(ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ) ทำไมประเทศที่ใช้ระบบรัฐสวัสดิการหรือมีการใช้จ่ายด้านสวัสดิการในระดับสูงจึงเก็บภาษีเงินได้และภาษีการผลิตการค้า
(เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม) แรงมาก ?
ภาษีเหล่านี้ลดรายได้สุทธิของผู้ลงแรงผู้ลงทุน และทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น
(เพิ่มรายจ่าย) ทำให้ผู้ลงแรงผู้ลงทุนยากจนลง หรือไม่ได้รับผลตอบแทนเท่าที่ควร
และทำให้กำลังใจที่จะทำงานและลงทุนลด โดยเฉพาะในกิจการใหม่ ๆ ที่ยังไม่แน่ใจในผลประกอบการ และเมื่อสินค้าและบริการแพงก็แข่งขันกับต่างประเทศได้ยาก ภาษีที่น่าจะเก็บแรง ๆ คือภาษีที่ดิน เพราะอุปทานที่ดินมีความยืดหยุ่นน้อยมาก ผลิตเพิ่มได้ยาก ส่วนที่ผลิตเพิ่มส่วนมากคือสิ่งปรับปรุง (improvements) การที่ที่ดินมีมูลค่า/ค่าเช่าสูงขึ้นส่วนใหญ่ทีเดียวเกิดจากความเจริญของชุมชนอันเนื่องจากจำนวนประชากรและการมีโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกสบายความรวดเร็วปลอดภัยในการดำเนินกิจการและการอยู่อาศัยและพักผ่อน การบันเทิง สะสมกันมากขึ้นดีขึ้นจากกิจกรรมของบรรดาผู้ทำงานผู้ลงทุนทั้งหลาย และกิจกรรมของรัฐที่ใช้ภาษีจากราษฎร ซึ่งมันกลับไปเพิ่มมูลค่า/ค่าเช่าที่ดิน เมื่อภาษีที่ดินต่ำ ก็มีการเก็งกำไรกักตุนที่ดินมาก ราคา/ค่าเช่าที่ดินสูงเกินควร ที่ดินของชาติได้รับการทำประโยชน์น้อย ผลผลิตน้อย ทำให้คนหางานทำยาก ค่าแรงต่ำ ผลเสียร้ายแรงของการเก็งกำไรที่ดิน คือ
ก่อให้เกิดวิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่เป็นระยะๆ เรื่อยมา กิจการล้ม คนงานถูกปลด
ครั้งสุดท้ายที่สหรัฐฯ สามปีมาแล้ว และลามไปทั่วโลกถึงบัดนี้ยังมีอาการหนัก ในเดนมาร์กมีพรรคยุติธรรม (http://www.retsforbundet.dk ) ที่สนับสนุนระบบภาษีเดี่ยวจากที่ดินตามแนวของเฮนรี จอร์จ นักปฏิรูปอเมริกัน (สมัยนี้ควรเพิ่มภาษีหรือค่าชดเชยสองประการที่เกี่ยวกับแผ่นดินโลกด้วย คือ ค่านำทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาใช้หมดเปลืองไปในการผลิต และ ค่าก่อมลพิษออกสู่โลก ทั้งนี้เพื่อรักษาให้โลกเป็นที่อยู่ที่ทำกินได้ยั่งยืนต่อไป) แต่ก็น่าเสียดายที่อิทธิพลของฝ่ายเจ้าของที่ดินยังมีอยู่มาก ส่วนที่มีผู้เห็นด้วยกับการเก็บภาษีที่ดิน
แต่เห็นว่าภาษีที่ดินจะให้รายได้แก่รัฐน้อยไป Prof. Mason Gaffney มีคำตอบอยู่ที่
The Hidden Taxable Capacity of Land: Enough and to Spare http://economics.ucr.edu/papers/papers08/08-12old.pdf จาก
www.utopiathai.webs.com |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |