*/
<< | ตุลาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยใช้ Streetcar เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสุขภาวะ ประสบการณ์จากเมืองพอร์ตแลนด์สู่เทศบาลนครระยอง โดย ฐาปนา บุณยประวิตร ([email protected]) Smart Growth Institute/ http://www.asiamuseum.co.th/ http://www.smartgrowthasia.com/ http://www.smartgrowththailand.com
บทนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการแสดงปัจจัยด้านกายภาพที่เกิดจากการลงทุนรถไฟฟ้า streetcar ที่ส่งผลทางตรงและทางอ้อมในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สุขภาวะ และรูปทรงเมืองผ่านการวางผังและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมือง โดยจะกล่าวโดยสรุปใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย streetcar กับบทบาททางกายภาพและสภาพแวดล้อม กลยุทธ์การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสองข้างทางรถไฟฟ้า streetcar และแนวคิดการลงทุน streetcar ของเทศบาลนครระยอง ต้องการแสดงให้เห็นคุณค่าของการวางผังหรือแผนเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม สุขภาวะ และสร้างรูปทรงเมืองที่เป็นการวางผังให้เติบโต (plan for growth) ทั้งในการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่เมืองเดิมและพื้นที่ตามยุทธศาสตร์การสร้างเมืองใหม่ (แตกต่างจากการวางผังลักษณะการปล่อยให้พื้นที่เติบโตไปตามธรรมชาติไปก่อนแล้วจึงค่อยวางผังเพื่อควบคุม) ตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Principles)
Streetcar เมืองพอร์ตแลนด์ ถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557
Streetcar กับบทบาททางกายภาพและสภาพแวดล้อม พอร์ตแลนด์ โอเรกอนในฐานะเมืองที่ถูกเรียกว่า “เมืองหลวงของ streetcar” ได้กำหนดบทบาทของ streetcar ที่มีต่อการพัฒนากายภาพเมืองและสภาพแวดล้อมเมืองและโลกไว้ดังนี้
จะมาถึง
พันธกิจของแผน SSCP-Portland Streetcar System Concept ของพอร์ตแลนด์ยังได้ระบุไว้ด้วยว่า ในการบริหารเศรษฐกิจของเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารเมืองมีความจำเป็นจะต้องวางแผนให้การเติบโตนั้นเป็นไปอย่างยั่งยืนโดยควบคุมการเติบโตนั้นด้วย 2 ตัวชี้วัดสำคัญ 2 คือ การควบคุมให้เติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงานขยายไปพร้อมการใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ต้องควบคุมการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ให้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของใช้ที่ดินหรือเกิดการใช้ที่ดินที่ไร้ประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ดินในพื้นที่มีมูลค่าสูง และการควบคุมการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความสมดุลกับการใช้พลังงาน ต้องไม่สร้างความจำเป็นในการเดินทางที่บริโภคพลังงานเป็นจำนวนมากดังเช่นการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการสัญจรเป็นกิจวัตร หรือการเพิ่มภาระของเมืองในการลงทุนโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหรือการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ซึ่งเป็นการเพิ่มปัจจัยในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ นอกจากนั้น คณะผู้บริหารเมืองยังมีความจำเป็นในการสร้างตัวแบบสำหรับนโยบายเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเมืองอื่นๆ เพื่อร่วมกันผลักดันแนวทางในการสร้างความยั่งยืนแก่เมืองและโลก ทั้งด้วยการลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลงที่สร้างโลกร้อนและลดภาระค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนของประชาชนจากการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล โดย SSCP ได้กำหนดแนวทางในการวางแผนส่งเสริมระบบขนส่งมวลขนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง streetcar ดังนี้
พื้นที่สาธารณะและศูนย์พาณิชยกรรมใจกลางย่าน Pearl District เมืองพอร์ตแลนด์ ถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557
1.การสร้างนโยบายผูกมัดต่อภาคธุรกิจ ภาคราชการ และผู้นำชุมชนในการกำหนดแผนเพื่อใช้ระบบขนส่งมวลชนในการปรับเปลี่ยนเมือง 2. การสนับสนุนการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อลดความจำเป็นในการเดินทางและการขนส่งสินค้า ส่งเสริมกิจกรรมการเดินและออกแบบปรับปรุงกายภาพให้โครงข่ายการเดินและการใช้จักรยานมีความสมบูรณ์ 3. การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนทางเลือกการคมนาคมและขนส่งที่มีความหลากหลาย สนับสนุนการปรับปรุงฟื้นฟูประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า และงดเว้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองหรือการขนส่งระยะใกลและมีต้นทุนสูง 4. วางแผนกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและใช้พลังงานหมุนเวียนสำหรับการคมนาคมและขนส่งทางเลือก 5. ขยายพื้นที่และปริมาณการใช้พลังงานทดแทนและแนวทางการใช้พลังงานทีมีประสิทธิภาพทั้งในภาคของอาคารและภาคการคมนาคมและขนส่ง ด้วยการให้รางวัล (incentive) ประเภทต่างๆ 6. ปกป้องการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมและสนับสนุนการขยายโครงข่ายการผลิตและการจำหน่ายอาหารท้องถิ่น 7. สนับสนุนโอกาสสำหรับธุรกิจที่ประหยัดการใช้พลังงานหรือธุรกิจที่ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเติบโตในอนาคต 8. ออกแบบระบบใหม่ทางกายภาพและการบริหารจัดการเพื่อปกป้องประชากรที่ขาดโอกาสหรืออ่อนแอในทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมืองและเข้าถึงระบบคมนาคมทางเลือก 9. เตรียมแผนการฉุกเฉินในการบริหารจัดการเพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Streetcar เมืองพอร์ตแลนด์ ถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กลยุทธ์การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับนโนบายทางตรงสำหรับผู้บริหารเมืองในการใช้ streetcar เพื่อลดความจำเป็นในการเดินทางและลดจำนวนเที่ยวในการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล (Streetcar for reduce auto trips) ได้แก่ การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเพื่อสร้างพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development) หรือศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยรอบสถานีขนส่งมวลชน การสร้างความหนาแน่นและการใช้ที่ดินที่ผสมผสาน (Mix Land Use) ในพื้นที่ TOD และในพื้นที่รัศมี 200 เมตร สองข้างทางรถไฟฟ้า streetcar พร้อมสร้างความสามารถในการเข้าถึงสถานีด้วยทางเดินที่มีคุณภาพ การสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทุกระดับรายได้ (Affordable Housing) และการส่งเสริมด้วย incentive เพื่อให้เกิดการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในการพัฒนาโครงการรอบสถานีและสองข้างทาง พร้อมสร้างเศรษฐกิจที่หลากหลายจากการใช้ที่ดินผสมผสาน สร้างชุมชนแห่งการเดิน (Walkable Community) ปรับปรุงฟื้นฟูระบบขนส่งมวลชนทางเลือกอื่นๆ ให้สนับสนุนการเข้าถึงตัวสถานีได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น ผู้บริหารเมืองต้องพยายามในทุกวิถีทางในการลดความจำเป็นในการเดินทางและลดจำนวนเที่ยวของการเดินทาง ทั้งนี้ จากการศึกษาดังตารางด้านล่างได้ชี้ให้เห็นว่า ในพื้นที่ที่มีระบบขนส่งมวลชนที่สมบูรณ์ จะส่งผลให้จำนวนเที่ยวการเดินทางลดลง และโหมดการเดินทางอื่นๆ มีความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสองข้างทางรถไฟฟ้า streetcar SSCP กำหนด 4 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจสองข้างทาง streetcar โดยปัจจัยทั้ง 3 ประกอบด้วย
นอกจากนั้น การปรับปรุงรูปทรงของเมืองก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จะไม่มีความสำเร็จบังเกิดขึ้นหากชุมชนสองข้างทางและพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนยังมีสภาพเป็นพื้นที่หนาแน่นต่ำ ภาครัฐฯ ไม่ได้วางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและเพียงในการดึงดูดการลงทุน ในขณะที่ภาคเอกชนโดยแฉพาะอย่างยิ่งภาคอสังหาริมทรัพย์และนักลงทุนต้องมีบทบาทนำในการลงทุนอาคารสำนักงาน ร้านค้าปลีก โรงแรม สถานบริการและที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ
SSCP ยังได้กำหนดให้ใช้ Clean-Corridor Coordination: The 3C Concept ซึ่งหมายถึงความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน streetcar และพัฒนาพื้นที่สองข้างทางร่วมมือกันเพื่อใช้เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่สะอาด (Clean Technology and Infrastructure) สำหรับการสร้างระบบการเดินทางและย่านที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและไม่เป็นภาระของเมืองและโลกในการบำบัดของเสียและมลภาวะ โดย The 3C Concept ประกอบด้วยกลยุทธ์ ดังนี้
นอกจากนั้นยังใช้อีก 4 กลยุทธเสริมเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีและพื้นที่สองข้างทาง ประกอบด้วย
แนวคิดการลงทุน streetcar ของเทศบาลนครระยอง เทศบาลนครระยองได้นำประสบการณ์การพัฒนาพื้นที่สองข้างทางและการลงทุน streetcar ของเมืองพอร์ตแลนด์เป็นแม่แบบในการดำเนินการ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้พื้นที่ชั้นในของเขตเมืองและภายในศูนย์พาณิชยกรรมเป็นพื้นที่แห่งการเดิน (Walkable Urban Places-Walkups) และใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างงาน และจ้างงาน รวมทั้งเป็นสถานที่สาธารณะสำหรับประชาชนทุกคน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2558 ถึง 2559 เทศบาลจะเริ่มศึกษาและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยเน้นการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่สองข้างทาง และการสร้างศูนย์พาณิชยกรรมตามรูปแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ซึ่งในแผนการดังกล่าวจะมีการศึกษาความเหมาะสมการลงทุน streetcar อยู่ด้วย การศึกษาครั้งนี้จะให้ความสำคัญในการสร้างศูนย์พาณิชยกรรมที่มีความหนาแน่นและสร้างขอบเขตพื้นที่พัฒนาให้มีความเด่นชัดซึ่งจะได้สร้างความพร้อมด้านปริมาณผู้สัญจรด้วยระบบราง พร้อมๆ กับการออกข้อกำหนดในการจัดการพื้นที่ที่สนับสนุนการปรับปรุงย่านการค้าเก่าและใหม่ให้มีความสมดุล โดยแต่ละย่านจะต้องพึ่งพากันในเชิงกายภาพและเศรษฐกิจ สำหรับเส้นทาง streetcar จะได้กำหนดไว้ในผังตั้งแต่เบื้องต้นพร้อมๆ กับการขอขยายเขตทาง (ซึ่งมีเพียงแค่ 3 บริเวณ สำหรับวงเลี้ยวของรถไฟฟ้าและที่ตั้งสถานีย่อย) และออกแบบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางไว้รองรับ สำหรับสถานีใหญ่ของ streetcar เท่าที่กำหนดไว้เบื้องต้นมี 5 แห่งคือ 1) บริเวณศูนย์พาณิชยกรรมเทศบันเทิงซึ่งตั้งอยู่ใจกลางย่านการค้าเก่าที่เชื่อมต่อกับวัด โรงเรียน โรงพยาบาล และย่านการค้าเก่ายมจินดา โดยกำหนดให้เป็น Rayong Multimodal 2 2) ศูนย์พาณิชยกรรมและศูนย์ราชการบริเวณ(โรงเรียนอนุบาล วิทยาลัยเทคนิค เทศบาล สถานีตำรวจ ฯลฯ) เชื่อมต่อไปถึงชุมชนปากน้ำ 3) ศูนย์พาณิชยกรรมด้านหน้ากลุ่มโรงงานไออาพีซีซึ่งในในอีกสองปีข้างหน้าพื้นที่ฝั่งตรงข้ามจะแปรสภาพเป็นศูนย์ฝึกอบรมขนาดใหญ่ของ ปตท. 4) ศูนย์พาณิชยกรรมศูนย์การค้าเซ็นทรัลซึ่งกำหนดให้เป็น Rayong Multimodal 1 ที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างภาคด้วยรถไฟฟ้าหลายระบบ และ 5) ศูนย์พาณิชยกรรมศูนย์การค้าแหลมทองซึ่งครอบคลุมพื้นที่พัฒนาบริเวณสามแยกทางลงโรงแรมพีเอ็มไวน์ ทั้ง 5 ศูนย์ที่กำหนดจะได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูก่อนที่จะลงทุน streetcar กลยุทธ์การพัฒนา เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของเมืองพอร์ตแลนด์ที่ให้ลงทุนปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์พาณิชยกรรมและพื้นที่สองข้างทางก่อนการลงทุนการขนส่งมวลชน ซึ่งวิธีนี้มีความเหมาะสมกับประเทศไทยมากกว่ายุทธศาสตร์การลงทุนระบบขนส่งมวลชนก่อนที่จะลงทุนปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้มีความหนาแน่นบริเวณศูนย์พาณิชยกรรมอันเป็นที่ตั้งสถานีหลักของรถไฟฟ้า
ทัศนียภาพถนนสมบูรณ์แบบ และระบบขนส่งมวลชน บนถนนสุขุมวิท เทศบาลนครระยอง
เอกสารอ้างอิง Portland Streetcar System Concept Plan: City of Portland, Bureau of Transportation
บทความที่เกี่ยวเนื่อง บทความเมื่อวันที่ 9 กันยายน 57 แนวคิดการพัฒนาเมืองโดยเน้นระบบขนส่งมวลชน : กรณีเทศบาลนครระยอง (นำแนวคิด TOD มาปรับใช้ในการพัฒนาเมือง) โดย ฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง http://smartgrowthasia.com/planning/tod-rayong.html |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |