ข่าวการเสียชีวิตของ นักเรียนเตรียมทหาร(นตท.)ภัคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือน้องเมยเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในเครือข่ายสังคม ผมมีโอกาสได้พบกับอดีตนายทหารคนหนึ่งซึ่งสนิทสนมกันมาก ได้ซักถามถึงเรื่องระบบซ่อมของโรงเรียนเตรียมทหาร(รร.ตท.) แล้วเก็บมาเขียนเพื่อให้พิจารณาก่อนที่จะวิพากษ์กันไปด้วยโทสาคติหรือฉันทาคติครับ เขา(นายทหารที่ผมอ้างถึง)เป็นอดีต นตท.รุ่น๗ ตอนนั้น รร.ตท.อยู่ที่ถนนพระราม๔ติดกับสนามมวยลุมพินีและใกล้สวนลุมฯ รับผู้จบมศ.๓(ม.๖เดิม)เข้าเรียน๒ปีก่อนแยกไปเรียนต่อในโรงเรียนเหล่าที่เลือกไว้ตอนสมัครสอบ พล.ต.ปิยะ สุวรรณพิมพ์ เป็นผู้บัญชาการโรงเรียน(ผบ.รร.ตท.) ปีนั้น(๒๕๐๗)มีผู้สมัครหกพันกว่าคน คัดรอบแรกไว้ห้าร้อยคน คัดรอบสองด้วยการทดสอบร่างกาย ตรวจโรคและสัมภาษณ์แล้ว รับไว้เพียง ๓๖๓ คน(รวมโควต้านักเรียนนายสิบ นักเรียนจ่า นักเรียนจ่าทหารเรือ แล้ว) ด้านวิชาการ รร.ตท. มี”กองวิชาการ”รับผิดชอบการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ มีหมวดวิทยาศาสตร์ หมวดคณิตศาสตร์ หมวดอักษรศาสตร์ หมวดกฎหมายและสังคมศาสตร์ รับผิดชอบในแต่ละสาขาวิชา โดยจัดนักเรียนเข้าชั้นเรียน ๑๐ ตอน (ตอนคือหน่วยทหารซึ่งใหญ่กว่าหมู่แต่เล็กกว่าหมวด ในที่นี้หมายถึงห้องเรียน) ด้านการปกครอง มี”กองการปกครอง”รับผิดชอบในการปกครอง นตท.ทั้งสองชั้นปี รับผิดชอบการฝึก สอน/อบรมวิชาทหาร แบบธรรมเนียมทหาร การฝึกภาคสนามและดูงาน มีหน่วยรองเป็น”กอง” ๔กอง แต่ละกองมี ๓ “หมวด” มีนายทหาร/นายตำรวจเป็นผู้บังคับกอง(ผบ.กอง) และผู้บังคับหมวด(ผบ.มว.) กอง ๑และ๒ ปกครอง นตท.ชั้น๒ กอง๓ และ๔ ปกครอง นตท.ชั้น๑ การปกครองนอกจากจะมีนายทหารแล้ว รร.ตท.ยังใช้ระบบให้ นตท.ปกครองกันเองอีกทางหนึ่งเหมือนร.ร.เหล่า โดยให้ นตท.ชั้น๒ จำนวนหนึ่งซึ่งมีลักษณะทหารดี ผ่านการประเมินของเพื่อนร่วมรุ่นและได้รับความเห็นชอบจาก “กองการปกครอง” เป็นนักเรียนปกครองหรือนักเรียนบังคับบัญชาและแต่งตั้งให้เป็น “หน.นักเรียน” “นักเรียนหน.กอง” และ“นักเรียนหน.มว.” มีหน้าที่ช่วยเหลือ ผบ.กอง และ ผบ.มว.ในฝึก อบรม ปกครองดูแล นตท.ชั้นเดียวกัน และชั้น๑ เรื่อง“ระบบซ่อม”ของ รร.ตท.นั้นผู้เล่าชี้แจงว่า มีความสัมพันธ์กับ“ความเป็นผู้นำ”(Leadership)1 “ระบบเกียรติศักดิ์”(Honor System)2 และ“จริยธรรมทหาร”(Military Ethics)3 ซึ่ง พล.ต.ปิยะ สุวรรณพิมพ์ ผบ.รร.ตท. ได้นำแบบอย่างมาจากรร.นายร้อยทหารบกสหรัฐฯ ภารกิจหลักของ รร.ทหารของทุกชาติทุกภาษาคือนอกจากผลิตนายทหารให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการแล้ว ยังต้องปลูกฝังให้มีความเป็นผู้นำ ที่ดีด้วย ผู้เล่าเชื่อว่า รร.ตท. ปัจจุบันก็ยังยึดถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
“การซ่อม” หรือในข่าวใช้คำว่า “การธำรงวินัย” นั้นผู้เล่าบอกว่าวัตถุประสงค์หลักคือ “การปรับปรุงลักษณะทหาร” ซึ่งจำแนกเป็นวัตถุประสงค์ได้หลายประการดังนี้ ประการแรก ปรับปรุงสภาพร่างกายของ นตท.ให้มี ความอึด/ความอดทน ความเข้มแข็ง/แข็งแรง ผึ่งผาย/ทะมัดทะแมงสมกับเป็นทหาร ปรับปรุงด้านจิตใจให้มีความอดทนอดกลั้นต่อความยากลำบากความไม่ชอบใจไม่พอใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกโอกาสระหว่างอยู่ในระบบซ่อม เช่นการถูกลงโทษโดยมิได้ทำความผิด(มีผู้ทำผิดแต่ไม่กล้ารับทำให้มีการลงโทษรวมทั้งหมด กรณีเช่นนี้มีความเกี่ยวพันกับระบบเกียรติศักดิ์ด้วย ดูเชิงอรรถ2) ประการที่สอง ให้รู้จักระเบียบวินัย กฎ ข้อบังคับต่างๆของ รร.ตท. สิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ ประการที่สาม ให้รู้จักสายและช่วงชั้นการบังคับบัญชา ต้องรู้ว่าใครคือผู้บังคัญชาโดยตรง ใครคือผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ใครคือผู้ใหญ่ ต้องรู้ว่าใครมีอำนาจหน้าที่เหนือตน และการปฏิบัติตนต่อบุคคลเหล่านั้นให้ถูกต้องเหมาะสม ประการที่สี่ ให้รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะด้วยความสามัคคีกลมเกลียวกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาตัวรอดตามลำพัง ประการที่ห้า ให้รักเกียรติยศเกียรติศักดิ์ของความเป็น นตท. ไม่ทำอะไรให้เกิดความเสื่อมเสียมาถึง รร.ตท.หรือหมู่คณะ จะเห็นได้ว่า รร.ตท.ใช้การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ การปลูกฝังระเบียบวินัยและการปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมทหาร ผ่านทางระบบซ่อม ถ้า นตท.ใหม่วินัยยังย่อหย่อน ยังไม่แม่นยำเรื่องแบบธรรมเนียมฯก็จะถูกลงโทษด้วยการซ่อม ด้วยการให้ออกกำลังกาย ซึ่งถือว่าเป็นการลงทัณฑ์ของทหาร4 ในข้อทัณฑกรรม หรือการทำโทษโดยใช้แรงงานของตนเอง การปรับปรุงลักษณะทางทหารใช้เวลาระยะหนึ่ง ผู้เล่าบอกว่า ประมาณ๓หรือ๔เดือน เมื่อ นตท.ใหม่ปฏิบัติตนได้เหมาะสมดีแล้ว นักเรียนบังคับบัญชาได้พาน้องใหม่ทั้งหมดไปซ่อมใหญ่ในสวนลุมพินี ก่อนจะมีการยกเลิกการซ่อม แม้การปรับปรุงลักษณะทหารจะยุติลงไปแล้ว แต่การลงทัณฑ์ด้วยการให้ออกกำลังกายก็ยังมีอยู่และก็เรียกว่าถูก “ซ่อม”เหมือนกัน มีทั้งการซ่อมเดี่ยว ซ่อมหมู่ ซ่อมทั้งชั้น(ทั้งรุ่น) และไม่จำกัดว่าต้องเป็น นตท.ชั้น๑ เท่านั้น นตท.ชั้น ๒ ถ้าทำผิดก็ถูกซ่อมได้เหมือนกัน ผู้ที่สั่งลงโทษมีได้ทั้ง นักเรียนบังคับบัญชาและนายทหารปกครอง ปกติ นตท.ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งไม่ได้เป็นนักเรียนบังคับบัญชา ไม่มีหน้าที่ซ่อมหรือลงโทษ นตท.ชั้น๑ ถ้าแอบมาซ่อม(แดก/คาบ ตามศัพท์แสลงที่ใช้กัน)นั่นก็เพราะอาจจะเป็นเพื่อนกัน(แต่สอบเข้ามาได้ต่างปีกัน) หรือคุ้นเคยกัน จึงแอบมาซ่อมฉันท์เพื่อน ผู้เล่าบอกว่ามันก็มีบ้างที่ไม่รู้จักกันมาก่อนแต่อยากแสดงออกถึงความเป็นรุ่นพี่เพื่อให้รุ่นน้องรู้จักหรือจำได้ เพราะน้องใหม่จะจำรุ่นพี่ได้แม่นยำก็เฉพาะนักเรียนบังคับบัญชาเท่านั้น ถึงอย่างไรการซ่อมของรุ่นพี่นี้ไม่หนักหนาแต่เป็นเรื่องสนุกสนานกันเสียมากกว่า ระบบซ่อมมีข้อดีมากอยู่ก็จริงแต่ข้อเสียก็มีไม่น้อย ข้อดีคือทำให้นักเรียนใหม่มีร่างกายและจิตใจสมเป็นทหาร เป็นคนมีระเบียบวินัย ไม่เป็นคนรุ่มร่าม ซุ่มซ่าม รู้จักสายและช่วงชั้นการบังคับบัญชา รู้การควรไม่ควร เป็นต้น ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือได้หลอมรวม นตท.ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะทุกคนเหน็ดเหนื่อยและผ่านความยากลำบากมาด้วยกัน ทำให้เกิดความผูกพันกัน ไม่มีการแบ่งแยกทางสังคมใดๆ เช่นอาชีพของพ่อแม่ ฐานะทางครอบครัว สถานศึกษาเดิม ภูมิลำเนาเดิม ถึงขนาดที่ว่า รร.ตท.กำหนดให้ นตท.ที่มีรถส่วนตัวมารับ-ส่ง ต้องรับหรือส่งนอกเขตโรงเรียน เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกแปลกแยกทางฐานะ การหลอมรวมเช่นนี้ทำให้ นตท.เข้ากันได้ดีในเวลารวดเร็ว และสานสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของกองทัพและกรมตำรวจ ความสัมพันธ์ในรุ่นและรวมถึงระหว่างรุ่นกลายเป็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เป็นเขยเป็นดองกันในภายหลังก็มาก บรรยายภาพ:ไม่ไหวก็หยุดได้ เช่นถ้าถูกสั่งให้ยึดพื้น๑๐๐ครั้ง แต่ทำได้เพียง๕๐ครั้งแล้วทำต่อไม่ไหว ร่างกายมันสั่งให้หยุดเอง เช่นนอนฟุบลงไป คนสั่งเขาก็รู้ว่าทำได้แค่นี้ เพราะเขาเคยผ่านมาก่อน ต้องให้พักหรือติดกันไว้ก่อน จริงๆมันเป็นเช่นนั้น นตท.ที่ยืนในภาพน่าจะเป็นห้วหน้านักเรียนซึ่งควบคุมการซ่อมใหญ่ในสวนลุมพินี ตำแหน่งสุดท้าย ผบ.ทหารสูงสุด ข้อเสียของระบบซ่อมคือ ทำให้บางคนทนรับระบบนี้ไม่ได้ต้องยอมพ้นสภาพความเป็นนักเรียน การซ่อมที่ไม่คำนึงถึงสภาพร่างกายของผู้ถูกซ่อมว่าจะรับได้หรือไม่ หรือการซ่อมแบบผิดปกติจากที่มีการกำหนดไว้ (เช่นให้ออกกำลังกายในท่าที่เป็นอันตราย การซ่อมในเวลาวิกาลซึ่งควรเป็นเวลาพักผ่อน การให้หยิบจับสิ่งปฏิกูล ฯลฯ) หรือการทำร้ายร่างกาย อาจเป็นเหตุให้ผู้ถูกซ่อมเกิดการป่วยเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือใช้การซ่อมหมู่ เป็นการลงโทษเหมารวมทั้งผู้ทำผิดและไม่ได้ทำ
กรณีการเสียชีวิตของน้องเมย ทำให้สังคมส่วนใหญ่มีความเชื่อดังนี้ ประการแรกน้องเมยไม่น่าจะมีร่างกายผิดปกติมาก่อนเข้าเป็น นตท. เพราะได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบสมรรถภาพร่างกายมาก่อน คือการตรวจโรคและทดสอบร่างกายในตอนสอบคัดเลือก ประการที่สอง น้องเมยถูกซ่อมนอกแบบแผนหรือเกินขอบเขตที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เช่นถูกสั่งให้ทำอะไรที่ผิดธรรมชาติ(เช่นทำท่าหัวปักดิน) เป็นเวลานานๆ ประการที่สาม น้องเมยมถูกซ่อมที่เป็นการทำร้ายร่างกาย หรือถูกซ้อม นอกจากนี้สังคมยังตั้งข้อสงสัยว่าการเจ็บป่วยจนเสียชีวิตของน้องเมย เกิดจากการกระทำของใคร นักเรียนบังคับบัญชาหรือ นตท.ชั้น๒ ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการซ่อม ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องคอยผลการสอบสวนต่อไป สำหรับระบบซ่อม นักเรียนใหม่ของ รร.ตท.นั้น ผู้เล่ากล่าวให้ความเห็นในตอนท้ายว่ายังมีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างพัฒนาการทางทหารให้กับนักเรียนใหม่ และไม่น่าจะถูกยกเลิกไป แต่อาจจะต้องปรับปรุงในเรื่องขอบเขตของการซ่อม อำนาจหน้าที่ของผู้ซ่อม และมาตรการกำกับดูแลการซ่อมให้ชัดเจนรัดกุมยิ่งขึ้น ต้องมีการอบรมให้ความรู้ผู้มีหน้าที่ในการซ่อมในด้านต่างๆ เช่น สรีรวิทยา เป็นต้น
เชิงอรรถ: 1 ความเป็นผู้นำ ภารกิจหลักของรร.ทหารทั่วไปทั้งไทยและเทศคือ การสร้างภาวะผู้นำให้แก่นักเรียนทหาร รร.นายร้อยทหารบกสหรัฐฯให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก คนอเมริกันซึ่งทำงานเกี่ยวกับความมั่นคง ถ้าต้องพูดถึงสถาบันแห่งนี้แล้ว มักพูดว่านี่คือแหล่งผลิตผู้นำทางการทหารให้กับประเทศ เพื่อยืนยันความจริงนี้โปรดอ่านบทความในเว็บที่แนบด้านล่าง https://www.psychologytoday.com/blog/head-strong/201703/developing-leaders-west-point 2 ระบบเกียรติศักดิ์ เป็นระบบที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกสหรัฐฯ มีมานานแล้ว (พล.ต.ปิยะ สุวรรณพิมพ์ได้นำแนวคิดนี้มาใช้กับ นตท.) มีกฎอยู่ ๔ ข้อ คือ ต้อง
นตท.ผู้ทำความผิดแล้วไม่ยอมรับผิด กลับนิ่งเสียก็เหมือนกับการโกหกเหมือนกัน
ผู้เล่าบอกว่าสมัยนั้น นตท.ที่ทุจริตในการสอบ ถือเป็นความผิดร้ายแรงมาก อาจถูกปรับให้สอบตก หรือถูกถอนทะเบียนความเป็นนักเรียนได้
กฎทั้งสามข้อแรกเป็นเสมือนศีลหรือข้อห้ามสำหรับ นตท. ปัจจุบัน รร.เหล่าได้นำระบบเกียรติศักดิ์ ไปใช้อย่างกว้างขวางและบางแห่งได้เพิ่มกฎขึ้นมาอีกเพื่อเป็นกรอบความประพฤติของนักเรียน 3 จริยธรรมทหาร จริยธรรมทหาร กล่าวโดยทั่วๆไปหมายถึงคุณธรรม หลักธรรม ที่ทหารควรประพฤติปฏิบัติ ด้วยการแสดงออกทั้งทางร่างกายและจิตใจจนเป็นที่ยอมรับของคน สังคม ประเทศชาติ แต่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก เช่นจริยธรรมที่ทหารควรมีในการสู้รบ คือ ความกล้าหาญ การยอมพลีชีพเพื่อชาติ ฯลฯ จริยธรรมที่ทหารควรปฏิบัติด้านการเมือง เช่น ทหารญี่ปุ่นจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง (ทหารไทย มีความคิดในเรื่องนี้ต่างออกไปนะครับ ทหารไทยมองว่าถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่ต้องการเข้าไปยุ่งกับการเมือง ตราบใดที่ประเทศมีปัญหาและแก้ไขไม่ได้ด้วยการเมือง ยกตัวอย่างการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของมวลชนเสื้อสี เป็นต้น) จริยธรรมกับคนร่วมสังคมทั่วๆไป เช่นเป็นสุภาพบุรุษ อ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติกับผู้หญิง ฯลฯ 4 การลงทัณฑ์ของทหาร มี ๕ ประการคือ 1. ภาคทัณฑ์ ( หรือการทำทัณฑ์บนนั่นเอง) 2. ทัณฑกรรม (เป็นการใช้แรงงานของผู้ทำความผิด เช่นให้ทำงานล้างห้องสุขา ให้ทำงานโยธา ให้อยู่เวรยาม ให้เดินทัณฑ์ในชุดสนามพร้อมอาวุธเครื่องสนามพร้อมเท่านี้เท่านั้นชั่วโมงเป็นต้น การให้ออกกำลังกายเช่นการวิ่งรอบสนาม การยึดพื้น การลุกนั่ง การสลับเข่า อนุโลมเป็นการลงทัณฑ์ชนิดนี้เพราะถือเป็นการใช้แรงของผู้ทำผิดเอง) 3. กัก(ให้อยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ไม่ให้ไปไหน วิธีนี้จะมีเรื่องระบบเกียรติศักดิ์เข้ามาเป็นตัวควบคุม) 4. ขัง(ให้อยู่ในที่ควบคุมเช่นกองรักษาการณ์) และ 5. จำขัง(ขังในเรือนจำทหาร) รร.ตท.ได้นำการลงทัณฑ์ของทหารมาปรับใช้กับ นตท. แต่ไม่ได้นำทัณฑ์ในข้อ 4 (ขัง) และข้อ 5 (จำขัง) มาใช้ เพราะยังไม่มีสภาพเป็นทหารตามกฎหมาย แต่มีบทลงโทษมาทดแทนคือการตัดคะแนนความประพฤติ ซึ่งถ้ามีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะมีผลต่อการเลื่อนชั้นเรียน (คือถ้าสอบเลื่อนชั้นได้ปรับเป็นสอบตก) หรือมีผลต่อสถานภาพความเป็นนักเรียน(คือถ้าสอบตกถูก จะถูกถอนทะเบียน) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ธันวาคม 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |