา ดังจะชี้ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในกรณีชุมชนหวั่งหลี ชุมชนหวั่งหลี ตั้งอยู่ในที่ดินของวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนเก่าแก่ดั่งเดิมของคนไทยเชื้อสายจีนย่านสาทร บางรัก ที่มีประวัติการอยู่อาศัยมาไม่ต่ำกว่า 80 ปี ในปี 2546 วัดยานนาวาในฐานะเจ้าของที่ดิน ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่ชาวชุมชนผู้เช่าตึกอาคารของวัดจำนวน 60 คูหา ต่อมาในปี 2547 ทางวัดได้ให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่งเช่าที่ดินผืนดังกล่าวแทนเป็นระยะเวลา 30 ปี เพื่อทำโครงการอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น จำนวน 77 คูหา จากนั้นบริษัทผู้ได้สัมปทานเช่าก็ดำเนินการฟ้องขับไล่ชุมชน จนท้ายสุดศาลได้ตัดสินให้ชาวบ้านแพ้คดีและต้องรื้อย้ายออก ในแถลงการณ์ของวัดยานนาวา มีการพูดถึงหลักที่วัดและชุมชนต้องอยู่ร่วมกัน โดยความตอนหนึ่งระบุว่า ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการวัดยินดีต้อนรับผู้เช่าเดิมที่ประสงค์จะเช่าตึกใหม่ เพื่ออาศัยทำธุรกิจอย่างยุติธรรม เพราะวัตถุประสงค์ของการพัฒนาฯ เป็นไปตามระบบบริหารจัดการในส่วนจัดประโยชน์เชิงการกุศลวัด มิใช่บริหารจัดการเพื่อเน้นธุรกิจโดยถือเงินเป็นใหญ่ อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงคือว่า ราคาเซ้งอาคารใหม่ต่อคูหาที่ผู้เช่าเดิมต้องจ่ายให้แก่บริษัทนั้น ตกอยู่ในราคาคูหาละ 4.8 5.3 ล้านบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพทำเลในโครงการ คำถามก็คือราคาค่าเช่าอาคารเดิมที่ชุมชนจ่ายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คูหาละ 250 บาท ต่อเดือน แล้วกระโดดพรวดไปเป็นราคาค่าเซ้งอาคารใหม่ 4.8 5.3 ล้านบาท ต่อคูหานั้น จะอธิบายว่าอย่างไร? กติกาการเก็บราคาใหม่จากผู้เช่าเดิม สะท้อนหลักแห่งความเมตตากรุณาและเป็นราคาเชิงการกุศลดังคำแถลงของวัด หรือเป็นราคาที่เดินไปตามกฎแห่งการแสวงกำไรสูงสุดของระบบทุนนิยม ที่พยายามผนวกเอาสถาบันพระศาสนาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง หากวัดยานนาวาคิดว่าราคาค่าเช่าอาคารเดิมเดือนละ 250 บาทต่อห้อง เป็นราคาที่ไม่เหมาะสมกับความเจริญทางเศรษฐกิจของพื้นที่ในปัจจุบัน ทางวัดและสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ก็สามารถเจรจาขอขึ้นค่าเช่ากับผู้อยู่อาศัยเดิมได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่ทางวัดจะต้องใช้วิธีผลักไสผู้เช่ารายย่อยแล้วต้อนรับนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งเป็นวิถีของการเอารัดเอาเปรียบแต่อย่างใด นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นการรื้อร้างทำลายอาคารดั่งเดิมอายุเกือบร้อยปี ที่มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังเชื่อมโยงกับยุคการค้าทางน้ำในอดีต ซึ่งเป็นโบราณสถานที่กรมศิลปากรเองก็เห็นควรให้อนุรักษ์ไว้ จากสภาพที่เล่ามา ชาวชุมชนหวั่งหลีจำนวน 22 คูหา ที่ต้องการปกปักษ์รักษาวิถีเก่าแก่ของชุมชน จึงเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานและภาคีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นักวิชาการสถาบันต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายองค์กรประชาชนในเมือง ทั้งนี้เพื่อเสนอให้มีการชะลอการไล่รื้อชุมชนและเชื้อเชิญให้ทางวัดและบริษัทที่ได้สัมปทานเช่า มาเจรจาหาทางออกร่วมกับชุมชน สิ่งที่ชุมชนเสนอก็คือ วัดยานนาวาไม่จำเป็นต้องรื้อย้ายอาคารเดิมทั้งหมด โดยเก็บอาคารเดิมบางส่วน ณ มุมใดมุมหนึ่งให้ผู้เช่าเดิมจำนวน 22 คูหา มาอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้พวกเขาสืบสานวิถีชุมชนดั่งเดิม จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและอนุรักษ์อาคารเก่าแก่ ส่วนพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เหลือ ทางวัดก็ให้บริษัทก่อสร้างอาคารพาณิชย์ใหม่ได้ แม้ว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมฯจะขานรับต่อข้อเสนอของชุมชน โดยฯพณฯรัฐมนตรีไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม มาเป็นประธานในการเจรจาพูดคุยระหว่างวัดยานนาวา บริษัทและชุมชน เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 แต่ก็ไม่ได้ข้อยุติ เพราะทางวัดและบริษัทยังคงยืนกรานไล่รื้อชุมชน การแพ้ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่การแตกพ่ายของ ความเป็นชุมชนหวั่งหลี หากยังหมายถึงความพ่ายแพ้ของหลักธรรม ความเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปการณ์ทางวัตถุอันเป็นแก่นแกนของพระพุทธศาสนา ในท้ายสุดก็ต้องหลีกทางให้กับกิเลสของระบบทุนนิยม และความด่างพร้อยลักษณะนี้ก็ยังจะมีให้เห็นอยู่ต่อไป มีรายงานข่าวว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาฯและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีแผนการจะปรับภูมิทัศน์วัดเก่าหลายแห่งในย่านฝั่งธนฯ เป็นต้นว่า ทำสวนหย่อม ทางเดินเท้า ลานจอดรถ ท่าจอดเรือ เพื่อเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ชาวชุมชนที่หนาวๆร้อนๆกับโครงการดังกล่าวเพราะอยู่ในข่ายถูกวัดขับไล่ก็เช่น ชุมชนวัดกัลยาณมิตร ชุมชนวัดบุปผาราม ชุมชนวัดโมลีโลกยาราม ชุมชนวัดอนงคงคาราม และชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ สภาพการณ์ไล่รื้อชุมชนโดยวัดจึงเป็นแนวโน้มที่ต้องจับตามอง ที่ผ่านมาเครือข่ายสลัม 4 ภาค ก็เคยนำประเด็นชุมชนในที่ดินวัด เสนอต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมฯเพื่อให้หาแนวทางแก้ไข ซึ่งเท่าที่ทราบรัฐบาลเองโดยรศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ได้ประกาศนโยบาย 5 ประการ ที่จะปลุกวัดให้กลับมามีบทบาทในสังคมไทยอีกครั้ง โดยมีความข้อหนึ่งที่กล่าวว่า ให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาวัด เพื่อฟื้นฟูบทบาทวัดให้กลับมาเป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยประสานบ้าน วัด โรงเรียน ให้มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าชุมชนจะห้ามวัดสร้างสรรค์การพัฒนาใดๆ หากแต่รูปธรรมการพัฒนาควรสะท้อนถึงหลักคิดที่ วัดกับบ้าน ต้องอยู่คู่กัน พึ่งพาอาศัยกัน ไม่ใช่ผลักไสไล่ส่งชาวชุมชน ผู้เป็นคนเล็กคนน้อยที่เคยตักบาตร ทำบุญ และเกื้อกูลพระพุทธศาสนามาด้วยกองกฐินผ้าป่า การพัฒนาของวัดจะต้องมีพื้นฐานมาจากหลักความเมตตา เพราะพระคุณเจ้าผู้ทรงศีลอยู่ในวิถีที่ใกล้ชิดกับพระไตรปิฎกมากกว่าญาติโยมอย่างพวกเรา. ข้อมูลโดย : คุณอัภยุทย์ จันทรพา ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาค |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มีนาคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |