อาจารย์ ดร.สมโชค กิตติสกุลนาม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “น้ำปลาผสมสูตรลดโซเดียม จากน้ำปลาและน้ำผักสะทอน” เป็นผลงานของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเอกโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ นางสาวสิรินยา ทองนุ่ม นางสาวจิตอนงค์ ผ่องแก้ว นางสาวนรินทร เลิศศรีนภาพร และนางสาวธมนวรรณ อั๋นประเสริฐ โดยมีอาจารย์ ดร.สมโชค กิตติสกุลนาม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การริเริ่มทำงานวิจัยชิ้นนี้เป็นรายวิชาภาคนิพนธ์ ซึ่งเป็นวิชาที่จะให้กลุ่มนักศึกษาทำงานวิจัยในหัวข้อที่ตนสนใจ นักศึกษากลุ่มนี้เข้ามาขอให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และมีแนวคิดอยากทำงานวิจัยเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มและมีปริมาณโซเดียมลดลง จึงระดมความคิดว่าจะทำงานวิจัยในเชิงใดที่จะเกิดประโยชน์และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยในช่วงเริ่มต้น นักศึกษาพยายามเสนอวัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติหลายชนิดที่ให้รสเค็ม จนได้วัตถุดิบที่มีความเหมาะสมที่สุด คือ ใบสะทอน ใบสะทอนหรือผักสะทอน (Millettia leucantha Kurz) เป็นไม้ยืนต้นพบได้ในบริเวณภาคอีสาน พืชชนิดนี้เป็นพืชทนเค็ม โตได้ในพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินเค็ม จากปัญหาดินเค็มทำให้บริเวณภาคอีสานมีปริมาณแร่ธาตุสูง โดยที่มีโซเดียมในปริมาณต่ำ ดังนั้น พืชที่เจริญเติบโตในบริเวณนี้จึงมีการดูดซึมแร่ธาตุจากดินเค็มไปเก็บสะสมในส่วนต่างๆ ของต้น และด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้มีการนำใบสะทอนอ่อนมาผ่านกระบวนการหมักโดยใช้จุลินทรีย์ทางธรรมชาติ เพื่อผลิตเป็นเครื่องปรุงรสที่เรียกว่า “น้ำผักสะทอน” เครื่องปรุงรสเค็มที่สามารถใช้ทดแทนน้ำปลาหรือน้ำปลาร้าในการปรุงอาหารได้ น้ำผักสะทอนนอกจากจะให้รสเค็มและมีปริมาณโซเดียมต่ำ ยังมีปริมาณโปรตีนที่มากกว่าน้ำปลาปกติถึง 3 เท่า จึงทำให้เกิดรสอูมามิ (Umami) หรือรสอร่อยในอาหารได้ งานวิจัยนี้จึงได้ทำการผสมน้ำปลาแท้กับน้ำผักสะทอน ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน เพื่อหาจุดที่ผู้บริโภคสามารถรับประทานได้โดยไม่รับรู้รสของน้ำผักสะทอน ซึ่งมีกลิ่นค่อนข้างแรง คล้ายน้ำปลาร้า ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มที่ไม่รับประทานปลาร้า อาจไม่พึงพอใจได้
งานวิจัยนี้ใช้เวลาศึกษาประมาณ 3-4 เดือน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำปลาผสมน้ำผักสะทอนที่มีปริมาณโซเดียมลดต่ำลงกว่าน้ำปลาปกติ 25% และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในด้านความเค็มและความสามารถในการชูรส งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเกษตรกรแม่คำพัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยให้ความอนุเคราะห์ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับน้ำผักสะทอนและตัววัตถุดิบน้ำผักสะทอนสำหรับใช้ในการทดลอง จากงานวิจัยชิ้นนี้ ถึงแม้น้ำปลาผสมน้ำผักสะทอนจะยังไม่ได้ขึ้นเลขทะเบียน อย. แต่จากข้อมูลการศึกษาคุณสมบัติในด้านต่างๆ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้สามารถต่อยอดจนเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าได้ในอนาคต ภายหลังงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน Novel Research and Innovation Competition (NRIC) 2019 ณ Universiti Sains Malaysia รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย การแข่งขัน NRIC เป็นการแข่งขันผลงานวิจัยและนวัตกรรมระดับนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งมีตัวแทนจากหลากมหาวิทยาลัยจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 58 ผลงานวิจัย โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการแข่งขันในปี 2562 นี้ด้วย การคิดค้นน้ำปลาผสมสูตรลดโซเดียม 25% จากน้ำปลาและน้ำผักสะทอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างภาวะโภชนาการที่ดีให้กับผู้บริโภค เนื่องจากรายงานก่อนหน้าพบว่า คนไทยส่วนใหญ่มีการบริโภคโซเดียมต่อวันมากกว่าตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ถึง 2 เท่า หรือประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการบริโภคโซเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs) เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เป็นต้น ดังนั้น หนึ่งในวิธีป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ คือ การสนับสนุนให้คนไทยหันมาเลือกรับประทานอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการและเลือกใช้เครื่องปรุงรสทางเลือกสุขภาพที่มีปริมาณโซเดียมต่ำลง ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มโรค NCDs ที่เป็นผลพวงมาจากการบริโภคโซเดียมเกินพอดีได้ ซึ่งเป็นการตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development goals) ของประเทศ ในเรื่อง การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and well-being) ของประชากรภายในประเทศที่จะนำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป
ขอบคุณ ไทยโพสต์ สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2019 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |