*/
<< | พฤศจิกายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร บน Facebook http://www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ http://asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน เกริ่นนำ บทความด้านล่างต่อไปนี้ เป็น“บทสัมภาษณ์ อ.ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ในหน้าคอลัมส์”กรีน รีพอร์ต” น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจรายวัน ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556”
ทีมงาน (สมาคมการผังเมือง และ Smart Growth Thailand) ขอขอบพระคุณ น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ มา ณ ที่นี้ ที่ช่วยเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับการจัดการเมือง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่เกี่ยวข้อง ไม่มากก็น้อยครับ
เครดิต น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจรายวัน ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 หน้าคอลัมส์ “กรีน รีพอร์ต”
ประชากรเพิ่ม พื้นที่ว่างเปล่าน้อยลง เมืองขยาย รถไฟฟ้าสายต่างๆ กระจายทั่วกรุงเทพ และโครงการรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการที่ไทย เป็นศูนย์กลางของอาเซียน เหล่านี้เป็นปัจจัยหนุนเสริมให้อาคารสูง ทั้งอาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียมผุดขึ้นราวดอกเห็ด ผลที่ตามมาคือ การเบียดบังความเป็นอยู่ของชุมชนดั้งเดิม หรือกระทบต่อสถานที่อนุรักษ์
สำนักงานและอาคารสูงตามแนวรถไฟฟ้า เครดิตภาพ http://thailandrealestateforsale.blogspot.com/2013/09/54.html
ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย จากการประมวลคร่าวๆ พบว่าในชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า และบริเวณสองฝั่งถนนตามแนวรถไฟฟ้า มีตึกสูงแผ่ขยายเข้าไปมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นไปตามปกติที่พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าและบริเวณสองข้างทางรางรถไฟฟ้าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าบริเวณอื่นๆ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับหัวเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่จากทั่วโลก กรณีของไทยหรือของกรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่าตึกสูงได้กระจายไปทั่วทุกทิศทาง ทั้งบริเวณรอบสถานีและในพื้นที่ย่านชานเมือง ทั้งในพื้นที่หนาแน่นมากและหนาแน่นต่ำ ทั้งที่ตั้งอยู่เป็นกลุ่มและที่ตั้งกระจัดกระจายก้าวกระโดดออกจากเนื้อเมือง ภาษาทางผังเมืองเรียกปรากฎการณ์ลักษณะนี้ว่า Skyscraper Sprawl ซึ่งถือว่าไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากตัวตึกสูงไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ตัวตึกสูงอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ ต่อชุมชนและพื้นที่โดยรอบ ที่เห็นได้ชัดเริ่มตั้งแต่การก่อสร้างซึ่งมีการนำแรงงานและวัสดุจากภายนอกเข้ามายังพื้นที่ ได้สร้างมลภาวะและมลทัศน์แก่ชุมชน และเมื่ออาคารเปิดใช้แล้ว ปริมาณของผู้ใช้อาคารก็จะสร้างปัญหาระบบการสัญจรและสร้างมลภาวะ ซึ่งชุมชนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากการกระชับของตึกสูงในย่านพาณิชยกรรมที่ตัวตึกตั้งอยู่ในลักษณะเกาะกลุ่มกัน มีแผ่ขยายต่อเนื่องเป็นย่านของตึกสูง ตัวตึกมีความสัมพันธ์กันในเชิงสภาพแวดล้อมซึ่งไม่นับว่าเป็น Skyscraper Sprawl
เครดิต น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจรายวัน ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 หน้าคอลัมส์ “กรีน รีพอร์ต”
ฐาปนา อธิบายในเชิงทฤษฎีว่า ในเชิงทฤษฎี การเติบโตอย่างชาญฉลาดหรือ Smart Growth ไม่ได้ห้ามการสร้างตึกสูง โดยบางพื้นที่ยังได้สนับสนุนให้เกิดการแผ่ขยายตัวตึกสูงด้วยซ้ำไป อันนี้เป็นไปตามเกณฑ์ออกแบบการกระชับอาคารหรือ Compact Building Design ที่สนับสนุนให้มีการขยายตัวอาคารในแนวตั้ง และห้ามการขยายตัวของอาคารในแนวราบเนื่องจากจะมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่มีความคุ้มค่า ไม่มีความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและมูลค่าทรัพย์สินในพื้นที่นั้นๆ
ตัวอย่างเมืองที่ใช้แนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาดในการส่งเสริมการขยายตัวของตึกสูงในแนวตั้งได้แก่ นครนิวยอร์คของนายกเทศมนตรี Michael Bloomberg ซึ่งได้จัดทำนโยบายการเพิ่มความสูงอาคารและการส่งสริมการขยายตัวของตึกสูง หากเจ้าของแปลงที่ดินหรือผู้ประกอบการลงทุนสร้างตึกสูงตามพื้นที่ที่กำหนดและตามข้อกำหนดการออกแบบสถาปัตยกรรมผังเมือง ผู้ลงทุนเหล่านั้นจะได้รับ density bonus ประเภทต่างๆ เช่น การลดภาษี การเพิ่ม FAR หรือการเพิ่มขนาดมวลอาคารและความสูง รวมทั้งผลตอบแทนด้านต่างๆ หรือในกรณีของเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน หรือเมืองซีแอตเติ้ล รัฐวอชิงตัน หากเจ้าของแปลงที่ดินที่ลงทุนสร้างตึกสูงตามแนวถนนหรือในย่านพาณิชยกรรมที่เมืองได้กำหนดไว้ ผู้ลงทุนเหล่านั้นก็จะได้รับ bonus ประเภทต่างๆ เช่นเดียวกับของนครนิวยอร์ค
เครดิตภาพ http://cincystreetcar.wordpress.com/2010/01/29/now%E2%80%99s-the-time-to-build-the-cincinnati-streetcar/
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าในทุกพื้นที่จะสามารถก่อสร้างตึกสูงได้ตามใจชอบ เนื่องจากการเติบโตอย่างชาญฉลาดและ LEED ND ยังได้กำหนดเกณฑ์ให้ผู้ออกแบบและผู้ประกอบการคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งที่มีความเหมาะสมและกำหนดพื้นที่ห้ามก่อสร้างไว้เช่นกัน เกณฑ์ดังกล่าวได้แก่ การห้ามสร้างตึกสูงในย่านชุมชนดั้งเดิม หรือในเขตโบราณสถานหรือเป็นที่ตั้งของอาคารสำคัญทางสถาปัตยกรรมซึ่งจะทำให้ลดคุณค่าของพื้นที่หรืออาคารและรบกวนทัศนียภาพพื้นที่ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในฐานะอัตลักษณ์และความรู้สึกของประชาชน
นอกจากนั้นยังห้ามสร้างตึกสูงในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพเช่น ตำแหน่งที่ตั้งเคยมีประวัติการไหลบ่าของน้ำ หรือการเป็นสถานที่มีข้อจำกัดด้านการสัญจร และที่สำคัญหากเป็นอาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากจำเป็นจะต้องคำนึงปัจจัยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และระบบการเชื่อมต่อการสัญจรซึ่งต้องไม่ไปเพิ่มปัญหาให้กับพื้นที่หรือชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว จากการศึกษาลักษณะแผ่ขยายของอาคารสูงในพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมและในพื้นที่ประวัติศาสตร์ ผมมีความเป็นห่วงพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ในหัวเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่ของไทยที่ตั้งอยู่ในโครงการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลซึ่งได้แก่ศูนย์เศรษฐกิจโดยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง เช่น พื้นที่เมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่ ย่านการค้าดั้งเดิมของจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร และในอีกหลายเมืองซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น ซึ่งมีโอกาสอย่างสูงที่จะมีการแผ่ขยายของตึกสูงเข้าไปยังพื้นที่ในอนาคต โดยที่ปัจจุบันทุกเมืองที่กล่าวถึงไม่อยู่ในฐานะที่จะสามารถจัดการกับปัญหาการแผ่ขยายของตึกสูงได้
ปัญหาอีกประการ มาจากภาครัฐของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองยังขาดองค์ความรู้ที่ทันสมัยในการวางผังและบริหารจัดการเมือง
ตัวอย่างนครแวนคูเวอร์ของประเทศแคนาดา เมืองนี้ใช้เกณฑ์ทุกข้อของการเติบโตอย่างชาญฉลาดในการวางแผนยุทธศาสตร์และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หลายท่านคงจะเคยได้ยินชื่อ Vancouver Greenest City ชื่อนี้เกิดจากความพยายามร่วมกันของคณะผู้บริหารเมืองกับผู้ประกอบการและประชาชนที่ออกแบบข้อตกลงร่วมเพื่อสร้างเมืองเขียวที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่า แวนคูเวอร์เป็นเมืองต้นๆ ของโลกที่นำความสำคัญของปัญหาสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกบรรจุไว้ในวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์เมือง
บทความเดิม “เกณฑ์และแนวทางการออกแบบเมืองเขียว เหมาะสำหรับผู้บริหารเมือง นักผังเมือง และสถาปนิก” ตามลิ้งก์ http://www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/12/13/entry-1 “ในการตัดสินใจแผนงานโครงการที่จะลงทุนหรือจะขยาย สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาคือ แผนงานและโครงการนั้นๆ ได้มีผลกระทบเชิงลบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่” ผมคิดว่าข้อตกลงนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการก้าวเดินของกระบวนการใช้ทรัพยากรและการพัฒนาเมือง ซึ่งเมื่อทุกภาคส่วนนำเอาปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นประเด็นในการพิจารณาในเบื้องต้นแล้ว โอกาสในการทำลายล้างหรือสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมก็จะลดลง ดังนั้น หลังจากการประกาศใช้แผนปฏิบัติการ Greenest City ในปี ค.ศ.2009 แวนคูเวอร์ได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ประกาศใช้เกณฑ์อาคารเขียวสำหรับอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ.2020 เป็นต้นไป แวนคูเวอร์ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ทุกอาคารในเขตเมืองไม่ว่าจะเป็นอาคารเก่าหรืออาคารสร้างใหม่จะต้องเป็นอาคารเขียวเท่านั้น สำหรับประเทศไทย การแผ่ขยายของสถาปัตยกรรมสีเขียวตามคอนเซ็ปที่แท้จริง มีไม่มากนัก เขา ประเมินว่า เป็นเพราะการออกแบสถาปัตยกรรมสีเขียว รวมถึงการออกแบบอาคารเขียว ตลอดจนการก่อสร้างอาคารเขียว มีต้นทุนที่สูง ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้ออกแบบและผู้รับรองมาตรฐานอาคารเขียวหลายชั้นหลายขั้นตอน ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นว่าอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แม้จะออกแบบหรือก่อสร้างเป็นอาคารเขียวให้ได้ในระดับแรกหรือระดับ Certified ก็ตาม ขณะที่แวนคูเวอร์ มีการสร้างกระบวนการให้ความรู้ และถ่ายทอดข้อมูล แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมผู้ประกอบการให้ลงทุน และปรับปรุงฟื้นฟูกิจการให้อยู่ในกลุ่มธุรกิจสีเขียว ซึ่งจะทำให้มูลค่าเพิ่มสูงในระยะยาว และยังได้รับผลตอบแทนส่วนหนึ่งจากรัฐ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการออกแบบ หรือกระบวนการผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจะได้รับการสนับสนุนตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้ต้นทุนมีราคาถูกลง และเมื่อประกอบกันเข้าเป็นผลิตภัณฑ์ราคาโดยรวมจึงอยู่ในภาวะที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงหรือสามารถซื้อหาได้ จะเห็นได้ว่า กลุ่มธุรกิจสีเขียวแทบจะไม่ต้องทำซีเอสอาร์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้สิ้นเปลืองงบประมาณแต่อย่างใด สมาคมการผังเมืองไทย โดยได้รับการสนับสนุนจาก กรมโยธาธิการและผังเมือง และ Smart Growth Thailand ขอเชิญร่วมการสัมมนาทางวิชาการ “การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในประเทศไทย”
รายละเอียดในการลงทะเบียน กดลิ้งก์นี้ได้เลยครับ http://www.oknation.net/blog/smartgrowth/2013/11/06/entry-1
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการสัมมนาที่คุณสุชาติ อดิเรกธนทรัพย์ 089-1056-334 , Tel/Fax 02-9671467 email address : [email protected]
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |