ข้อเท็จจริง เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลียเดิม เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวพื้นเมืองคูลิน (kulin) ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้าไปยึดครอง มีขอบเขตประเทศ มีภาษา 5 ภาษาของตนเองกระจายไปทั้งออสเตรเลีย ต่อมากลับถูกรุกรานโดยต่างชาติ ต่างเผ่าพันธุ์ แทบไม่เหลือแผ่นดิน...
ไม่ต่างกับชนเผ่าเชอโรกีหรืออินเดียนแดงชนพื้นเมืองต่างๆ หลายแห่งทั่วโลก..ที่ผมเคยนำเสนอไว้ใน http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2009/05/22/entry-1 เมื่อ ปี ค.ศ. 1803 อังกฤษเกรงว่าฝรั่งเศสจะเข้ามายึดครองจึงส่งผู้พันเดวิด คอลลินส์ และเหล่านักโทษ กว่า 300 คน มายังท่าเรือฟิลลิป..ทางตอนใต้ของเมืองนั่นเอง ในช่วงยุคตื่นทอง หรือ Victorian Gold Ruch ระหว่างปี ค.ศ.1851-1860 มีการขุดทองบริเวณบัลลารัตและวาร์เรนไดท์ นอกเมืองเมลเบิร์น ทำให้รัฐวิคตอเรียกลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมและการค้า ตั้งแต่นั่นเป็นต้นมา(ย้อนรอย..ตามเอกสาร) สวนสาธารณะ มีอยู่ใจกลางเมือง น่าเดินมากๆครับ ท่านอาจารย์วินัย สนทนากับชาวต่างชาติอย่างกัลยาณมิตรโดยมีพี่เลียงยืนอยู่ใกล้ๆ ณ สวนสาธารณะบ้านกัปตันคุ้ก http://www.onlymelbourne.com.au/melbourne_details.php?id=681 ปัจจุบันเมลเบิร์น เป็นเมืองหลวงของ รัฐวิคตอเรีย เป็นศูนย์กลางการเงิน การคมนาคม ศิลปวัฒนธรรม มีประชากรราว 4,200,000 ล้านคน จากหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป และอังกฤษ ชาวจีน เวียตนาม และแน่นอนพี่ไทยเรา สาวน้อยมาเที่ยวกับแม่ที่สวนสัตว์ ว่าจะขออุ้มและแพคกลับเมืองไทย วกกลับมาถึง การเดินทางไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา ระหว่างวันที่ 2-6 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผมเลยได้ร่วมการเดินทางในครั้งนี้ด้วยครับ มีตัวแทนอาจารย์ในหลักสูตรฯ และนักศึกษาปริญญาเอกร่วมเดินทางรวม 11 คน ภารกิจ ไปพบปะแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายงานสิ่งแวดล้อม ที่มหาวิทยาลัย RMIT ที่เมืองเมลเบิร์น(Melbourne) ในภาพคือไปร่วมงาน เพื่อเรียนรู้รูปแบบการจัดงาน Sustainability Drinks ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมพูดคุยกันในช่วงค่ำในเรื่องที่เป็นที่สนใจ ผู้คนมากหน้าหลายตามมาฟังการปาฐกถา ในประเด็นที่เป็นที่สนใจของผู้คนในสังคม เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืน ท่าน รศ.ดร.วินัย วีระวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการหลักสูตรฯแลกเปลี่ยน สนทนากับตัวแทนมหาวิทยาลัย RMIT Dr. Vikus Ahuja ตำแหน่ง Senior Manager, Sustainability Services Strategy | Sustainability | Climate Risk Management | Renewable Energy ผมเองก็ได้มีโอกาสนำเสนองานวิชาการที่เป็นงานวิจัย ภายใต้กรอบ"การบริหารจัดการน้ำชุมชน" ไม่ได้พาดพิงถึงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลที่ล้มเหลว..เลยสักคำ!! แต่ได้เพิ่มเติม "นาบอนโมเดล"แนวคิดการปลูกต้นไม้ผสมผสาน 5 ระดับ หนึ่งในองค์ประกอบ ชุมชนอยู่ดีมีสุข ของชาวบ้านนาบอน กาฬสินธุ์ ที่นักวิชาการซีกโลกใต้สนใจ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากอาจารย์ชาวออสเตรเลียที่เคยร่วมงาน มาประชุมด้านสิ่งแวดล้อมกับเราเมื่อธันวาคมปีที่แล้วคือ Gayle Seddon http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2013/01/17/entry-1 http://global-cities.info/content/program/sustainable-urban-and-regional-futures ลานสาธารณะบริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัย นอกนี้ยังมีเพื่อนๆพี่ๆที่เรียนด้วยกันนำเสนองานของตนเองแล้วเรายังมีโอกาส ได้พบปะตัวแทนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและชมสถานที่ต่างๆในมหาวิทยาลัย ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา อาจารย์ คนเก่งชาวไทย ที่สอนที่ RMITในเมลเบิร์น นำเสนองานวิจัยเน้นงานสังคมที่เชื่อโยงกัน ทั้งไทย ลาว และออสเตรเลีย ตามติด ประวัติ ผลงานของท่านได้ที่ www.rmit.edu.au/browse/About%20RMIT%2FContact%2F;ID=escgmb6qzvrhz;STATUS=A?QRY=chapters&STYPE=PEOPLE อาจารย์ในมหาวิทยาลัยร่วมนำเสนองานวิจัย ภายใต้งาน "People And the Planet 2013"ที่เราได้ไปร่วมงาน http://global-cities.info/content/conferences_forums/people-and-the-planet ได้แลกเปลี่ยน พูดคุยในภาระงานของฝ่ายตน อย่างอบอุ่น ได้ไปร่วมศึกษาการจัดงาน Conference ระดับนานาชาติ ที่ถือเป็นโอกาสในการเข้ารับฟังสิ่งแปลกใหม่เป็นการเรียนรู้ และเรียนรู้การนำเสนองานวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและนานาชาติ..ว่ากันไป ถ่ายรูปเป็นที่ระทึก พระที่เห็นในภาพคือ พระครูสุวรรณ ก็เป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบ แม้จะเน้นงานด้านการพัฒนาเมืองในมิติต่างๆแต่ผู้ได้รับเชิญจากอเมริกาท่านนี้ นำเสนองานเขียนของตนเรื่องที่แตะศาสนาและการเมือง ช่วงเบรคทีก็พบปะพูดคุยกันพร้อมอาหารตามประสา"คน"ซึ่งเป็นสัตว์สังคม แล้วแต่ใครจะสนทนากับใคร ทั้งภาควิชาการ เอ็นจีโอ หน่วยงานรัฐ นักเรียนนักศึกษา ได้ชมเมือง วิถีชีวิต นั่งรถราง เยือนสวนสัตว์ สับปะรดแพงไปหรือเปล่า พี่ๆสาวๆชาวไทยที่ร่วมเดินทางครับ สาวน้อยชาวออสซี่อีกคน ที่ไปเจอกันในสวนสัตว์ ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ การรณรงค์ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ปาล์ม ที่ไปทำลายถิ่นที่อยู่ของอุรังอุตังในทุกๆที่ เอ..แล้วเราท่านจะช่วยอะไรพวกเขาได้บ้าง น๊าา? ภาพบนจาก Bloggang : toyor http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=voiceofangel&month=06-2009&date=10&group=1&gblog=73 ภาพกอริลลาถูกล่าเป็นอาหารและถูกทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมันในประเทศคองโก เพราะที่นั่นเป็นแหล่งแร่โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ (โคลแทน) ผงที่สกัดออกมาคือแทนทาลัมสามารถมันทนความร้อนได้สูง เป็นวัตถุดิบจำเป็นในมือถือคอมพิวเตอร์ เพลยสเตชั่น... ฯลฯ แล้วเราท่านจะไม่"ตระหนักร่วม"ถึงปัญหาด้านทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และช่วยกันประหยัดการใช้สิ่งของเหล่านี้หรือ? ดอกไม้งามจริงๆครับ ฝรั่งตัวน้อย ที่พ่อแม่สอนให้เรียนรู้ในการช่วยเหลือดูแลตัวเองตั้งแต่เด็ก อาจารย์ที่นั่นแจ้งเราว่า วัสดุตกแต่งตึก Swonston Building หลังนี้ซื้อจากเมืองไทยเราครับ เพื่อการลดโลกร้อน ร้านอาหารไทย จีน เวียตนาม มีให้ไปเยือนให้เลือกมากมาย ราคาอาจแพงไปเมื่อเปรียบเทียบกับบ้านเรา ไฟประดับ..ที่โรงแรมคราวน์ซึ่งเป็นแหล่งเอนเตอร์เทนและคาสิโน น้องจากเพชรบูรณ์ที่ไปเรียนระยะสั้นที่นั่น เมื่อญาติพี่น้องไปเจอกันต่างดีใจ เจ้าอีกัวน่าตัวนี้ ทำให้ผมฉุกคิดเรื่อง"ตะคอง"สัตว์หายากของบ้านเรา ที่มีลักษณะคล้ายกันมาก ที่กำลัง"ถูกบุรุกที่"แถบลำตะคอง โคราช บ้านเอ๋ง ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com/piti.seramethakun และ www.facebook.com/kritsada.patompanitponk ซอก มุมตึกที่สะอาดมีให้เห็นทั่วเมืองเมลเบิร์น จุดชมแมวน้ำบนเกาะฟิลลิป ทางตอนใต้ของเมลเบิร์น ออสเตรเลีย แวะถ่ายภาพวัวสี่เหลี่ยมเพราะบ่เคยเห็น..เคยเห็นแต่วัวแดงข้างกล่องนม..ฮิ๊ววว กับสาวน้อยนักท่องเที่ยวที่เดินผ่าลมพัดแรงท่ามกลางอากาศ 8 องศา เธอกลับไม่สะทกสะท้านต่างกับผมทั้งหนาวและปวดหูคัก ในโบสถ์ใกล้มหาวิทยาลัยครับ กลับมาแล้ว ผมยังไม่เข้าใจสัญญลักษณ์ แรดบนสเกตบอร์ด แล้วเขียนว่า..ระวัง!! ข้างรถรางไฟฟ้าในเมลเบิร์น ขอบคุณ ภาพประกอบจาก ปกหนังสือ ABORIGINAL MELBOURNE: THE LOST LAND OF THE KULIN PEOPLE By Gary Presland http://helendoxfordharris.com.au/archives/category/harriland/publications และ ภาพประกอบการพิมพ์ http://www.ecoversity.org.au/pfr/cloak_files/kulin.htm
.................. ฝากคลิปนี้ไว้ด้วยครับ เรื่องอีสานๆ.. https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=IjSJpZvWAP0 แถม "บ้านหนูบ่ได้บ้านนอกเด้อ"^^ มีคือบ้านเขาบ่.. V V เพราะเราท่านคือเพื่อนประชาชน สวัสดี จาก เสี่ยวไทบ้าน
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ตะกอง | ||
![]() |
||
ตัวตะกองในพื้นที่ลำตะคองอำเภอปากช่องและเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ยังพอมีให้เห็นช่วยกันอนุรักษ์ลูกหลานจะได้เล่าขานอย่าให้เหลือเป็นตำนาน"ตะกองแห่งลำตะคองปากช่องเขาใหญ่" |
||
View All ![]() |
นิยามคำว่าคอร์รัปชั่น | ||
![]() |
||
นำเสนอโดยผอ.กฤช เอื้อวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง(กกต.กลาง) |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |