สวัสดีครับ
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ความง่าย อร่อย และราคาถูก ทำให้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จนอาจจะพูดได้ว่า "ทุกวันนี้อาหารที่คนทั่วโลกรับประทานมากที่สุดคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" ก็คงไม่ผิดจากความเป็นจริงเท่าไหร่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีต้นกำเนิดมาจาก ประเทศญี่ปุ่น โดยนาย อันโด โมโมฟุกุ ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มบริษัท นิชชิน วันที่ 25 สิงหาคน ปี 1958 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นประสบกับปัญหาข้ามยากหมากแพง ทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องทานแต่อาหารที่ราคาถูกและสะดวกในการทำหรือหาทาน ซึ่งก็คือ ราเมน วันหนึ่งของฤดูหนาวในโอซาก้า นาย อันโด ได้เห็นสภาพของชาวญี่ปุ่นที่ยืนเข้าแถวยาวเหยียด เพียงเพื่อรอทานราเมนแค่ 1 ชาม เพื่อเป็นอาหารคลายหนาว ทำให้นาย อันโด ได้พยายามคิดค้น ราเมนที่ สามารถทำทานเองที่บ้าน เก็บไว้ได้นาน และราคาถูก ขึ้นมา จนในที่สุดก็ได้ "ชิกิ้นราเมน" ขึ้นมา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในตอนแรก ทำโดยนำเส้นราเมนที่ได้จากผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่(โทริคะระ) ทอดในน้ำมันปาล์มเพื่อไล่ความชื้นออกไป ทำให้เก็บไว้ได้นานและแค่เพียงเติมน้ำร้อน เส้นก็จะคืนสภาพเดิมสามารถกินได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่มเติมเลย เพราะว่าเส้นผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่แล้ว (ในตอนแรก ชิกิ้นราเมนมีราคาอยู่ที่ 35 เยน) ในปัจุบัน ชิกิ้นราเมน ก็ยังเป็นรสที่ขายดี ที่ยังคงความอร่อยมาอยู่ถึงทุกวันนี้ ต่อมา นาย อันโด ก็ได้ ก่อตั้งบริษัทนิชชินขึ้นมา และได้พัฒนาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติและรูปแบบอื่นๆขึ้นมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น "คัพเมน" ที่ได้แนวคิดมาจากการทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของคนอเมริกา (ในตอนแรกนั้นภาชนะที่ทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะเป็น ชาม แต่เพียงอย่างเดียว) สำหรับ คัพเมน(หรือคัพนู้ดเด้ล)นั้นยังมีเกร็ดที่มาของความนิยมอยู่ คือในตอนแรกนั้น ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การลักพาตัวประกันโดยกลุ่มต่อต้านจักรวดิญี่ปุ่น ที่จังหวัดนากาโน่ ในเวลานั้นได้มีการถ่ายทอดสดตลอดเวลา ต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 10 วัน อีกทั้งยังเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ญี่ปุ่น(90%) และนอกจากภาพเหตุการณ์การละกพาตัวประกันแล้ว ยังมีภาพของคนที่กำลังทาน คัพนู้ดเด้ลในสถานที่เกิดเหตุด้วย (ปกติคนญี่ปุ่นจะทานข้างกล่องหรือ เบ็นโตะ แต่ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์นั้น เป็นช่วงอากาศหนาวเย็น ทำให้ข้าวกล่องแข็งจนทานไม่ได้) คนญี่ปุ่นจึงได้รู้จัก คัพนู้ดเดิ้ล ในวงกว้าง และเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกจนเป็นอาหารที่คนทานมากที่สุดในโลก (ถ้าจะย้อนประวัติของ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คงต้องย้อนไปถึง "โลเมียง" ซึ่งเป็นภาษาจีน ที่แปลว่า "บะหมี่ที่ต้มแล้ว" บะหมี่แบบจีนเป็นอาหารที่นิยมอย่างมากในเมืองซับโปโร และพื้นที่อื่นของประเทศญี่ปุ่น)
สำหรับประเทศไทย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้เข้ามาราวปี พ.ศ. 2514-2515 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อแรกในประเทศคือ "ซันวา" ที่มีต้นแบบมาจากบะหมี่ญี่ปุ่นที่ต้องต้มก่อนทาน ส่วน "มาม่า" เป็นยี่ห้อที่ 3-4 ของประเทศไทย หาใช่ ยี่ห้อแรกอย่างที่ใครๆเข้าใจกัน "มาม่า" จัดเป็น "Generic Name" หรือชื่อสามัญที่คนไทยในปัจจุบันใช้เรียก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งแสดงถึงPowerของยี่ห้อ มาม่าได้เป็นอย่างดี (จากการสำรวจของบริษัท ซินโนเวต ในปี 2007 มาม่าเป็นตามสินค้าอันดับ 2 ที่ผู้บริโภคชาวไทยนึกถึง ส่วนอันดัน 1 คือ โนเกีย) ผู้ให้กำเนิดมาม่าคือ บริษัท ไทยเพรซิเด้นท์ ฟูดส์ จำกัด(มหาชน) หรือ TF ซึ่งอยู่ใต้ร่มธงของเครือสหพัฒน์ (บริษัทไทยเพรซิเด้นท์ ฟูดส์ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2515) สาเหตุที่มาม่าได้รับความนิยมอย่างมากและต่อเนื่องนั้น ถ้าวิเคราะห์ตามหลัก 4Ps คือ Price ราคาที่ ถูก คือ 5 บาท โดยที่ทางสหพัฒฯได้เน้นที่ กลยุทธ์ Pricing เป็นอย่างมาก ทำให้มาม่ามีราคาขายแค่ 5 บาท เป็นเวลานานถึง 10 ปี Place มาม่ามีวางจำหน่ายทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านโชห่วย ห้างสรรพสินค้า หรือแผงหาบเร่ อีกทั้งยังครอบคลุมทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ที่ยากจะเข้าถึง(หมู่บ้านบนเขาหรือเกาะกลางทะเล) Product มาม่ามีหลายรสชาติให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น รสหมูสับ ต้มยำ ฯลฯ และมาม่ามักจะเป็นผู้นำทางด้านการคิดค้นรสชาติใหม่ๆเสมอ Promotion มาม่ามีโปรโมชั่นการขายสินค้าที่หลายหลากและต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ลด แลก แจก แถม ซึ่งเปลี่ยนสลับกันอย่างต่อเนื่องมาตลอด นอกจากนี้ มาม่า ยังใช้กลยุทธ์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Added) ด้วยวิธีการนำเสนอในรูปแบบ ถ้วยและชาม ที่เน้นความสะดวกในการทาน และยังสร้างภาพลักษณ์ให้กับยี่ห้อด้วยการ ออก แบบถ้วยกระดาษ ที่เน้นถึงความอนุรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ปัจจุบัน คนไทยทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 6 ล้านซองต่อวัน และเป็นการทานมาม่ามากกว่า 50%
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในยุคศตวรรษที่ 50 จนถึงปัจจุบัน และยังคงเป็นอาหารที่มีคนรับประทานในปริมาณต่อหน่วยต่อบุคคลมากที่สุด(ในกลุ่มชนชั้นกลางและกลางล่าง) อีกทั้งยังเป็นอาหารที่มีทานแทบจะทุกชนชาติ ทั้งๆที่ถือกำเนิดมาแค่ครึ่งศตวรรษ จึงสามารถพูดได้ว่า "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นอาหารแห่งยุคศตวรรษที่ 50 จนถึงปัจจุบัน"
พูดมาตั้งเยอะล่ะ เรามาทำมาม่าทานกันดีกว่าครับ เมนูนี้ ผมได้ความคิดจาก การบ่นของเพื่อนสนิทผมคนนึง ที่บ่นว่า "แค่มาม่ามรึงใช้เวลาทำ ครึ่งชั่วโมง" ผมก็เลย อืมมม...ก็เห็นบอกว่าอยากทานอาหารที่ ง่ายๆแต่มีวิธีทำที่พิเศษไม่ใช่หรอ? มาม่าเมนูนี้ ผมดัดแปลงให้เป็นอาหาร Fission Food สไตล์ East meet West ครับเป็นอีกรูปแบบที่พัฒนามาจาก มาม่าที่ผมได้ทำให้เพื่อนทานในวันนั้น
ส่วนผสมก็มี 1 มาม่า 2 ไข่ไก่ 3 มะเขือเทศ 4 กะหล่ำปลี 5 แครอท 6 ถั่วลันเตา 7 เก๋ากี่ 8 ดอกไม้จีน 9 รากบัวจีน 10 หูฉลาม(แบบกึ่งสำเร็จหาซื้อได้ที่ ซอนอิศรานุภาพในเยาวราช) 11 หมูสับ 12 ซีอิ๋ว 13 ครีมซุปเบส นำส่วนผสมที่ 3-9 มาต้มให้สุก จากนั้น แยกไข่ขาวออกจากไข่แดง ใส่ไข่ขาวลงไป และน้ำ หูฉลามลงไปต้ม แล้วตักออกมา เอาครีมซุปเบส 5 ช้อนพูน ละลายน้ำ (ครีมซุปเบสหาซื้อได้ที่ วิลล่า มาเก็ต) เอาไข่แดงลงไปลวก ให้พอสุกนิดๆ(นิดๆจริงๆ) แล้วเทครีมซุมที่ละลายน้ำแล้วเทลงไป (ตรงนี้ใช้ไฟกลางหรืออ่อน) หมั่นคน จนสุก ทีนี้มาดูการจัดใส่จานกันนะครับ นำเส้นมาม่าใส่ตรงกลางจาน (ถ้าใครชอบเส้นแบบนิ่มๆก็เอาเส้นไปลวกก่อน) วางรากบัวที่ตรงกลาง ทั้งข้างบนและข้างล่างเส้น วางถั่วลันเตากับมะเขือเทศแบบนี้(ตักจากหม้อที่ต้น) ตักน้ำซุปและเครื่องใส่ โป๊ะไข่แดงไว้ตรงกลาง วางหูฉลามรอบๆไข่แดง แค่นี้เป็นอันเสร็จแล้วครับ การจัดจานอาจจะจัดแบบอื่นก็ได้นะครับ ตามแต่ชอบครับ แต่ถ้าอยากให้สวยจริงๆก็ควรจะตักเอาเครื่องใส่ที่ด้านล้างของเส้น ก่อน เวลาจัดจานจะได้แค่ใส่ซุปลงไป เครื่องจะได้ไม่รบกวนความสวยด้านบน ครับ ^^ ส่วนผสม ก็ดัดแปลงกันได้ตามสบายเลยครับ ใครชอบอะไรก็ใส่ลงไปได้เลยครับ ตามแต่ชอบครับ ^0^ ลองๆทำทานกันดูนะครับ
ปล. - ลองๆทำทานกันดูนะครับ ^0^ - วันนี้ออกแนวกึ่งการตลาด+ชวนชิมนิดๆครับ ^^ - ใส่มาม่าแบบแข็งๆลงไป แต่พอเจอน้ำร้อนราดแป๊บๆก็นิ่มๆครับ แต่โดยส่วนตัวแล้วผมชอบทานมาม่าแบบแข็งๆอะครับ รู้สึกมันกรอบๆดี - ทีนี้ก็รู้กันแล้วนะครับว่า ผู้ชายเจ้าชู้ทานมาม่าแบบไหน 55555
อาหารแห่งยุคศตวรรษที่ 50 จนถึงปัจจุบัน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มิถุนายน 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |