*/
<< | กันยายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
อ้างอิง บนเว็บไซต์สมาคมการผังเมืองไทย ตามลิ้งก์ http://tatp.or.th/?p=1509
การสัมมนาวิชาการผังเมืองครั้งที่ 1 ประจำปี 2556 เรื่อง การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในประเทศไทย URBAN PLANNING CONFERENCE 2013: Transit Oriented Development Plan วันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ณ.ศูนย์การประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
จัดโดย สมาคมการผังเมืองไทย (TATP) สนับสนุนโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง โครงการก่อตั้งสถาบันการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Thailand)
วัตถุประสงค์ สัมมนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้วิชาการผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD Areas) และการคัดเลือกรูปแบบระบบขนส่งมวลชนระดับมหานครและเมืองที่มีความเหมาะสมกับลักษณะการเดินทางและยุทธศาสตร์เมือง ประเด็นและเนื้อหาการสัมมนามีความกระชับตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องที่เป็นวิทยากรและที่เข้าร่วมการสัมมนาสามารถถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ลงลึกในรายละเอียด นับเป็นการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างนักผังเมือง นักออกแบบชุมชนเมือง วิศวกรจราจรและขนส่ง นักวิชาการสาขาต่างๆ รวมทั้ง ผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำองค์ความรู้ประยุกต์ลงสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริงซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการผังเมืองและต่อการพัฒนาประเทศต่อไป ประเด็นการสัมมนา จัดลำดับประเด็นตามรูปแบบการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนของ DOT สหรัฐอเมริกา ดังนี้ 1. กลุ่มทฤษฎีและเกณฑ์การวางผังและการออกแบบพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ประกอบด้วยเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดจำนวน 10 ข้อที่ใช้ในการวางผังและออกแบบพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน รวมทั้งแนวทางวางผังของ CTOD ที่ได้บูรณาการองค์ความรู้ด้านการอสังหาริมทรัพย์ร่วมใช้ในการวางผัง ให้เกิดการเชื่อมต่อกับโครงข่ายคมนาคมและขนส่งโครงข่ายการสัญจรภายในพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนอย่างสมบูรณ์ โดยอธิบายรายละเอียดเป้าหมายการใช้ทฤษฎีและเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดในการวางผังรอบพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนได้แก่ 1) การส่งเสริมความหนาแน่นประชากร 2) การส่งเสริมกิจกรรมการใช้ที่ดินและอาคารที่ผสมผสาน 3) การส่งเสริมการขยายตัวของอาคารในแนวราบ 4) การสร้างความคุ้มค่าและสร้างเศรษฐกิจด้วยการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูย่าน 5) การออกแบบการเชื่อมต่อของแปลงที่ดินกับโครงข่ายการสัญจรที่มีประสิทธิภาพด้วยการออกแบบปรับปรุงขนาดแปลงที่ดินหรือการวางผังฟื้นฟูย่าน 6) การส่งเสริมระบบการสัญจรสีเขียวด้วยทางเดินและทางจักรยาน 7) การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว 8) การออกแบบข้อกำหนดที่ดิน อาคารและโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามนโยบายและรูปแบบของผัง และ 9) การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน
2. กลุ่มรูปแบบการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภาคมหานครและภาคเมือง มีเป้าหมายในการคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนที่สอดคล้องกับลักษณะการเดินทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง การออกแบบกลยุทธ์เพื่อสร้างโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระดับต่างๆ ให้เชื่อมต่อระหว่างย่านการใช้ที่ดินและภายในเขตเศรษฐกิจรอบสถานีอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างแผนยุทธศาสตร์การขนส่งมวลชนที่มีความเหมาะสมกับขนาดเมืองและเศรษฐกิจที่ได้ประมาณการเติบโตในอนาคตไว้ การกำหนดที่ตั้งของสถานีหลักและสถานีย่อยในเขตเศรษฐกิจและย่านการพักอาศัยตามแผนยุทธศาสตร์เมือง และกรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนจากต่างประเทศ
เครดิตภาพ Kaid Benfield, Switchboard.NRDC
3. กลุ่มการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเข้าถึงสถานีขนส่งมวลชน กล่าวถึงแนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ที่โล่ง และสถานที่สาธารณะที่มีอยู่เดิมและที่จะสร้างขึ้นใหม่ให้มีศักยภาพในการให้บริการ มีความปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชน รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเดินและทางจักรยานให้มีคุณภาพ พร้อมระบบการเชื่อมต่อด้วยการเดินทางสีเขียว (Green Mobility) ระหว่างย่านที่อยู่อาศัยกับย่านพาณิชยกรรมและสถานีขนส่งมวลชน 4. กลุ่มการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ TOD ประกอบด้วย การวางแผนที่อยู่อาศัยและย่านพาณิชยกรรมให้มีความหลากหลายระดับราคา การสร้างความหนาแน่นของอาคารแนวตั้งในพื้นที่รอบสถานี การอนุรักษ์อาคารดั้งเดิมที่มีความสำคัญด้านสถาปัตยกรรมหรืออาคารที่มีประวัติความเป็นมาด้วยการส่งเสริมให้เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น การสร้างความกระชับกลุ่มอาคารอยู่อาศัยและพาณิชยกรรมภายในพื้นที่ TOD การสร้างขนาดประชากรในพื้นที่อยู่อาศัยให้เพียงพอต่อการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนและมีระดับทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับการเดินทาง การวิเคราะห์ขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ TOD และการกระตุ้นการเพิ่มประชากรให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เมือง 5. กลุ่มการออกแบบข้อกำหนดการใช้ที่ดินและอาคารตาม FBCs ประกอบด้วย แนวทางการออกแบบ Zoning Codes จำแนกตามเกณฑ์มาตรฐานของ Form-Based Codes ได้แก่ Station Zoning, Residential Zoning, Retail Business Zoning, Neighborhood Business Zoning, Center District Zoning, Historic Center District, General Commercial Zoning, High Rise Business & Residential Zoning เป็นต้น โดยใช้กรณีศึกษาการวางผังและการสร้างข้อกำหนดการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยของต่างประเทศ
6. กลุ่มการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในพื้นที่ TOD ประกอบด้วย การสร้างแนวทางการออกแบบและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่คำนึงถึงส่วนประกอบทางธรรมชาติ การสงวนรักษาพื้นที่ธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบการระบายน้ำและการจัดการน้ำฝน การปรับปรุงฟื้นฟูที่โล่งเพื่อการรองรับน้ำและการกักเก็บน้ำ รวมทั้งการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่คงสภาพทางธรรมชาติในพื้นที่ TOD ตามเกณฑ์ของ LEED ND เช่น การคัดเลือกทำเลที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด รูปแบบย่านและความหนาแน่น อาคารและโครงสร้างพื้นฐานเขียว เป็นต้น 7. กลุ่มการสร้างพันธมิตรและการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ TOD ประกอบด้วย กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายพัฒธมิตรร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ TOD ให้ประสบผลสำเร็จ โดยกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของหน่วยงานและองค์กรดังนี้ 1) หน่วยงานด้านการผังเมือง 2) ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 3) กลุ่มเจ้าของแปลงที่ดิน 4) หน่วยงานการขนส่งมวลชนหรือผู้ประกอบการขนส่งมวลชน และ 5) องค์กรภาคประชาชน พร้อมเทคนิคการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ ทางการเงิน และภาระความรับผิดชอบในการบริหารโครงการ
8. กลุ่มการวิเคราะห์การลงทุนการขนส่งมวลชนพร้อมโครงสร้างพื้นฐานและมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาพื้นที่ พื้นที่ TOD นับเป็นพื้นที่พิเศษที่รัฐและเอกชนร่วมกันลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและฟื้นฟูทางกายภาพเพื่อตอบสนองการประกอบการธุรกิจของประชาชนและหน่วยงานการขนส่งมวลชน การอยู่อาศัย และนันทนาการของประชาชนรอบสถานี ดังนั้น ในการสัมมนาจึงจะอธิบายเทคนิคการวิเคราะห์ความเป็นไปได้การลงทุนปรับปรุงพื้นที่ TOD การประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ การศึกษาความคุ้มค่าในการใช้โครงสร้างพื้นฐานของประชาชน โดยตัวชี้วัดจะกล่าวได้แก่ การเพิ่มขึ้นของ 1) ฐานภาษี 2) รายได้ทางธุรกิจ 3) การจ้างงาน 4) มูลค่าทรัพย์สิน และ 5) โอกาสการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน 9. กรณีศึกษาการวางผัง TOD ของเกาะสมุย ผังเมืองรวมเมืองเกาะสมุยได้ใช้เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดเป็นแนวทางในการออกแบบผังเมืองรวม โดยประยุกต์แนวทาง TOD และ Form-Based Codes ในการสร้างศูนย์พาณิชยกรรม ได้แก่ ศูนย์พาณิชยกรรมหลัก ศูนย์พาณิชยกรรมท่องเที่ยว และศูนย์พาณิชยกรรมชุมชน ซึ่งได้กำหนดให้การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างศูนย์หลักด้วยระบบขนส่งมวลชน และเชื่อมต่อภายในย่านด้วยทางเดินและทางจักรยาน ผังเมืองรวมเกาะสมุยนับเป็นผังแรกของประเทศที่ได้นำเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดประยุกต์ใช้
ประโยชน์ที่ผู้ร่วมการสัมมนาจะได้รับ สมาคมการผังเมืองไทยคาดหวังให้นักผังเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองและการขนส่งมวลชนที่เข้าร่วมการประชุมได้รับองค์ความรู้ด้านทฤษฎีและเกณฑ์ แนวทาง และประสบการณ์การวางผังพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนซึ่งต่างประเทศได้นำลงสู่การปฎิบัติมามากกว่า 30 ปีแล้ว ประโยชน์ทางตรงที่หน่วยงานระดับนโยบายจะได้รับคือ การสามารถจัดทำนโยบายและแผนการพัฒนาทางกายภาพเมืองและแผนการคมนาคมและขนส่งให้มีความสอดคล้องกัน การจัดทำนโยบายการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง และสถานีรถไฟฟ้าระดับเมือง นอกจากนั้นยังสามารถนำไปออกแบบโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองในพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนให้สามารถนำลงสู่การปฏิบัติได้ สำหรับหน่วยงานระดับท้องถิ่น สามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงฟื้นฟูเมืองทั้งในพื้นที่ชั้นใน ย่านชานเมือง และย่านเศรษฐกิจที่แผนกำหนดให้เกิดขึ้นใหม่ได้ทันที หรือนำไปใช้สำหรับการปรับปรุงฟื้นฟูส่วนของเมืองที่มีโอกาสในการพัฒนาเป็นศูนย์การคมนาคมและขนส่งในอนาคตได้
ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท (ลงทะเบียนเฉพาะวันแรก 1,000 บาท เฉพาะวันที่สอง 500 บาท) รวมเอกสารประกอบสัมมนาขนาด 150 หน้า อาหารกลางวันและอาหารว่าง ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่แฟนเพจ สมาคมการผังเมืองไทยหรือ email: [email protected]
กด Like บน Facebook สมาคมการผังเมืองไทย |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |