*/
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
หมายเหตุ : บทความนี้จะทำให้ผู้อ่านทราบว่า กฎหมายบางมลรัฐ กำหนดให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหม่ หรือ เจ้าของอาคารที่ต้องการปรับปรุงอาคารเดิม (อาคารสาธารณะ จำพวกห้างสรรพสินค้า โรงเรียน มหาวิทยาลัย) ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ LEED อันนี้กฎหมายอาคารเขียวในมลรัฐแมรี่แลนด์ เอาเกณฑ์นี้มาใช้ ขั้นต่ำคือต้องได้ระดับ silver หรือระดับเงิน
เข้าสู่บทความ กฎหมายอาคารเขียวของมลรัฐแมรี่แลนด์: Maryland’s High Performance Buildings Act บทความโดย อาจารย์ ปีดิเทพ อยู่ยืนยง สมาชิกสมาคมการผังเมืองไทย/ นักเรียนทุนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการอาจารย์(ผู้สอน) ระดับปริญญาเอกประเภททุนสำหรับบุคคลภายนอกตามความต้องการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีเมลล์: [email protected]
เกณฑ์อาคารเขียว (Green Building Standards) ที่แพร่หลายและนิยมนำมาปรับใช้ในการประเมินอาคารเขียวทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา นั้นก็คือ เกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวสหรัฐอเมริกาหรือมีชื่อเรียกอย่างเต็มว่าเกณฑ์ความเป็นผู้นำในการออกแบบอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Leadership in Energy and Environmental Design) หรือเรียกอย่างย่อว่าเกณฑ์ LEED) จัดทำโดยสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council) (โปรดดู http://www.usgbc.org/Docs/Archive/General/Docs5546.pdf )
เกณฑ์ LEED นี้เองไม่เพียงจะนำเสนอหลักการใหม่ๆ สำหรับการออกแบบอาคารที่กำลังจะก่อสร้างขึ้นมาใหม่หรือการออกแบบอาคารที่กำลังจะได้รับการปรับปรุง หากแต่เกณฑ์ดังกล่าวยังมีส่วนช่วยสนับสนุนประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงช่วยสนับสนุนการลดการบริโภคพลังงานอาคารที่เกิดต่อความจำเป็นอีกด้วย อันทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเจ้าของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคารเพื่อการใช้สอย และเพื่อนบ้านหรือชุมชนที่อยู่ในบริเวณที่ตั้งของอาคารเขียว ต่างก็ได้รับประโยชน์จากลักษณะของอาคารที่มีคุณสมบัติอาคารเขียวตามเกณฑ์ LEED
สำหรับเกณฑ์ LEED ประกอบด้วยเกณฑ์สำหรับรับรองมาตรฐานอาคารเขียวที่สำคัญ ได้แก่ เกณฑ์ผังบริเวณอาคารที่ยั่งยืน เกณฑ์การใช้น้ำของอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์พลังงานและบรรยากาศ เกณฑ์วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้างอาคาร เกณฑ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร เกณฑ์นวัตกรรมการออกแบบอาคาร และเกณฑ์การเอื้อต่อสภาวะท้องถิ่นของอาคาร เกณฑ์ LEED ยังได้กำหนดกลไกในการกำหนดมาตรฐานอาคารเขียวผ่านกลไกการประเมินอาคารเขียวผ่านการจัดระดับคะแนนอาคาร (Rating Systems) กล่าวคือ หากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของอาคาร และผู้ครอบครองอาคาร ต้องการจะก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคาร ให้เป็นอาคารเขียว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ LEED ที่กล่าวไว้ในข้างต้น ซึ่งหากอาคารใดมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ LEED ได้กำหนดเอาไว้ ก็จะได้รับการประเมินอาคารให้เป็นอาคารเขียว ซึ่งระดับการจัดระดับคะแนนอาคารย่อมแตกต่างกันออกไปตามคุณภาพของความเป็นอาคารเขียว เช่น ระดับผ่านการรับรอง (Certified) ในช่วงคะแนน 40–49 คะแนน ระดับเงิน (Silver) ในช่วงคะแนน 50–59 คะแนน ระดับทอง (Gold) ในช่วงคะแนน 60–79 คะแนน และระดับยอดเยี่ยม (Platinum) ในช่วงคะแนนมากกว่า 80 คะแนนขึ้นไป
อนึ่ง ในหลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกาจะกำหนดมาตรการจูงใจ (incentives) ประการต่างๆ ให้ภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งปลูกสร้างใช้ลักษณะที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่หรือปรับปรุงออกแบบอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งปลูกสร้าง หันมาก่อสร้างอาคารเขียวหรือปรับปรุงอาคารเดิมที่มีอยู่แล้วให้กลายเป็นอาคารเขียว เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี (Green Building Tax Credit) (โปรดดู http://energy.gov/savings/carroll-county-green-building-property-tax-credit ) และมาตรการลดดอกเบี้ยของสถาบันทางการเงิน (Green Building low-interest loans) (โปรดดู http://www.epa.gov/greenbuilding/tools/funding.htm ) แต่ทว่ามาตรการจูงใจต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมานี้ก็ไม่ใช้มาตรการที่บังคับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งปลูกสร้างที่กำลังจะก่อสร้างขึ้นมาใหม่หรือกำลังจะปรับปรุงใหม่ ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ LEED อย่างเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม ในปี 2008 รัฐบาลของมลรัฐแมรี่แลนด์ได้ตรากฎหมาย High Performance Buildings Act 2008 (โปรดดู http://mlis.state.md.us/2008rs/bills/sb/sb0208t.pdf) เพื่อกำหนดมาตรการบังคับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งปลูกสร้างสาธารณะ (public construction) ที่กำลังจะก่อสร้างขึ้นมาใหม่หรือกำลังจะปรับปรุงใหม่ ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ LEED อย่างเคร่งครัด (โปรดดู http://www.c2es.org/us-states-regions/news/2008/maryland-enacts-green-building-standards-public-buildings )
กฎหมายฉบับนี้ของแมรี่แลนด์ต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสถานที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ และสถาบันการศึกษา ที่ได้รับการก่อสร้างหรือปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ต้องเป็นอาคารที่มีประสิทธิภาพสูง (high performance buildings) ตามเกณฑ์ LEED ได้กำหนดเอาไว้ โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร ต้องก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารสาธารณะให้ได้มาตรฐานไม่ต่ำไปกว่าเกณฑ์ LEED ระดับเงิน (at least a silver rating the under the U.S. Green Building Council's LEED) ดังที่กล่าวไว้แล้วในข้างต้น
ภาพที่ 1: อาคาร Oakland Hall ของมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ที่ได้มาตรฐานระดับเงิน (Silver) ตามเกณฑ์ LEED ได้กำหนดเอาไว้ อันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายอาคารเขียวของมลรัฐแมรี่แลนด์สำหรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการก่อสร้างหรือต่อเติมขึ้นมาใหม่ อ้างอิง: University of Maryland, Campus Infrastructure & Operations: Green Buildings, http://www.sustainability.umd.edu/content/campus/green_buildings.php
ภาพที่ 2: หากอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่หรือได้รับการปรับปรุงใหม่ ในมลรัฐแมรี่แลนด์ ผ่านเกณฑ์ LEED ระดับเงินแล้ว ก็จะได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาคารเขียวจากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council) อันทำให้สาธารณะชนทราบว่าอาคารนี้ เป็นไปตามเกณฑ์ LEED ระดับเงิน อันถือเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในกฎหมายอาคารเขียวของมลรัฐแมรี่แลนด์ อ้างอิง: Green Building Law Update, USGBC Supports Proposed Green Code, http://www.greenbuildinglawupdate.com/articles/codes-and-regulations/state/
การที่มลรัฐแมรี่แลนด์กำหนดมาตรการเอาไว้เป็นเช่นนี้ ย่อมทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการพัฒนาอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หันมาตระหนักในการปฏิบัติตามเกณฑ์อาคารเขียว LEED และปฏิบัติตามมาตรการที่ปรากฎในกฎหมาย High Performance Buildings Act 2008 มากขึ้น ทำให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่หรืออาคารที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นมาใหม่ มีลักษณะของการออกแบบที่คำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาคารสาธารณะและคำนึงถึงการประหยัดพลังงานในอาคารสาธารณะ นอกจากนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับอาคารระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของอาคารเองหรือผู้เข้ามาใช้งานอาคารก็ตาม ต่างก็ได้รับประโยชน์จากมาตรการในกฎหมายดังกล่าวด้วย ตัวอย่างเช่น เจ้าของอาคารย่อมสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในพลังงานอาคารและผู้เข้ามาใช้งานอาคารก็ย่อมได้รับความสะดวกสบายจากเทคโนโลยีอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงชุมชนโดยรอบก็ย่อมได้รับผลดีจากความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาคารดังกล่าวในเรื่องการลดมลภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบอาคาร เป็นต้น
ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ http://www.facebook.com/smartgrowththailand
อ่านบทความ “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว http://www.oknation.net/blog/smartgrowth |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |