เศรษฐศาสตร์ที่สอนที่เรียนกันผิดศีลธรรมหรือขาดธรรมาภิบาลกันเป็นส่วนมาก
ลองพิจารณาข้อความนี้ (ของผมเอง) “ถ้าภาษีที่ดินต่ำ ค่าแรงก็จะต่ำด้วย เพราะคนรวยจะสามารถถือครองที่ดินไว้ได้มากๆ โดยหวังราคาที่จะสูงขึ้น การเก็งกำไรกักตุนที่ดินทำให้ที่ดินแพงและกลายเป็นของหายาก ไปไหนๆ ก็เจอแต่ที่ดินรกร้างแต่มีเจ้าของแล้ว ที่ดินที่ไม่ค่อยได้ทำประโยชน์มีมากถึง 70% ของที่ดินที่ถือครองกันอยู่ แปลว่าได้ทำประโยชน์ไม่ถึง 1 ใน 3 ดังนั้นการผลิตของชาติจึงย่อมมีน้อย การทำงานก็มีน้อยตามไป แรงงานพื้นฐานต้องว่างงาน แย่งกันหางานทำ ค่าแรงถูกกดต่ำ มิหนำซ้ำการเก็งกำไรซื้อขายที่ดินเป็นต้นเหตุให้เกิดฟองสบู่อสังหาฯ เป็นระยะๆ เรื่อยมา แม้ขณะนี้ก็รับผลกระทบกันทั่วโลก เกิดความเสียหายสุดคณนา”
ถ้าเรารู้ผลร้ายของการเก็บภาษีที่ดินต่ำไป และผลร้ายของการเก็บภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตและแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ แล้วเราไม่หาทางแก้ไข นั่นคือเราผิดศีลธรรมหรือขาดธรรมาภิบาล ใช่หรือไม่? โดยเฉพาะคือนักเศรษฐศาสตร์และอาจารย์เศรษฐศาสตร์
เฮนรี จอร์จเจ้าตำรับภาษีเดี่ยวจากที่ดินของสหรัฐฯ กล่าวไว้ในคำสรรเสริญเสรีภาพ หรือ Ode to Liberty ที่ซานฟรานซิสโก ในวันชาติสหรัฐฯ 4 ก.ค. ค.ศ.1877 - http://schalkenbach.org/library/henry-george/ode-to-liberty.html ว่า “ฯลฯ ฯลฯ การปรุงปรับ (adjustment) ขั้นปฐมทางสังคมของเราเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม โดยการยอมให้มนุษย์ผู้หนึ่งได้ครอบครองที่ดิน ซึ่งมนุษย์ผู้อื่นต้องอาศัยดำรงชีวิตอยู่บนแผ่นดินนั้นและจากแผ่นดินนั้น เราก็ได้ทำให้พวกเขากลายเป็นทาสของผู้นั้นในระดับหนึ่งซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อความก้าวหน้าทางวัตถุดำเนินไป นี่คือการเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy) อย่างแยบยล ซึ่งกำลังสกัดเอาผลแห่งการทำงานเหนื่อยยากจากมวลชนในอารยประเทศทุกแห่งไปโดยวิธีที่พวกเขาไม่รู้สึก ซึ่งกำลังสถาปนาระบบทาสที่ยากแค้นขึ้นและไร้ความหวังยิ่งขึ้นแทนที่ระบบทาสที่ถูกทำลายลงไปแล้ว กำลังทำให้เกิดระบบกดขี่ทางการเมืองขึ้นจากเสรีภาพทางการเมือง และในไม่ช้าก็จะต้องเปลี่ยนสถาบันประชาธิปไตยให้กลายเป็นอนาธิปไตย ฯลฯ ฯลฯ”
ใน Econ 4 : เมื่อนักเศรษฐศาสตร์หันมาตั้งคำถามต่อเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก โดย : กุลลินี มุทธากลิน มุมมองบ้านสามย่าน 5 มกราคม 2555
“เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รวมตัวกันเดินออกจากห้องเรียน (walk out) ในชั้นเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ 101 (Economics 101) วิชาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ที่สอนโดยศาสตราจารย์แมนคิว (Gregory Mankiw) นักเศรษฐศาสตร์มหภาคชื่อดังเจ้าของตำราพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ที่นักเรียนเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกต้องอ่าน
ข้อความตอนท้ายของบทความของ ดร.กุลลินี ที่ควรทราบเพิ่มเติมมีดังนี้
“แล้วเศรษฐศาสตร์แนวใหม่นี้มีพื้นฐานอะไรบ้าง กลุ่ม Econ 4 ต้องการเศรษฐศาสตร์ (รวมถึงนักเศรษฐศาสตร์) ที่มีใจเปิดกว้าง เป็นศาสตร์ที่มุ่งไปสู่ความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ในระยะยาว ไม่ใช่การแสวงหาผลกำไรและผลผลิตสูงสุดในระยะสั้น แต่ต้องการศาสตร์ที่ตระหนักถึงการถนอมรักษาโลกไว้สำหรับลูกหลานและผู้คนในอนาคต ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้สามารถบรรลุได้ด้วยเปลี่ยนแปลงความเข้าใจที่ผู้คนมีต่อเศรษฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงวิถีที่นักเศรษฐศาสตร์ถูกฝึกฝนและเรียนรู้มา “มาตรการรูปธรรมที่ กลุ่ม Econ 4 ต้องการให้มีดำเนินการ ได้แก่ การเผยแพร่แนวความคิดใหม่ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่สาธารณชนนอกห้องเรียนในวงกว้าง เพื่อจะกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เช่น การจัดทำวีดิทัศน์ที่มีความยาวขนาดสั้นซึ่งสามารถเข้าดูได้แบบออนไลน์ สนับสนุนให้มีการปรับปรุงวิชาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ (Reboot Econ 101) โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงแนวคิดหลักๆ ที่สอนกันในวิชานี้ ซึ่งต้องมีการผลิตเอกสารการสอนใหม่ที่ครอบคลุม หลักสูตรการเรียน (syllabus) ตำราและเอกสารประกอบการเรียน power points สื่อวีดิทัศน์ การเปิดคอร์สออนไลน์ และเผยแพร่ฐานข้อมูลเหล่านี้ในวงกว้าง รวมถึงการฝึกฝนผู้สอนที่จะสอนวิชานี้ เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีความต้องการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์แนวใหม่เหล่านี้ “การปิดฉากการผูกขาดความคิดมิติเดียวในทางเศรษฐศาสตร์ยังต้องกระทำผ่านการเปลี่ยนวิธีการฝึกฝนนักศึกษาระดับปริญญาเอกสำหรับนักศึกษาที่สนใจเศรษฐศาสตร์ทางเลือก เช่น การให้ทุนในการทำวิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษาระดับหลังปริญญาเอก และการสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการวิจัย การเปิดตัววารสารวิชาการที่สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์แนวใหม่ได้ “นอกจากนี้ สิ่งที่กลุ่ม Econ 4 เห็นว่ามีความสำคัญอย่างมาก คือ การสร้างจริยธรรมในวิชาชีพเศรษฐศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่เพียงเพื่อขจัดการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หากแต่เพื่อบูรณาการเอาจริยธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ “สำหรับท่านที่สนใจแนวคิดของกลุ่ม Econ 4 สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://econ4.org/ ”
และบทความที่ควรอ่าน อย่างน้อยที่สุดก็บทคัดย่อ 9 บรรทัด คือ The Need For a New Economic Paradigm ที่ www.progress.org/thacker.htm ขอบคุณครับ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กรกฎาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |