*/
<< | มีนาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |
ผังเมืองเรื่องไม่ไกลตัว เริ่มวันนี้เพื่ออนาคตวันหน้า
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์ (บทความ) ของคุณอากร บัวคล้าย อดีตนักการผังเมืองชำนาญการพิเศษ และอุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2557
Download ภาพใหญ่ข่าว น.ส.พ.เดลินิวส์ได้ที่ลิ้งก์
http://tatp.or.th/wp-content/uploads/2014/03/dailynews.pdf
ผังเมืองสำหรับประชาชนทั่วไปอาจมองว่าไกลตัว จริงแล้วกลับเชื่อมโยงกับชีวิตความเป็นอยู่รวมทั้งเงินในกระเป๋า เพราะเอาเข้าจริงแล้วถ้าเมืองมีการจัดการที่ดีย่อมนำพาความเจริญต่างๆ ที่มากกว่าวัตถุ แต่สำหรับคนไทยมีผังเมืองดีๆ มากมายทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด แต่ยังไม่มีการนำมาใช้ และยังติดอยู่กับกลุ่มผลประโยชน์บางราย
อากร บัวคล้าย อดีตนักการผังเมืองชำนาญการพิเศษ และอุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย ให้ความเห็นว่า เรื่องผังเมืองในประเทศไทยมีการพัฒนามาเป็นลำดับทั้งด้านกฎหมายบังคับใช้ แต่เมื่อเมืองขยายตัวมากขึ้นปัญหาเริ่มเกิดขึ้น เพราะผังเมืองเดิมไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากผังเมืองเดิมรองรับการเจริญเติบโตในช่วงระยะหนึ่ง แต่เมืองสมัยนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการเคลื่อนย้ายของประชากรมากขึ้นทำให้ผังเมืองเดิมเริ่มไม่ได้ผล
กรุงเทพฯถือเป็นเมืองที่พัฒนาอย่างกระจุกตัว และมีการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด เดี๋ยวนี้จะเห็นว่าเมืองรอบกรุงเทพเริ่มได้รับการพัฒนาเพื่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ทางการอกแบบผังเมืองมองว่าถ้าผังเมืองที่ดีทุกเมืองต้องมีการพัฒนาไม่ต่างกันมากนัก แต่สำหรับกรุงเทพที่เป็นเมืองโตเดี่ยว ถ้าเทียบกับเชียงใหม่ที่ยังโตช้ากว่าหลายเท่า สิ่งเหล่านี้ทำให้ปัญหาสังคมเมืองบางอย่างมีการกระจุกตัวมากขึ้นด้วย
สิ่งสำคัญในประเทศไทยสำหรับการวางผังเมืองคือ ต้องมีการขยายระบบขนส่งและสาธารณูปโภคต่างๆ ขยายออกไปยังเมืองอื่นให้เทียบเท่ากับกรุงเทพ และต้องสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนต่างๆ เข้าไปลงทุน โดยรัฐต้องมีแผนดำเนินงานเช่น ลดภาษีให้โรงงานที่เข้ามาตั้งในต่างจังหวัด 3 – 5 ปี
ขณะที่แผนการดำเนินงานรถไฟความเร็วสูงต่างๆ ต้องรองรับการขยายตัวของเมืองในต่างจังหวัด เพื่อให้เกิดการขนส่งสินค้าที่สะดวก
ที่ผ่านมาการวางผังเมืองยังประสบปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากองค์กรท้องถิ่นหลายแห่งยังขาดงบประมาณในการทำงานอย่างต่อเนื่อง บ้านเรามี พรบ.ผังเมืองส่วนกลาง ที่ดูแลโดยกรมโยธาฯ และท้องถิ่นต่างๆ ต้องร่วมกันวางแผนร่วมกัน ทั้งทางด้านกฎหมายเพื่อบังคับใช้ และการส่งเสริมทางการจัดการที่อยู่อาศัย รวมถึงเขตการเกษตรหรืออุตสาหกรรม
ในทางปฏิบัติจริง ท้องถิ่นมีส่วนสำคัญมากในการปฏิบัติตามผังเมือง เนื่องจากต้องรองบประมาณจากส่วนกลาง ซึ่งพอมีงบลงมาแล้วไม่พอในการทำงานอย่างต่อเนื่อง นี้จึงเป็นปัญหาที่บุคลากรส่วนท้องถิ่นต้องพยายามหารายได้เพิ่มเพื่อนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันองค์กรส่วนกลางควรมีแนวทางให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้เพิ่มเพื่อการพัฒนาตามแผนผังเมืองอย่างเป็นรูปธรรม
องค์กรส่วนท้องถิ่นบางแห่งมีรายได้ในการพัฒนาน้อย ก็จำเป็นที่ต้องหารายได้เสริมเช่นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว หรือพัฒนาตามผังเมืองเท่าที่มี เนื่องจากการพัฒนาของเมืองต้องใช้เวลานาน แต่ที่ผ่านมาเราชอบเห็นการพัฒนาที่รวดเร็ว ขณะที่ปัญหาในระดับท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่งคือ บางคนไม่เข้าใจว่าจะพัฒนาตามผังเมืองไปเพื่ออะไร ขณะที่บางคนเข้าใจแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องเร่งทำความเข้าใจกับหน่วยงานท้องถิ่น
ขณะเดียวกันการให้ความรู้กับประชาชนเรื่องผังเมืองก็เป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากที่ผ่านมาหลายคนมองว่าไกลตัวแต่ถ้ามองให้ดีแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะถ้าเมืองดีย่อมมีผลต่อคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ และต้องทำความเข้าใจว่าการพัฒนาตามผังเมืองอาจไม่เห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว แต่จะค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ พอถึงจุดหนึ่งเมืองก็เหมือนเครื่องบินที่ทะยานได้เร็วและไกลกว่าที่เราคิด
การวางผังเมืองที่ไม่ดีบางครั้งแสดงให้เห็นผลร้ายเมื่อผ่านไป 2 – 3 ปี อย่างเขตอุสาหกรรมแห่งหนึ่งในประเทศ ที่พอผ่านไปปัญหาสารเคมีจากโรงงานที่ไม่ไกลจากชุมชนเริ่มส่งผลต่อชาวบ้าน นี่เป็นประเด็นที่เกิดจากการไม่ได้มีแนวทางวางผังเมืองที่ดี
สำหรับท้องถิ่นที่จะเริ่มวางผังเมืองโดยไม่ต้องใช้เงินมากนัก ควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการให้ความรู้และแสดงความคิดเห็น หรือท้องถิ่นสามรถขอแนวทางได้จากหน่วยงานผังเมืองในท้องที่ หรืออาจารย์ในมหาวิทยาท้องถิ่นเพื่อนำแนวทางมาเสนอแนะร่วมกับชาวบ้านเพื่อพัฒนาผังเมือง
ผังเมืองที่ดีและใช้ได้ผลในแง่กฎหมายต้องไม่จำกัดสิทธิของเจ้าของที่ดินมากเกินไป เพราะถ้าหากจำกัดมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้นๆ ซึ่งท้องถิ่นที่จะวางผังเมืองต้องผ่านคณะกรรมการผังเมืองแห่งชาติ ว่าจะให้ผังเมืองของท้องถิ่นนั้นผ่านหรือไม่
“นักวางผังเมืองนอกจากจะต้องเข้าใจพื้นที่ต่างๆ แล้วในแง่ของบริบทประสบการณ์ก็มีส่วนสำคัญ เพราะนักวางผังเมืองรุ่นใหม่อาจยังไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ ทำให้มีการวางผังที่ไม่ครอบคลุมพอ และอาจสร้างให้เกิดปัญหาได้ในอนาคต”
แนวคิดการวางผังเมืองตอนนี้มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติของท้องที่นั้นเช่น เมืองสีเขียว เมืองสะอาด เมืองพลังงานต่ำ เมืองความคิดสร้างสรรค์ แต่ทั้งหมดนั้นต้องมีการวางแผนผังเมืองแบบ 3 มิติ แต่ตอนนี้ประเทศเรายังมองแค่ 2 มิติ
การวางผังเมืองแบบ 3 มิติ จะให้ความสำคัญกับการวางแผนเชิงกายภาพ อย่างธรรมชาติที่มี การใช้ชีวิตของคนในพื้นที่อยู่อาศัยที่ไม่ขวางทางน้ำ ต้องดูธรณีวิทยา และความลาดชันของพื้นดินว่าเหมาะกับการทำการเกษตรหรือเปล่า เพราะเดี๋ยวนี้การเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรามัวแต่พัฒนาเมืองโดยไม่พัฒนาพื้นที่การเกษตรก็ไม่ได้
สิ่งสำคัญต่อมาในการวางผังเมืองคือโบราณสถานต่างๆ ที่เราต้องรักษาให้มีสภาพเหมือนเดิมหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อพัฒนาหรือใช้สอยในการท่องเที่ยวให้กับท้องถิ่น สิ่งสำคัญคือ ผังเมืองต้องสอดคล้องกับความเป็นธรรมชาติในพื้นที่นั้น เพราะการสร้างโดยธรรมชาติดีกว่ามนุษย์สร้าง เมื่อเรามีอย่างนี้ในพื้นที่ต้องพยายามรักษาไว้ให้อยู่ในผังเมือง
พื้นที่ต่ำหลายแห่งไม่เหมาะกับการสร้างที่อยู่อาศัยหรือตึกเพื่อทำธุรกิจ อาจเกิดคำถามจากนักลงทุนว่า ในเมื่อเขาซื้อพื้นที่แล้วทำไมไม่สามรถใช้ประโยชน์ในทางพื้นที่ตามต้องการได้ นักลงทุนเองถ้ารู้ความเหมาะสมในพื้นที่ก็ควรจะมีการปรับแนวความคิด เช่นบางที่เหมาะกับการเกษตรอาจจะเปลี่ยนจากการสร้างตึกมาเป็นการทำเกษตรกรรมเชิงรุกแนวใหม่
สำหรับกรุงเทพฯ เดิมมีการวางผังโดยจ้างบริษัทจากอังกฤษที่มีความเชี่ยวชาญมาวางให้เดิมอยู่แล้ว แต่ในแง่การบังคับใช้อาจติดกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งการบังคับใช้ควรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่นักลงทุนเองควรมองให้เห็นถึงความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน
อนาคตการวางผังเมือง เราต้องมามองแนวทางการทำงานเพื่อให้กรุงเทพฯ หยุดการเจริญเติบโตแบบเมืองเดี่ยว โดยต้องมีการขยายไปในเมืองต่างๆ ให้มากขึ้นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศเรา
ผังเมืองดูเหมือนจะเป็นเรื่องไม่ไกลตัวอีกต่อไป ถ้าหากนักลงทุนและประชาชนในพื้นที่ร่วมถึงองค์กรท้องถิ่นมีความคิดเพื่อส่วนร่วม เพราะประโยชน์ในอนาคตไม่ได้ตกอยู่ที่ใคร นอกจากลูกหลานรุ่นต่อไปที่จะพาประเทศเราเดินไปข้างหน้า
10 เทคนิคสร้างชุมชน
บทความจากเว็บไซต์สมาคมการผังเมือง เล่าถึง เทคนิคสร้างชุมชนแห่งการเดิน โดย ฐาปนา บุณยประวิตร ดังนี้ 1.นำรถออกจากพื้นที่ที่จะสร้างทางเดินและสร้างถนนให้เป็นสถานที่สาธารณะ 2.สร้างกิจกรรมการใช้พื้นที่ให้ผสมผสานมีความหลากหลาย 3.สร้างสถานที่จอดรถยนต์ให้ถูกต้องตามหลักการออกแบบเมืองซึ่งช่วยส่งเสริมการเดิน 4.ส่งเสริมการเติมคนเข้าพื้นที่ด้วยระบบขนส่งมวลชน 5.สร้างกายภาพทางเดินให้ปลอดภัย 6.ส่งเสริมการใช้จักรยาน 7.ออกแบบพื้นที่ให้เชื่อมต่อกันในช่วงสั้นเพื่อให้ง่ายในการเดินถึง 8.เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจรและนันทนาการด้วยกิจกรรมการค้า การตกแต่งหน้าร้านและความเป็นมิตรของเจ้าของพื้นที่ 9.สร้างสถานที่ให้มีค่าใช้จ่ายต่ำ ประชาชนทั่วไปเข้าถึงง่ายและพอใจที่จะไปใช้บริการ
อ้างอิง เดลินิวส์ออนไลน์ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |