*/
<< | มกราคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
อธิบดีกรมศิลปากร เผยเข้าแจ้งความดำเนินคดีผู้รับเหมารื้อถอนอาคารศาลฎีกาข้อหาทำลายโบราณสถานแล้ว
เครดิตเนื้อหา และภาพ Surayoot Wiriyadamrong, Pongkwan Lassus ,Vasu Poshyanandana, Jee Della Gatta
อ้างอิง โพสต์ทูเดย์ออนไลน์ 5 ม.ค. 56 สมาคมอีโคโมสไทย จัดเสวนา เรื่อง “หยุดรื้อโบราณสถาน ศาลฎีกา…” ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อธิบดีกรมศิลปากร, ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม, สมาคมนักผังเมืองไทย, หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรมศิลปากร และอาจารย์จากคณะสถาปัตฯ จุฬาฯ เข้าร่วมเสวนาเพื่อเสนอแนวทางและสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคัดค้านการรื้อถอนอาคารศาลฏีกา
นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้เข้าแจ้งความ เอาผิดผู้รับเหมาที่ดำเนินการรื้อถอนอาคารศาลฎีกา ตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ 2504 ตามมาตรา 4 แล้วเมื่อช่วงเช้าวันที่ 5 ม.ค. ที่ สน.ชนะสงคราม ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการส่งหนังสือแจ้งถึงประธานศาลฎีกาหลายครั้ง เพื่อขอให้ดำเนินการชะลอการรื้อถอนอาคารศาลฎีกาแต่ไม่เป็นผล
ผู้ร่วมสัมมนา เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2556 (หมายเหตุ ถ้าข้อมูลรายชื่อผิดพลาด หรือตกหล่น ขออภัย มา ณ ที่นี้ครับ...จากผู้เผยแพร่) นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางภารนี สวัสดิรักษ์ สมาคมนักผังเมืองไทย นางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส สมาคมสถาปนิกสยามฯ นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรมศิลปากร ผศ.ดร. พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วสุ โปษยะนันทน์
(ต่อ) นายสหวัฒน์ กล่าวว่า อาคารศาลฎีกาดังกล่าวถือเป็นโบราณสถานสำคัญของไทย เป็นโบราณสถานทางด้านสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ดังนั้นจึงถือเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมศิลปากรโดยตรงในการที่จะเข้าปกป้องอนุรักษ์ เรื่องอันเกี่ยวกับทรัพย์สินมรดกอนุรักษ์ของชาติ โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ 2504 ในการดำเนินการ
น.ส.มาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรมศิลปากร กล่าวว่า แม้ประธานศาลฎีกาจะไม่ได้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนอาคารศาลฎีกาเป็นโบราณสถานแห่งชาติ แต่โดยตามหลักของ พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น อำนาจหน้าที่ในการตัดสินว่าสถานที่ใดจะเป็นโบราณสถานหรือไม่นั้นเป็นสิทธิ์ขาดของกรมศิลปากร ทั้งนี้การขึ้นทะเบียนหรือไม่นั้นมีผลทางกฎหมายโดยแตกต่างกันที่เพียงบทลงโทษ
"ในกรณีหากมีการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน การรื้อถอนใดใดโดยพละการ อธิบดีกรมศิลปากรจะมีอำนาจขาดเข้าไประงับการรื้อถอนได้ทันที หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่ในกรณีที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน อธิบดีจำไม่สามรถเข้าไปดำเนินการสั่งห้ามรื้อถอนได้ทันที หากยังฝ่าฝืนและมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน 7 แสนบาท"น.ส.มาลีภรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้อธิบดีกรมศิลปากรจะเข้าแจ้งความดำเนินคดีผู้รับเหมารื้อถอนอาคารศาลฎีกา แต่ปรากฎว่าร้อยเวร รับแจ้งความพร้อมลงบันทึกประจำวัน แต่ไม่กล้าเข้าดำเนินการจับกุมได้ทันที โดยรอให้ผู้บังคับบัญชา หัวหน้ากลุ่มสอบสวนเข้ามาดำเนินคดีกับผู้รับเหมาในวันที่ 7 ม.ค. นี้แทน
นางภารนี สวัสดิรักษ์ ผู้แทนเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม กล่าวว่า อาคารศาลฎีกาถือเป็นสมบัติของชาติ ไม่ใช่บ้านของศาล เรื่องนี้จึงไม่ใช่เพียงเรื่องระหว่างศาลฎีกากับกรมศิลปากร แต่เป็นเรื่องของประชาชนในสังคมด้วย ศาลควรเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย
ทั้งนี้การดำเนินการรื้ออาคารศาลฎีกา ได้รับการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2531 นับระยะเวลาจนถึงปัจจุบันกว่า 25 ปี (ข้อมูลเรื่องเวลา ในบทความโพสต์ทูเดย์ออนไลน์นี้ จากแหล่งข่าวบอกว่า "25 ปี คือ มติ ครม. ที่อนุมัติโครงการก่อสร้าง แต่สำหรับ กรมศิลปากร ได้แจ้งกับทางศาลฎีกาว่า อาคารดังกล่าวเป็น โบราณสถาน ใน พ.ศ. 2552) ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมศิลปากรได้ดำเนินการส่งหนังสือเรียนไปยังประธานศาลฎีกา ระบุถึงอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และถือเป็นโบราณสถาน ซึ่งอาคารที่ถูกดำเนินการรื้อถอนนั้นอายุราวกว่า 70 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ นายสิทธิศักดิ์ วนะกิจ ฝ่ายโฆษกศาลยุติกรรม กล่าวว่า จะมีการพูดคุยกับกรมศิลปากรอีกครั้งภายในต้นปีนี้ เพราะการรื้อถอนอาคารได้ผ่านมติครม. และได้รับการอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเมื่อเดือน ก.ย. 2555 ที่ผ่านมาแล้ว พร้อมทั้งยังได้ดำเนินการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาเอกชนในการดำเนินการรื้อถอนอาคารดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
ภาพประกอบบทความ (ซ้าย) ภาพเปรียบเทียบทัศนียภาพท้องสนามหลวงในปัจจุบัน (ภาพบน) กับทัศนียภาพที่จำลองขึ้นหากมีการสร้างอาคารศาลฎีกาหลังใหม่ ที่มีความสูงมากถึง ๓๑.๗ เมตร (ภาพล่าง) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางภูมิทัศน์อย่างมากต่อวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง (ขวา) ภาพขยายอาคารศาลฎีกา
บรรยากาศภายในงานเสวนา ที่มีผู้สื่อข่าวให้ความสนใจ เพราะเกี่ยวกับ มรดกชาติโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตอันใกล้ ถ้าไม่มีการแก้ไขอย่างทันท่วงที....
วิทยากร และเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกรมศิลปากร วันนี้มี Take action แจ้งความดำเนินคดีกับผู้รื้อถอนแล้วครับ แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะรีรอ อะไรบางอย่างไม่ทราบครับ ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่จริงจังแบบนี้ เท่ากับ มรดกชาติไทยเรา ตกอยู่ในอันตรายอย่างแน่นอนครับ คอยติดการทำงานของกระบวนการทางกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจกันครับ
สื่อ และประชาชน ให้ความสนใจกันครับ
อ. ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มีคำถามที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์มากในหลายที่ หลายแห่งที่ท่านไปร่วมเสวนาอยู่สม่ำเสมอ
อ.วสุ โปษยะนันทน์ (ผู้ดำเนินรายการเสวนา) กำลังให้สัมภาษณ์สื่อทีวี อยู่ครับ หมายเหตุ :: อ.วสุ โปษยะนันทน์ :: สถาปนิก ระดับชำนาญการพิเศษ (๘ วช.เดิม) กลุ่มสถาปัตยกรรม สำนักสถาปัตยกรรม
ชมวีดีโอ ที่อาจารย์ หลายท่านออกในรายการ เนชั่นครับ ตามลิ้งก์
หมายเหตุ : บทความย้อนหลัง "เหตุผลที่ควรระงับ การรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา (โดยทันที)" โดย ชาตรี ประกิตนนทการ ม.ศิลปากร http://www.facebook.com/photo.php?fbid=254402251355830&set=t.100004878248310&type=3&theater
องค์กรใหญ่ มีความเห็นไม่ตรงกัน ขาดคนกลางมาไกล่เกลี่ย ...การอนุรักษ์มรดกชาติ มีปัญหา http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-2
ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ (เฮือกสุดท้าย) คงจะหายสาบสูญ ถ้าเราไม่ช่วยกัน (ส่งเสียง) http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/24/entry-1
"คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ ค้านศาลฎีกาทุบอาคารเก่า ชี้ไม่มีใครกล้าทัดทานเพราะกลัวอำนาจศาล" ตามลิ้งก์ http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/23/entry-1
"ข่าวเดียวกัน ออกมาพร้อมๆ กันจาก 2 หน่วยงาน แต่สับสน" http://www.facebook.com/photo.php?fbid=256110064518382&set=t.100004878248310&type=3&theater
กรมศิลป์ ฝ่ากระแส เสือกระดาษ ไร้อำนาจ “เดินหน้า ค้านทุบศาลฎีกา” จาก Thairathonline http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2012/12/25/entry-1
มีบทความเดิม ข้อเสนอในการปกป้องสมบัติชาติ มรดกแห่งประวัติศาสตร์ ที่เคยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin&date=27-12-2012&group=1&gblog=109
ไร้“ราก”ไร้“ประวัติศาสตร์”ใครจะปกป้อง“กลุ่มอาคารศาลฎีกา”โดนรื้อไปมากแล้ว แล้วมรดกชาติจะเป็นยังไง http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/02/entry-1
รื้อถอน ทุบทำลายกันจริงครับ “กลุ่มอาคารศาลฎีกา” น่ากังวลใจหลายประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกชาติ http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2013/01/04/entry-3 ท่านใดที่สนใจ ร่วมเป็นเครือข่าย ปกป้อง มรดกเมือง มรดกของเรา เข้าไปกด like ที่ Facebook “Urban Heritage – มรดกเมือง มรดกของเรา” ตามลิ้งก์ http://www.facebook.com/UrbanHeritageThai
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |