*/
<< | กรกฎาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
ตลาดนัด: เครื่องบ่งชี้อันดับหนึ่งของความล้มเหลวจากการวางผังและออกแบบเมือง โดย ฐาปนา บุณยประวิตร Smart Growth Institute/ [email protected]/ http://www.smartgrowthasia.com
เกริ่นนำ เรื่องใกล้ๆ ตัวที่เป็นปัญหา แต่หลายคน อาจยังไม่ทราบ เพราะความเคยชิน แบบผิดๆ ที่สั่งสมมายาวนานของสังคมไทย แต่เมื่ออ่านบทความกันแล้ว น่าจะพอเข้าใจ และมีทางออกกันน่ะครับ บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร บน Facebook http://www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth)
เข้าสู่บทความ
สภาพปัญหา ตลาดนัดหรือตลาดสดเคลื่อนที่เป็นเครื่องชี้สำคัญของความเป็นเมืองที่ล้มเหลงวในการวางแผน (Unplanned City) และชี้ซึ่งความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมือง แม้ตลาดนัดไม่อาจเทียบได้กับ strip malls เป็นตัวแทนการกระจัดกระจายของเมืองและความผิดพลาดในการวางผังของสหรัฐอเมริกา แต่ตลาดนัดในประเทศไทยก็ได้ชี้ให้เห็นถึง ความไม่ใส่ใจของผู้บริหารเมืองในการออกแบบและการจัดการด้านตำแหน่งที่ตั้งและลักษณะเชิงสุขาภิบาลในฐานะหน่วยบริการสาธารณูปการที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาวะของชุมชน และระบบการจัดการอาหารของชาวเมือง
ภาพตลาดนัดที่สกปรกรกรุงรังในย่านที่กระจัดกระจายของเทศบาลแห่งหนึ่งในภาคใต้ ที่มา: ฐาปนา บุณยประวิตร (มิถุนายน 2557)
ทำไมต้องวางผังแก้ไขปัญหาตลาดนัด นอกจากสวนสาธารณะ สถานที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น และสนามกีฬาแล้ว ตลาดนัดหรือตลาดสดชุมชนถือเป็นอีกเครื่องชี้วัดชนิดหนึ่งที่แสดงถึงความมีหรือไม่มีประสิทธิภาพในการวางผัง ออกแบบ และบริหารจัดการเมือง ตลาดนัดหรือตลาดสดชุมชนเป็นเครื่องชี้ด้านสุขภาพของคนในชุมชน เป็นเครื่องวัดโอกาสในการเข้าถึงอาหารสุขภาพ ความปลอดภัยด้านอาหาร และความมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจของชุมชน ในทางผังเมือง ตลาดสดชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการกำหนดคุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่งหากตลาดสดมีตำแหน่งที่ตั้งห่างไกลออกไปหรือมีลักษณะเป็นตลาดนัดที่ไม่มีสินค้าสดขายเป็นประจำทุกวันแล้ว จะทำให้ระบบห่วงโซ่การผลิตและการกระจายอาหารไม่มีความสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงอาหารคุณภาพ และสร้างความจำเป็นในการเดินทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชน สรุปดังนี้
ภาพตลาดนัดในช่วงเวลาก่อนเปิดขายซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่เสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมและทัศนอุจาด มีสภาพเป็นชุมชนที่ล้มเหลวในการวางแผน ที่มา: ฐาปนา บุณยประวิตร (เมษายน 2557)
การเข้าถึงอาหารสดลดลง การเข้าถึงอาหารสดของประชาชนหมายถึงโอกาสในการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ อันเป็นการส่งเสริมสุขภาพ การเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาอาหาร ต้นทุนในการเก็บรักษาอาหารสดเป็นต้นทุนด้านพลังงานที่ประชาชนต้องใช้จ่ายมากขึ้น ในขณะที่ต้องเพิ่มระยะเวลาการเก็บรักษาอาหารสดแต่คุณภาพของสารอาหารกลับลดลง กิจกรรมเศรษฐกิจในชุมชนขาดความต่อเนื่อง ระบบเศรษฐกิจจากการกระจายอาหารไม่มีคววามต่อเนื่องหากประชาชนพึ่งพาจากตลาดนัด และมูลค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไม่ได้ตกเป็นของคนในชุมชน ผู้ผลิตอาหารกับชุมชนผู้บริโภคขาดความสัมพันธ์กัน ระบบอาหารสดของตลาดนัดได้ตัดห่วงโซ่ความสัมพันธ์ของเกษตรกรผู้ผลิตอาหารกับร้านค้าอาหารสดภายในชุมชน ทำให้กลไกการควบคุมด้านชนิด ปริมาณ และคุณภาพขาดการเชื่อมต่อ ต้นทุนการเก็บรักษาอาหารของผู้ค้ามีมากขึ้น เนื่องจากระยะทางและเวลาในการส่งมอบและกระจายอาหารมีมากขึ้นตามช่วงเวลาการเปิดจำหน่ายของตลาดนัด ส่งกระทบทางตรงให้ระดับราคาอาหารในตลาดโดยรวมเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของอาหารที่เน่าเสีย การขาดความสัมพันธ์ในเชิงห่วงโซ่การผลิตและการกระจายอาหารจะก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอาหารเน่าเสีย ซึ่งจะเป็นภาระในการบำบัดของชุมชน และก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านโรคระบาดและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตลาดนัดเป็นอัตลักษณ์ที่บ่งชี้ความไร้ระเบียบของชุมชน เป็นแหล่งขยะมูลฝอยและแหล่งเพาะเชื้อโรคของชุมชน ตลาดนัดเป็นเครื่องกระตุ้นให้ประชาชนมีความจำเป็นในการเดินทาง ตลาดนัดมักตั้งอยู่ภายนอกหรืออยู่บริเวณชายขอบชุมชนซึ่งมีระยะไกลกว่าการเดินถึงของประชาชน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเดินทางด้วยรถยนต์หรือยวดยานส่วนบุคคลเพื่อการเข้าถึง
ภาพการจัดวางผลไม้สดในร้านอาหารภายในสถานีขนส่งมวลชน ที่มา: http://www.bangkok.com/food-shopping.htm
เกณฑ์การวางผังและออกแบบ แนวคิดและทฤษฎีการผังเมืองจากทุกสำนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism) ได้กำหนดให้ตลาดสดชุมชนหรือหน่วยกระจายอาหารสดต้องตั้งอยู่อย่างถาวรบริเวณใจกลางชุมชน ประชาชนต้องมีความสะดวกและมีความสามารถในการเดินถึงหรือใช้ระบบการขนส่งมวลชนเพื่อเข้าถึงได้โดยสะดวก จะต้องมีระบบการจัดการด้านสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมคุณภาพอาหารสด การจัดเก็บ การขนถ่าย และการจัดการด้านอาคารสถานที่ซึ่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนั้น Smart Codes และ LEED ND ยังมีข้อห้ามด้านทำเลที่ตั้งหน่วยบริการสำคัญของชุมชนที่ประชาชนต้องใช้เป็นกิจวัตร เช่น ตลาดสด โรงเรียนอนุบาล สนามเด็กเล่น หน่วยบริการสาธารณสุข สถานีขนส่งมวลชน โดยห้ามตั้งอยู่ห่างไกลจากใจกลางชุมชน หรือมีที่ตั้งไม่ต่อเนื่องกับชุมชน โดยตำแหน่งที่ตั้งดังกล่าวจะต้องไม่เป็นสาเหตุให้ประชาชนต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางเข้าถึง และไม่เป็นต้นเหตุในการเพิ่มปัจจัยการเพิ่มขึ้นของอุบัติเหตุและความปลอดภัยของประชาชน
ข้อกำหนดในการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองของการเติบโตอย่างชาญฉลาดได้ระบุให้คำนวณความต้องการปริมาณอาหาร ความถี่ และเครื่องใช้ที่จำเป็นของประชาชนในแต่ละย่านการใช้ที่ดิน โดยจำแนกตามย่านหรือชุมชน ทั้งนี้ในการออกแบบระดับย่านจะต้องคำนวณหาจำนวนประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละแปลงที่ดินและกำหนดตำแหน่งที่ตั้งพร้อมระบบการสัญจรด้วยการเดิน การใช้จักรยาน และระบบขนส่งมวลชนที่มีความสะดวกในการเข้าถึงตลาดสดชุมชน และต้องออกข้อกำหนดให้แต่ละย่านหรือชุมชนมีที่ตั้งของตลาดสดและร้านขายอาหารสดที่ชัดเจน (ท่านที่สนใจตัวอย่างการออกข้อกำหนดเรื่องตำแหน่งที่ตั้งของตลาดสดและร้านอาหารสด ขอให้ศึกษาจากกฎหมายควบคุมอาคารและผังเมืองของเมืองนิวยอร์ค)
สำหรับย่านหรือชุมชนที่ออกแบบปรับปรุงตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่างมวลชน (Transit-Oriented Development) จะต้องออกข้อกำหนดให้มีร้านค้าอาหารสด ร้านอาหาร และตลาดสดในพื้นที่ที่ต่อเนื่องกับเส้นทางการสัญจรภายในสถานี โดยต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงตลาดสดหรือร้านค้าอาหารสดก่อนกิจกรรมการพาณิชย์ประเภทอื่น
สรุป เพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นเมืองที่ล้มเหลวด้านการวางแผน ลดความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม สร้างเสริมภาวะการมีสุขภาพดีด้วยการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงอาหารสด และสร้างความมีระเบียบในการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบการสัญจร จึงจำเป็นที่ผู้บริหารเมืองต้องให้ความสำคัญในการวางผังและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมือง เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของตลาดสดชุมชนและหน่วยบริการพื้นฐานให้มีความชัดเจน ในพื้นที่ที่ได้ออกแบบปรับปรุงแล้ว ควรออกข้อกำหนดห้ามการสร้างตลาดสดที่มีลักษณะเป็นตลาดนัดอย่างเด็ดขาด และให้ความสำคัญในการบริหารจัดการพื้นที่ที่ประชาชนอยู่อย่างหนาแน่นโดยจัดให้มีร้านค้าอาหารสด และตลาดสดที่มีคุณภาพ สร้างระบบการสัญจรเข้าถึงตลาดสดที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม
เอกสารอ้างอิง Andress Duany and Jeff Speck with Mike Lydon, (2010) The Smart Growth Manual, McGraw- Hill Books (New York) Congress for the New Urbanism,(2010), LEED Neighborhood Development,
อ้างอิง http://smartgrowthasia.com/planning/outdoor-market.html
ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ http://www.facebook.com/smartgrowththailand
อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว http://www.oknation.net/blog/smartgrowth
บน Facebook ตามลิ้งก์
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |