โดย: ผู้จัดการออนไลน์
คอลัมน์นอกหน้าต่าง
ดรามาทางการเมืองทำนองเดียวกันจะเกิดขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่ในระยะท้ายๆ ของกระบวนการถอดถอนซึ่งพวกพรรคเดโมแครตกำลังเริ่มต้นเปิดขึ้นมาเล่นงานประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อยู่ในเวลานี้? มันก็น่าสงสัยอยู่ ในสมัยของนิกสันนั้น ในพรรคเดโมแครตมีฝ่ายอนุรักษนิยม ส่วนในพรรครีพับลิกันยังคงมีพวกสายกลาง การประนีประนอมกันยังไม่ได้ถูกถือว่าเป็นเรื่องเสื่อมเสียสาหัสจนไม่พึงกระทำ แต่ในวอชิงตันที่แตกแยกแบ่งขั้วกันอย่างสูงเช่นทุกวันนี้ ข้อตกลงแบบรอมชอมเห็นชอบพร้อมกันทั้งสองพรรคกลายเป็นของหายากไปเสียแล้ว และทรัมป์ก็เข้าเทคโอเวอร์พรรครีพับลิกัน ในลักษณะที่ส่งเสริมสนับสนุนการแสดงความจงรักภักดีเป็นการส่วนตัวมากกว่าจงรักภักดีต่อพรรค อีกทั้งกำลังทำให้พวกผู้นำมากบารมีในพรรคนี้เป็นเพียงแค่คนตามแห่ที่ทำอะไรไม่ได้ “ในอดีตที่ผ่านมาในสหรัฐฯ พวกสมาชิกพรรคการเมืองของสหรัฐฯจะตัดตัวพวกเขาเองออกจากเหล่าผู้นำที่เสื่อมเสียน่าอับอาย เพื่อสงวนรักษาพรรคและชื่อเสียงเกียรติคุณของพวกเขาเองเอาไว้” อาจารย์ นิค สมิธ ซึ่งสอนวิชาจริยธรรมและปรัชญาการเมือง อยู่ที่มหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ กล่าว “แต่เวลานี้ประธานาธิบดีทรัมป์ดูเหมือนสามารถยึดครองพรรคเอาไว้ได้อย่างเป็นการส่วนตัว –คล้ายๆ กับเป็นผู้นำของลัทธิพิธีเป็นเจ้าลัทธิพิธีมากกว่าเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ—จนกระทั่งประตูทางออกต่างๆ ที่เคยมีได้ถูกปิดเอาไว้เสียแล้ว และพรรคก็เปลี่ยนโฉมแปลงร่างจนกระทั่งเป็นภาพลักษณ์ของเขา” คณะตัวแทนระดับท็อปที่ไปเข้าพบนิกสันคราวนั้น นำโดย วุฒิสมาชิกแบร์รี โกลด์วอเตอร์ แห่งรัฐแอริโซนา ซึ่งเคยเป็นตัวแทนรีพับลิกันลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1964 ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากโกลด์วอเตอร์ ที่ดำรงฐานะเป็นผู้อาวุโสคนหนึ่งของพรรคมาอย่างยาวนานแล้ว ยังมีวุฒิสมาชิกฮิวจ์ สกอตต์ แห่งเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นชาวพรรครีพับลิกันที่รู้จักกันว่าสนับสนุนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองอย่างแข็งขัน กับ ส.ส.จอห์น โรดส์ แห่งแอริโซนา ทั้ง 2 ต่างเป็นผู้นำของรีพับลิกันในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรตามลำดับ พวกเขาบอกกับนิกสันว่า ไม่มีเสียงรีพับลิกันมากพอที่จะยังคงโหวตให้เขาและรักษาเขาให้พ้นจากการถูกถอดถอนแล้ว ภายหลังที่ 2 วันก่อนหน้านั้นได้มีการเปิดเผยพวกเทปบันทึกเสียงปี 1972 ซึ่งเป็นหลักฐานที่ขัดแย้งตรงกันข้ามกับการแสดงท่าทีปฏิเสธอย่างดึงดันมาโดยตลอดของนิกสัน ที่ว่าตนเองไม่ได้มีบทบาทใดๆ ทั้งสิ้นในการพยายามปกปิดอำพรางคดีแอบลักลอบเข้าไปล้วงความลับในอาคารวอเตอร์เกตของพวกเดโมแครต “เขาเที่ยวประกาศมาโดยตลอดว่าตนเองบริสุทธิ์ แล้วฉับพลันทันใดนั้นพวกเขาก็ได้หลักฐานนี้ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขากำลังโกหกหลอกลวงมาโดยตลอด” โธมัส ชวาร์ตซ์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัย แวนเดอร์บิลต์ อธิบาย และเสริมว่า “เวลานี้เรายังไม่ได้มีสิ่งที่เทียบเท่ากับกับอะไรแบบนั้น” ในปัจจุบัน ทรัมป์ยังมีกำแพง “ไฟร์วอลล์” อย่างหนึ่งที่คอยสกัดขัดขวางสิ่งที่จะเข้ามาโจมตีเล่นงานเขา ไฟร์วอลล์ที่ว่านี้อยู่ในรูปของพวกรีพับลิกันซึ่งมองว่า การคัดค้านเขานั้นเป็นอันตรายกว่าการสนับสนุนเขา แคล จิลล์สัน อาจารย์รัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเมโธดิสต์ บอก พร้อมกับหยิบยกสภาพที่การเมืองมีการแบ่งแยกแตกขั้วกันอย่างชัดเจนเพิ่มขึ้นทุกทีในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ มาเป็นเหตุผลประการหนึ่งในการอธิบายว่า ทำไมพวกเจ้าหน้าที่รีพับลิกันส่วนใหญ่จึงจะยังคงยึดติดกับทรัมป์ “ตราบใดก็ตามที่ฐานะของพวกเขาเองยังไม่ได้ตกอยู่ในอันตราย” “สำหรับสมัครพรรคพวกในรัฐสภาของประธานาธิบดีผู้นี้แล้ว หลักที่ยึดถือกันก็คือ ‘คนของพวกเราแม้ในวันเวลาที่เลวร้ายที่สุด ถึงยังไงก็ดีกว่าคนของพวกคุณในวันเวลาที่ดีที่สุด’” จิลล์สันกล่าว “พวกเขายึดมั่นกับทรัมป์อย่างเหนียวแน่นก็ด้วยความหวังที่จะให้ได้ (สิ่งที่รีพับลิกันต้องการ) อย่างเช่นการแต่งตั้งฝ่ายตุลาการ, การตัดลดภาษี” สภาพเช่นนี้จะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าความลำบากยุ่งยากของทรัมป์ไปถึงขั้นหนักหนาสาหัสจนเหล่าผู้นำในรัฐสภาคิดว่ามันจะกระทบกระเทือนพวกเขาและพรรคของพวกเขา จิลล์สันอธิบายต่อ “ทุกๆ คนในหมู่ชาวพรรครีพับลิกันในรัฐสภาต่างมีเรื่องไม่พอใจประธานาธิบดีผู้นี้กันทั้งนั้น แต่พวกเขาก็หวาดกลัวทรัมป์” จิลล์สันกล่าว “ถ้าเขาอ่อนแอลง ความกลัวนั่นก็จะถอยฉากไป” กรณีอื้อฉาววอเตอร์เกตบังเกิดขึ้นในช่วงเวลาทับซ้อนเหลื่อมล้ำกับตอนปลายๆ ของสงครามเวียดนาม ซึ่งได้ทำให้ทั้ง นิกสัน และทั้ง ลินดอน จอห์นสัน ประธานาธิบดีคนก่อนหน้าเขาที่มาจากพรรคเดโมแครต ต่างเสื่อมเสียชื่อเสียงหนัก ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากชี้ว่า ในยุคสมัยเช่นนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันแล้ว รัฐสภาจะมีอำนาจอิทธิพลมากกว่าฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติจะปรากฏตัวผู้นำซึ่งมีความโดดเด่นระดับชาติในจำนวนมากกว่า แคธลีน ฮอลล์ จามีสัน ผู้อำนวยการของศูนย์นโยบายสาธารณะแอนเนนเบิร์ก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เสนอว่า จากการเสียชีวิตในปีที่แล้วของ จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกจากแอริโซนา ทำให้ในปัจจุบันไม่มีชาวรีพับลิกันในรัฐสภาคนไหนเลยซึ่งสามารถที่จะเลียนแบบแสดงบทบาทอย่างโกลด์วอเตอร์ในปี 1974 ได้ “ใครล่ะที่จะไปเข้าพบและทำให้โดนัลด์ ทรัมป์เกิดความเชื่อถือ ทำให้เขาต้องยินยอมรับฟัง?” เธอตั้งคำถาม “มิตต์ รอมนีย์หรือ? มิตช์ แมคคอนเนลล์? ลินด์เซย์ เกรแฮม? ทรัมป์จะซัดกลับตอบโต้คนเหล่านี้ไม่ว่าคนไหนก็ตาม ในทันทีที่พวกเขาพูดอะไรซึ่งทำให้ทรัมป์รู้สึกไม่ถูกใจ” ทางด้านจิลล์สันมองว่า จุดใหญ่ใจความของความแตกต่างระหว่างตอนนั้นกับตอนนี้ ก็คือ โกลด์วอเตอร์เป็นตัวแทนของพวกผู้ออกเสียงอนุรักษนิยมกลุ่มเดียวกันกับนิกสัน และเป็นผู้มาส่งข้อความว่านิกสันกำลังสูญเสียความสนับสนุนจากผู้ออกเสียงเหล่านี้แล้ว แต่ทรัมป์นั้นมีความสัมพันธ์กับฐานเสียงของเขาในลักษณะที่แตกต่างไปจากนิกสัน จิลล์สันชี้ กล่าวคือ ฐานเสียงของทรัมป์มีความจงรักภักดีกับทรัมป์อย่างเป็นการส่วนตัว แทนที่จะอยู่จงรักภักดีกับพรรคในลักษณะสถาบัน ระหว่างช่วง 2 ปีแรกที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่ง หนึ่งในชาวพรรครีพับลิกันในรัฐสภาไม่กี่รายซึ่งจิกกัดทะเลาะกับทรัมป์อยู่เป็นประจำ ได้แก่ วุฒิสมาชิก เจฟฟ์ เฟล็ก จากรัฐแอริโซนา ผู้ซึ่งตัดสินใจอำลาไม่ลงรับเลือกตั้งสมัยต่อไปในปี 2018 ในคอลัมน์ทางหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เฟล็กเล่นงานพวกเพื่อนชาวพรรครีพับลิกันที่ยังคงอยู่ในรัฐสภาของเขาว่า บกพร่องล้มเหลวที่ไม่แยกขาดจากทรัมป์และไม่คัดค้านการลงรับเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งของทรัมป์ “เมื่อมาถึงจุดนี้ พฤติการณ์ของประธานาธิบดีระหว่างดำรงตำแหน่ง ไม่ควรทำให้เรารู้สึกประหลาดใจอะไรเลย แต่ความเสียหายย่อยยับอย่างแท้จริง (ที่เราควรประหลาดใจ) ได้แก่ความอดทนอดกลั้นของเราต่อพฤติการณ์ดังกล่าว” เฟล็กเขียนเอาไว้เช่นนี้ “จากประสบการณ์อันเจ็บปวดของสมัยประธานาธิบดีผู้นี้ บางทีผลลัพธ์อันโหดร้ายที่สุด –และยืนยาวที่สุด— ที่จะมีต่อประชาธิปไตยของเรา น่าจะเป็นว่า เมื่อถึงจุดใดจุดหนึ่งในอนาคตข้างหน้า เราอาจจะไปถึงขนาด (ชาด้าน) เลิกรู้สึกไปเลยว่ากำลังเจอกับเรื่องชวนช็อก”
เดวิด กิบส์ อาจารย์รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา ย้อนความหลังว่าอันที่จริงนั้นนิกสันชนะได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนถล่มทลายในปี 1972 กระนั้นคนจำนวนมากที่สนับสนุนเขา รวมทั้งชาวรีพับลิกันในรัฐสภาด้วย ก็ยังพร้อมที่จะหันกลับมาเล่นงานเขา เมื่อมีการเปิดโปงหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำมิดีมิร้ายวอเตอร์เกตเพิ่มทวีขึ้นทุกที ในทางตรงกันข้าม กิบบ์มองว่าเวลานี้สหรัฐฯถูกแบ่งแยกออกเป็นพวกเดโมแครตและพวกรีพับลิกันแบบขาดจากกันไปเลย ในลักษณะที่เรียกขานกันว่า เหมือนกับขาดจากกันด้วย “เส้นแบ่งชนเผ่า” (tribal lines) โดยที่ฐานเสียงของทรัมป์ยังคงจงรักภักดีต่อเขาเสมอไม่ว่าพวกวิพากษ์วิจารณ์เขาจะวาดภาพทรัมป์ออกมาในทางลบอย่างไรก็ตาม “ทั้งสองข้างต่างมีกำลังค่อนข้างคู่คี่กัน ไม่มีฝ่ายไหนสามารถที่จะปล่อยหมัดน็อกอีกฝ่ายหนึ่งลงไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นภาวะอัมพาตทางการเมืองขึ้นมา” กิบส์กล่าว “แนวความคิดแบบชนเผ่าถือพรรคถือพวกแบบสุดลิ่ม ทำให้การเกิดฉันทามติร่วมจากทั้งสองพรรคสองฝ่ายเพื่อถอดประธานาธิบดี กลาย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางเป็นจริง” ความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โตอีกประการหนึ่งหากเปรียบเทียบปี 1974 กับยุคปัจจุบัน ได้แก่ ความแพร่หลายกว้างขวางของช่องทางสื่อมวลชน และความก้าวหน้าของสื่อสังคม ซึ่งถูกใช้ทั้งโดยตัวทรัมป์เองและสมัครพรรคพวกของทุกๆ ฝ่าย เพื่อโปรโมตส่งเสริมวาระต่างๆ ของพวกเขาและโจมตีเล่นงานฝ่ายตรงข้ามให้กลายเป็นปีศาจร้าย นิกสันนั้นไม่มีสิ่งที่เทียบได้กับทีวีข่าว ฟ็อกซ์ นิวส์ ซึ่งคอยสนับสนุนเขา แล้วก็ไม่ได้มีสื่อสังคมอย่างทวิตเตอร์ เอาไว้ใช้เล่นงานพวกปรปักษ์ของเขาด้วยข้อหาว่าทรยศกบฎชาติและเป็นพวกนักล่าแม่มด ไม่เพียงเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์ด้านสื่อ “ส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสภาพแวดล้อมด้านข่าวซึ่งเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็วดุจความเร็วแสง หากเปรียบเทียบกับยุควอเตอร์เกต” เดวิด โคเฮน อาจารย์รัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอาครอน กล่าว “ข้อมูลข่าวสารล้วนๆ ที่โถมเข้ามาท่วมท้นเราในแต่ละวัน ก็เหมือนกับเรากำลังดื่มน้ำจากท่อน้ำดับเพลิง และมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกลืนกินมันทั้งหมดเข้าไป” (เก็บความจากเรื่อง GOP unlikely to reprise role it played in Nixons 1974 exit ของสำนักข่าวเอพี) ขอบคุณ MGR Online
คอลัมน์นอกหน้าต่าง
สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ
![]() |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2019 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |