หลายคนเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง มีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะสงสัยว่านโยบายที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร นโยบายการเงินและนโยบายการคลังนั้นมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือการรักษาเศรษฐกิจให้มีความสมดุล ไม่ให้เติบโตเร็วจนเกินไป และไม่ให้ตกต่ำจนเกินไป ดังนั้นทั้งนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง ควรมีการดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากหากนโยบายทั้งสองมีความขัดแย้งกันการแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาก็จะเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนคนป่วยที่ได้รับยาที่มีฤทธิ์หักล้าง หรือสวนทางกัน แทนที่จะหายป่วยก็อาจจะยิ่งป่วยไปมากกว่าเดิม ความแตกต่างของนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง นโยบายการเงิน (Monetary policy) ถูกกำหนดขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในนาม “แบงค์ชาติ” เป็นนโยบายที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินที่ใช้กำหนดปริมาณการเงิน (Money supply) ในระบบเศรษฐกิจไม่ให้มีมาก หรือ น้อยจนเกินไป (เงินเฟ้อ เงินฝืด) เช่น 1) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) กำหนดให้คงที่ หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่า เช่น กรณีค่าเงินบาทอ่อนค่า ก็จะทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากเงินสกุลอื่นจะมีมูลค่ามากขึ้น สามารถซื้อของจากประเทศไทยได้มากขึ้น 2) อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) กำหนดให้ปรับลด หรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เช่น กรณีเมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนักลงทุนก็จะกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำ ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์การลงทุนจะก่อให้เกิดการกระตุนเศรษฐกิจ ผ่านภาคการผลิตและการบริโภค เป็นต้น การดำเนินนโยบายการเงินนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น หรือการคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น หากสถานการณ์เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง หรือเศรษฐกิจตกต่ำ แบงค์ชาติ ก็จะตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary monetary policy) เช่น การลดอัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (Reserve ratio), ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางให้ธนาคารพาณิยช์กู้, ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อ, ธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์จากภาคเอกชนเพื่อปล่อยเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น สำหรับในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูจนเกินไป ซึ่งอาจจะนำมาสู่สภาวะฟองสบู่แตก ธนาคารกลางก็จะป้องกันโดยใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว (Tight monetary policy) คือ การทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนโยบายการเงินแบบขยายตัวนั่งเอง
ภาพที่ 1 Monetary Policy
นโยบายการคลัง (Fiscal policy) คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax) ประเภทต่างๆ เช่น ภาษีสรรพาสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เมื่อรัฐบาลตัดสินใจเพิ่มหรือลดภาษี ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นอัตราภาษีมีผลให้เงินสดที่อยู่ในมือเราลดลง เนื่องจากรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายภาษีมากขึ้น เงินที่เหลือจะใช้จ่ายก็จะลดลง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เช่น เดียวกับนโยบายการคลัง ได้แก่ นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” (deficit budget) กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ นโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลจ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือการเพิ่มภาษีเพื่อดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ อาจจะเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (surplus budget) จะใช้ก็ต่อเมื่อยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ
ภาพที่ 2 Fiscal Policy |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | เมษายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |