*/
<< | พฤศจิกายน 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
พระที่นั่งพรหมเมศธาดา : พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร พระที่นั่งพรหมเมศธาดา เป็นพระวิมานหลังเหนือในหมู่พระวิมาน เมื่อแรกสร้างในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุริสิงหนาทนั้น มีนามว่า "พระที่นั่งพรหมเมศรังสรรค์" โดยมีการสันนิษฐานว่าเดิมน่าจะมีนามอื่นมาก่อน ในทำนองความว่าใช้เป็นที่ประทับในฤดูร้อน แต่อาจมีเหตุทำให้ต้องเปลี่ยนนามพระที่นั่งใหม่ ภายหลังการซ่อมแซมพระราชมณเฑียรในสมัยของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระองค์ทรงเปลี่ยนสร้อยพระที่นั่งใหม่ว่า "พระที่นั่งพรหมเมศธาดา" เพื่อให้ชื่อสอดคล้องกับ "พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย" ที่พระองค์โปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ด้วย พระวิมานหลังนี้เคยใช้เป็นหอพระอัฐิของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท แต่ภายหลังจากการย้ายพระอัฐิไปประดิษฐานที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศแล้ว ก็ไม่มีปรากฏว่ามีกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ใดเสด็จมาประทับ ณ พระวิมานองค์นี้ ภายหลังจึงใช้เป็นที่เก็บของตลอดมา ปัจจุบัน พระที่นั่งแห่งนี้ใช้จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ประเภทศิลปะเครื่องมุก และเครื่องใช้ในพุทธศาสนา ชั้นบนของพระที่นั่งพรหมเมศธาดา ... จัดแสดงเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา เช่น พัดพระราชลัญจกร เครื่องบริขารสงฆ์ เป็นต้น อันเป็นการรวมศิลปะไทยหลากหลายแขนงไว้ด้วยกัน สำหรับศิลปินและช่างศิลป์ไทยแต่โบราณนั้นถือว่า การทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา คือที่สุดของงานศิลป์ที่ช่างจะบรรจงลงแรงอย่างสุดฝีมือ .. ตาลปัตร พัดยศ และพักรองนั้นจึงเปรียบได้กับที่สุดของงานศิลปะไทย ที่รวมงานช่างหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน ทั้งงานปัก แกะสลัก ฝังมุก งานไม้ และงานจิตรกรรม ห้องเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนานั้นแม้จะเต็มไปด้วยพัดยศ พัดรอง และตาลปัตร แต่เมื่อมีการนำมาจัดแสดงใหม่เลือกเฉพาะงานชิ้นเอก จัดวางในตู้รักษาอุณหภูมิ พร้อมใส่แสงไฟสาดลงไป ก็ทำให้เห็นรายละเอียดของงานศิลปะชิ้นครู “พัดยศ” หรือพัดเกียรติยศนั่นเอง เป็นเครื่องสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ตามทางโบราณราชประเพณี เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จะนำมาใช้เฉพาะในงานรัฐพิธี และพระราชพิธีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี “พัดรอง” พัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นถวายแก่พระสงฆ์ เป็นที่ระลึกในพระราชพิธีสำคัญ หรือประชาชนสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคตินิยมทางพุทธศาสนา .. พัดรองจะใช้ในพิธีกรรมงานบุญทั่วไป ใครที่ชื่นชอบผลงานชั้นครูของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ถือได้ว่าเป็นศิลปินไทยโมเดิร์นในยุคนั้น ผู้เปลี่ยนธรรมเนียมของการทำพัดยศที่ไม่ได้มีแต่ลวดลายไทย ทว่า ยังสะท้อนตัวตน บุคลิกของผู้สร้างถวาย และเรื่องราวต่างๆ ลงไปอีกด้วย .. ที่นี่ ได้รวบรวมชิ้นงานพัดยศของท่านไว้มากที่สุดนอกเหนือไปจากตำหนักที่ประทับวังปลายเนินในปัจจุบัน หากสังเกตอย่างจดจ้อง .. จะพบว่าพระองค์ท่านได้ซ่อนอักษร น.ไว้ในลวดลายให้เป็นดั่งลายเซน เฉกเช่นศิลปินในฝั่งตะวันตกนิยมกระทำ แต่สำหรับสยามกลับกลายเป็นสิ่งใหม่มากในยุคนั้น ย่ามของพระสงฆ์ ... ภาพแรกเป็นย่ามปักหักทองขวาง ของสมเด็จพระวันรัต (แดง) วีดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งพระครูสมุห์สงฆ์ วัดอรุณราชวาราราม เป็นผู้ถวาย เครื่องใช้ในพุทธสาสนาอื่นๆที่นำมาจัดแสดง รวมถึง เครื่องอัฐบริขาร ตู้พระไตรปิฏก และผ้าห่อคัมภีร์ เป็นต้น เครื่องมุกในราชสำนักสยาม .. จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่างานประดับมุกที่เก่าแก่ที่สุกเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ตู้พระไตรปิฎกประดับมุกสมัยสมเด็จพระสรรเพ็ญที่ 8 (พระเจ้าเสือ) .. บานประตูประดับมุกสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (สทเด็จพระเจ้าบรมโกศ) และบานประตูประดับมุกที่พระวิหารวัดบรมพุทธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ปรากฏความนิยมต่อเนื่องกันมา พบเจอในหลายๆสถานที่ เช่น ที่บาสนประตูพระอุโบสถ บานประตูพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม .. บานประตูพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม เป็นต้น นอกจากความนิยมประดับมุกบนบานประตู บานหน้าต่างของวัดต่างๆแล้ว .. คนไทยยังนิยมการประดับมุกบนภาชนะเครื่องใช้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่มักจะทำอย่างพิเศษ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่นเดียวกับภสชนะเครื่องใช้สำหรับชนชั้นสูง หรือขุนนางในฐานะเครื่องยศฐานันดรศักดิ์ในสังคมไทย .. เมื่อเราเข้าไปชม ต้องตื่นตาตื่นใจไปกับแสงประกายจากเครื่องมุกที่เรียงไทม์ไลน์จากเครื่องมุกโบราณสู่งานมุกในปัจจุบัน ที่อวดฝีมือชั้นครูของช่างทำมุกในเมืองไทย เครื่องมุกที่จัดแสดงในห้องนี้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมุกในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งถือว่าเป็นงานชิ้นครูในการทำเครื่องมุกของไทยที่ช่างในปัจจุบันก็ยากที่จะทำออกมาได้เหมือน งดงามด้วยศิลปะเครื่องมุกอันวิจิตรงดงามที่เป็นเครื่องใช้ในพระบรมวงศานุวงศ์ และเครื่องใช้ของพระภิกษุสงฆ์ อีกทั้งในห้องนี้ยังมีขั้นตอนการทำเครื่องมุกที่ทำจากเปลือกหอยทะเลให้ชมอย่างละเอียดสำหรับคนที่สนใจอยากรู้วิธีการทำ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |