*/
<< | กันยายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |
ร่มบ่อสร้างเป็นสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการทำร่มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ชาวบ้านเกือบทุกคนของหมู่บ้านนี้มีฝีมือในการทำร่มให้สวยงามและคงทน เฉกเช่นที่บรรพชนได้ถ่ายทอดเอาไว้ โดยมีเรื่องราวความเป็นมาของการทำร่มบ่อสร้าง ดังนี้ เมื่อประมาณร้อยกว่าปีก่อน มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ “พระอินถา” อาศัยอยู่ในสำนักวัดบ่อสร้าง ท่านได้เดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ จนครั้งหนึ่งท่านได้ธุดงค์ไปในประเทศพม่าได้มีชาวบ้านนำกลดมาถวาย เพราะเห็นว่าท่านไม่มีกลด หลังจากที่ให้ศีลให้พรกับผู้นำมาถวายแล้ว ท่านก็ได้เอ่ยถามชาวพม่าผู้นั้นว่า กลดนี้เจ้าเป็นคนทำหรือ เจ้าช่วยพาอาตมาไปดูซิว่ามีแหล่งทำอยู่ที่ใด หลังจากที่พระอินถาได้เดินทางไปที่หมู่บ้านทำกลดในพม่า ท่านได้เห็นชาวบ้านทำร่มใช้กางกันแดดกันฝนได้ ซ้ำยังเห็นว่าชาวบ้านทำร่มขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเป็นร่มในพิธีงานทางศาสนาต่างๆ ด้วย แต่ร่มเหล่านี้ทำด้วยกระดาษสา ติดด้วยยางและทาน้ำมันเพื่อกันแดดและฝน ท่านจึงได้ศึกษาถามเอาจากชาวบ้านถึงวิธีและขั้นตอนการทำร่ม
พอเดินทางกลับมาถึงวัดก็เลยชักชวนชาวบ้านช่วยกันหาอุปกรณ์และสอนวิธีการทำให้กับชาวบ้าน ในระยะแรกมีการทำขึ้นเพื่อใช้ก่อน ต่อมาจึงให้ชาวบ้านนำไปขายได้เงินเป็นจำนวนมาก กระทั่งในระยะหลังเริ่มมีชาวบ้านจากหมู่บ้านต่างๆ ในอำเภอสันกำแพงหันมาทำร่มกันมากขึ้น มีการดัดแปลงจากร่มกระดาษสามาเป็นร่มที่ทำจากผ้า ส่งขายกันในเมือง บางก็มีการเปิดร้านจำหน่ายเอง จนชื่อเสียงของร่มบ้านบ่อสร้างเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น
การทำร่มของบ้านบ่อสร้างมีวัฒนาการที่เจริญมากขึ้นเรื่อยๆ จากอดีตชาวบ้านเคยใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เรียนรู้การทำร่มอย่างง่ายๆ ส่วนหนึ่งเพื่อไว้ใช้งานในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่งทำเพื่อขาย เป็นที่รู้กันว่าร่มที่ทำขึ้นจากบ้านบ่อสร้างมีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนใคร ด้วยรูปลักษณ์สวยงามและการใช้วัสดุที่คงทนจึงทำให้ชื่อเสียงของร่มบ้านบ่อสร้างเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จนมีผู้เห็นความสำคัญนำมาพัฒนาวิธีการทำร่มให้ทันสมัยขึ้น จากงานฝีมือของท้องถิ่นมาสู่ระบบอุตสาหกรรมค้าขายอย่างเต็มตัว
เวลาที่เราเข้ามาเที่ยวชมการทำร่มของบ้านบ่อสร้างจะสังเกตได้ว่า แทบทุกบ้านของที่นี่มีการทำร่มและนำออกจำหน่าย จนชื่อเสียงของบ้านบ่อสร้างเป็นที่รู้จักมักคุ้นของนักท่องเที่ยว ในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเดินทางมาเที่ยวชมการสาธิตทำร่มของศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มแห่งนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสถึงวิถีการทำร่มและพัดอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังสามารถที่จะทดลองทำร่มได้ด้วยตัวเอง
ที่ศูนย์อุตสาหกรรมการทำร่มบ้านบ่อสร้างมีการสาธิตการทำร่มทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การทุบต้นสาเพื่อนำมาทำเป็นกระดาษสา นักท่องเที่ยวสามารถทดลองทำกระดาษสาได้ ในส่วนของการทำร่มจะมีโรงกลึงหัวร่ม โรงประกอบโครงร่ม และโรงหุ้มร่มอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กัน เมื่อเสร็จขั้นตอนต่างๆ ของการทำร่มแล้ว ก็จะนำร่มเหล่านั้นไปวาดรูปที่โรงวาด ในโรงวาดรูปนี้จะมีบรรดาศิลปินผู้วาดรูปนั่งประจำตามโต๊ะสาธิต
วิธีการวาดรูปลงบนร่มและพัดโดยไม่มีการร่างลวดลาย ถือได้ว่าเป็นความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมกันมายาวนาน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจะสนใจวิธีการวาดรูปกันมากทีเดียว นักท่องเที่ยวบางคนถึงกับยอมลงทุนให้วาดรูปลงบนเสื้อที่ตนสวมใส่เลยก็มี โดยที่โรงวาดรูปจะมีแบบต่างๆให้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกได้
ชาวบ้านที่มาทำร่มที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มบ้านบ่อสร้างหลายคนอาศัยความชำนาญที่ได้ทำมานาน บางคนอยู่มาตั้งแต่เป็นเด็กหญิง จนปัจจุบันโตเป็นสาวเต็มตัวเลยก็มี เช่นเดียวกับลุงศรีมูล สาอ้าย ผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่กับการทำร่มมายาวนานถึง ๒๑ ปี ลุงศรีมูลบอกว่า ตนเองเป็นชาวบ้านบ่อสร้างโดยกำเนิด ยึดอาชีพการทำร่มต่อจากบิดาที่เป็นสล่าทำร่ม ก่อนที่จะมาทำร่มอยู่ที่ศูนย์อุตสาหกรรมการทำร่มแห่งนี้ ได้เคยไปรับจ้างทำร่มอยู่ตามที่ต่างๆ ก่อนที่จะมาอยู่ที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ คุณลุงยังบอกอีกว่า การทำร่มเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต้องอาศัยเวลาและความอดทนในการทำเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่าห่วงสำหรับอนาคตของการทำร่ม เพราะมีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการทำร่มดั่งเช่นบรรพชนในอดีตได้ถ่ายทอดไว้ให้
เมื่ออุตสาหกรรมการทำร่มของบ้านบ่อสร้างได้รับความนิยมและมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเดินทางมาเที่ยวที่บ้านบ่อสร้างมากยิ่งขึ้น ทางราชการจึงมีดำริจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพงขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖
แม้ว่าทิศทางการทำร่มของบ้านบ่อสร้างจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่ในความรู้สึกนึกคิดของคนทำร่มทุกคนของบ้านบ่อสร้างแล้ว พวกเขายังหวังที่จะเห็นอนาคตของร่มที่ทำจากบ้านบ่อสร้างแห่งนี้เจริญ รุ่งเรืองอยู่เป็นสัญลักษณ์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอสันกำแพงต่อไป
(นสพ.เชียงใหม่นิวส์ ฉบับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |