*/
<< | สิงหาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
ที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราในประเทศอังกฤษ อาจารย์ ปีดิเทพ อยู่ยืนยง (กดลิ้งก์ อ่านประวัติผู้เขียน โดยย่อ) สมาชิกสมาคมการผังเมืองไทย/ นักเรียนทุนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการอาจารย์(ผู้สอน) ระดับปริญญาเอกประเภททุนสำหรับบุคคลภายนอกตามความต้องการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อไม่นานมานี้มีคนพิการออกมาเรียกร้องสิทธิในที่จอดรถ เนื่องจากผู้ควบคุมอาคารสถานที่จัดที่จอดรถคนพิการในอัตราส่วนที่ไม่เพียงพอสำหรับคนพิการที่เข้ามาใช้บริการอาคารสถานที่หรือผู้ควบคุมอาคารสถานที่ปล่อยให้บุคคลอื่นๆ ที่มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ มาใช้งานที่จอดรถสำหรับคนพิการ จนทำให้คนพิการไม่มีที่จอดรถในอาคาร ซึ่งแม้ว่ารัฐได้กำหนดบทบัญญัติทางกฎหมายที่บังคับให้เจ้าของอาคารหรือสถานที่สาธารณะ เช่น โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สถานศึกษา สถานีขนส่งมวลชน ศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า ต้องจัดที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการได้ ได้แก่ กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 แต่ทว่าเจ้าของอาคารหรือผู้ควบคุมอาคารสถานที่สาธารณะหลายแห่ง กลับละเลยหรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิของคนพิการที่พึ่งมี ตามบทบัญญัติทางกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานอาคารได้รับรองหรือคุ้มครองให้ ทั้งนี้ การขาดแนวทางดำเนินการแก้ไขโดยรณรงค์ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ควบคุมอาคารปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจังและการขาดวิธีสร้างสำนึกให้ประชาชน เห็นอกเห็นใจ ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพที่อยู่รวมสังคมด้วยกัน เพื่อให้สังคมหันมาตระหนักถึงสิทธิที่จะได้รับการอำนวยความสะดวกในเรื่องที่จอดรถ ย่อมอาจนำไปสู่การริดรอนสิทธิของผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพโดยตรง ในประเทศอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษได้พยายามสนับสนุนหรือแสวงหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ สามารถใช้งานสาธารณูปโภคได้อย่างสะดวกหรือเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดเอาไว้ให้สำหรับประชาชนได้สบาย ภายใต้หลักการที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่มีลักษณะทางกายที่พิการก็ดี หรือประชาชนที่มีลักษณะทางกายที่สมบูรณ์ก็ตาม ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเสมอภาค จากรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลอังกฤษจึงได้ก่อตั้ง โครงการ Blue Badge scheme หรือโครงการจุดจอดรถสำหรับผู้พิการขึ้น โดยมีสาระสำคัญของโครงการ กล่าวคือ รัฐหรือท้องถิ่นย่อมต้องจัดพื้นที่จอดรถให้แก่ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ โดยรัฐหรือท้องถิ่นอาจอนุญาตให้ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ จอดรถในบริเวณที่ใกล้กับพื้นที่จุดหมายปลายทางที่ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพต้องการจะเดินทางไป รวมไปถึงรัฐอาจให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในใช้ดุลพินิจออกใบอนุญาตจอดรถสำหรับผู้พิการ (parking concessions for blue badge holders) หากบุคคลใดเข้าเกณฑ์ที่ถือว่าเป็นผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพตามที่เกณฑ์ของโครงการนี้แล้ว ก็ย่อมสามารถใช้สิทธิเพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้ได้ ซึ่งเมื่อผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพได้รับใบอนุญาตจอดรถสำหรับผู้พิการแล้ว บุคคลเหล่านี้ก็จะสามารถจอดรถในบริเวณพื้นที่ที่รัฐ ท้องถิ่นหรือภาคเอกชนจัดเอาไว้เป็นจุดจอดรถสำหรับผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพโดยเฉพาะ ทำให้ง่ายต่อการเดินทางไปสู่ที่หมายของบุคคลเหล่านี้และเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพเองและผู้ที่มารับส่งบุคคลเหล่านี้
รูปที่ 1: ใบอนุญาตจอดรถสำหรับผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่โครงการดังกล่าวได้กำหนดขึ้น อ้างอิง: Carlisle City Council, Disabled badge holders, http://www.carlisle.gov.uk/transport_and_streets/parking/disabled_badge_holders.aspx
รูปที่ 2: เมื่อผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพได้รับใบอนุญาตจอดรถในพื้นที่จอดรถหรือจุดจอดรถ ตามโครงการ Blue Badge scheme แล้ว ก็ต้องนำใบอนุญาตดังกล่าวมาติดไว้บริเวณกระจกหน้ารถ เพื่อให้เจ้าพนักงานตรวจที่จอดรถสาธารณะ (Parking inspector) ของท้องถิ่นได้ทราบว่ามีผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพมาจอดรถอยู่ในบริเวณนี้และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปหรือเอกชนเจ้าของสถานที่จอดรถ ได้ทราบว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพเดินทางมากับรถยนต์คันดังกล่าว อ้างอิง: Newark and Sherwood District Council, Blue badge parking scheme for disabled people, http://www.newark-sherwooddc.gov.uk/transportandstreets/bluebadgeparkingschemefordisabledpeople/
รูปที่ 3: ป้ายบอกจุดจอดรถหรือพื้นที่จอดรถสำหรับผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ ที่ได้รับใบอนุญาตจอดรถในพื้นที่จอดรถหรือจุดจอดรถ ตามโครงการ Blue Badge scheme อ้างอิง: Transport Scotland, Blue Badge scheme, http://www.transportscotland.gov.uk/blue-badge/blue-badge-scheme
สำหรับผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ ต้องมีคุณลักษณะพิการหรือทุพพลภาพตามที่เกณฑ์ของโครงการนี้ได้กำหนดเอาไว้ เช่น เข้าลักษณะเป็นผู้พิการที่ไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเองและคนตาบอดที่ลงทะเบียนกับรัฐว่าเป็นผู้พิการทางสายตาเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น ในกรณีของการใช้งานจากใบอนุญาตจอดรถในพื้นที่จอดรถหรือจุดจอดรถ ตามโครงการ Blue Badge scheme ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ อาจติดใบอนุญาตไว้ในรถยนต์คันใดก็ได้ ที่ตนเองโดยสารอยู่และต้องการให้รถยนต์คันดังกล่าวไปรับหรือส่งยังบริเวณจุดจอดรถหรือที่จอดรถสำหรับ ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพที่รัฐหรือเอกชนได้จัดเอาไว้ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นรถยนต์คันหนึ่งคันใดเท่านั้น สำหรับการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ฝ่ายปกครอง) ในการอนุมัติใบอนุญาตจอดรถในพื้นที่จอดรถหรือจุดจอดรถ ตามโครงการ Blue Badge scheme ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ ประกอบด้วย การใช้อำนาจในสองรูปแบบด้วยกัน อันประกอบด้วย ประการแรก เกณฑ์ตามอำนาจผูกพัน (automatic criteria) ได้แก่ เกณฑ์ในการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ที่จำต้องออกใบอนุญาตโดยปราศจากเงื่อนไข ให้กับคนพิการหรือผู้ทุพพลภาพที่มีสภาพพิการหรือทุพพลภาพตามที่กฎหมายคนพิการหรือกฎหมายสวัสดิการสังคมได้กำหนดขึ้น เช่น ผู้พิการทางสายตาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับรัฐ (registered blind) ที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมาย National Assistance Act 1958 ของอังกฤษ โดยเจ้าที่ท้องถิ่นต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงและจำต้องออกใบอนุญาตแก่คนพิการทางสายตาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับรัฐ เป็นต้น ประการที่สอง เกณฑ์ตามอำนาจดุลพินิจ (discretionary criteria) ได้แก่ เกณฑ์การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ โดยเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจทางปกครอง ในการออกใบอนุญาตจอดรถในพื้นที่จอดรถหรือจุดจอดรถ ตามโครงการ Blue Badge scheme ผู้พิการ คนชราหรือผู้ทุพพลภาพ เป็นรายกรณีไปตามความจำเป็นและเหมาะสมแก่กรณี ทั้งนี้ คนชรา ผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพที่ต้องการใบอนุญาตดังกล่าว จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 10 ปอนด์ (£10) หรือประมาณ 500 บาท แก่ท้องถิ่น ในการขึ้นทะเบียนและทำใบอนุญาต มาตรการตามโครงการ Blue Badge scheme หรือโครงการจุดจอดรถสำหรับผู้พิการ ย่อมสร้างระบบในการตรวจสอบการจอดรถของคนชรา ผู้พิการและผู้ทุพพลภาพได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าพนักงานบังคับจราจร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและประชาชนที่จอดรถในที่จอดรถสาธารณะทั่วไป ก็ย่อมมีอำนาจตรวจสอบว่ารถยนต์คันดังกล่าวได้รับอนุญาตให้จอดในจุดจอดรถสำหรับคนพิการ คนชราหรือคนทุพพลภาพจริงหรือไม่ (Power to inspect badge)โดยอาจสังเกตได้จากการติดใบอนุญาตบริเวณกระจกหน้ารถยนต์ ซึ่งหากรถคันใดจอดในบริเวณจุดจอดรถสำหรับคนชรา คนพิการหรือคนทุพพลภาพ โดยที่ไม่ได้แสดงใบอนุญาตไว้บริเวณกระจกหน้ารถยนต์ เจ้าของรถยนต์ต้องจ่ายค่าปรับแก่รัฐเป็นจำนวนเงินถึง 1,000 ปอนด์ (£1,000) หรือเป็นจำนวนเงินไทยประมาณ 50,000 บาท อ้างอิง : Leicester City Council, Blue Badge scheme, http://www.leicester.gov.uk/your-council-services/social-care-health/adults/services-for-adults-and-older-people/blue-badge-scheme/
เครดิต http://www.birminghammail.co.uk/news/local-news/disabled-driver-is-stung-by-60-fine-99322
ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ http://www.facebook.com/smartgrowththailand อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว http://www.oknation.net/blog/smartgrowth |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |