"จารึก" หลักหนึ่งที่พบในปราสาทร้าง ที่ตั้งอยู่สุดขอบบารายตะวันออก (East Baray) ในเขตเมืองพระนครหลวง เป็นจารึกสำคัญที่หลงรอดจากการ "ทำลาย" มาในแต่ละยุคสมัยที่สับสน ปราสาทร้างหลังนั้นมีชื่อภาษาเขมรว่า “ปราสาทตอว์ (Parsat Tor)”หรือ “ปราสาทราชสีห์” เนื่องจากคำว่า “ตอว์” หรือ “ตาว” ในภาษาเขมรแปลว่า“สิงโต” ครับ ชื่อปราสาทมากมายในประเทศกัมพูชาหรือในประเทศไทยก็ตาม ต่างก็ไม่พ้นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ จากประสบการณ์ ความจำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ หรือความประทับใจของผู้คนที่ “ย้าย” ชุมชนเข้ามาครอบครองเหล่าพื้นที่ใกล้ปราสาทที่สาบสูญและสิ้นมนตราแห่ง “อำนาจ” ของเหล่าอาณาจักรโบราณเหล่านั้น เช่นเดียวกับปราสาทตอว์ คงเพราะปราสาทตั้งอยู่ในที่รกร้าง ป่ารกชัฏเข้าปกคลุม รูปสลักสิงโตคู่ตรงทางเข้าคงเป็นที่มาของชื่อปราสาทแน่ ๆ ถึงจะไม่ใช่เหตุผลนี้ ก็ใกล้เคียงล่ะครับ !!! “จารึก” หลักสี่เหลี่ยมรูปทรงยอดกระโจมแบบหลักศิลาจารึก(เจ้า)ปัญหาของกรุงสุโขทัย หรือหลักกิโลเมตรเมืองไทย กล่าวถึงเรื่องราวแห่ง “ชัยชนะ” ของ “พระบรมโพธิสัตว์ชัยวรมัน - พระราชาผู้ปรารถนาความดีและประโยชน์อย่างยิ่งแก่มวลสัตว์โลก” ที่มีเหนือดินแดนตะวันตก มันเป็นหลักฐาน “สงคราม” และชัยชนะของพระองค์เหนือเหล่า “พระราชาตะวันตก” บนแผ่นดินสุวรรณภูมิ !!! อาณาจักรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากพระนครหลวงได้ขยายออกไปทางทิศตะวันตก และได้ปราบปราม ครอบครองหัวเมืองดั่งเดิมตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ มาจนถึงลุ่มน้ำแม่กลอง หัวเมืองที่ยังเป็นวัฒนธรรมแบบ "ทวารวดี" สอดรับกับหลักฐานจาก “จารึกปราสาทพระขรรค์” ในเมืองพระนครหลวง ที่กล่าวถึงการสร้าง “วิษัยนคร”(จังหวัด) ขึ้นใหม่ 5 – 6 แห่ง ภายหลังชัยชนะของพระองค์ “อาณานิคม” ใหม่ของมหาอาณาจักรกัมพุเทศเกิดขึ้นแล้วที่ปลายทิศอัสดง !!! “วิษัยนคร” ที่ถูกสถาปนานครขึ้นใหม่ 6 แห่ง มีนามเมืองตามจารึกว่า เมืองศรีชัยวัชรปุระ (เพชรบุรี) เมืองศรีชัยราชปุระ(ราชบุรี) เมืองศรีชัยสิงหปุระ(ปราสาทเมืองสิงห์) เมืองสุวรรณปุระ (เนินทางพระ- สุพรรณ ?) เมืองสุพรรณภูมิปุระ (อโยธยา ?) และเมืองศรีศัมพูกปัฏฏนะ (สระโกสินารายณ์) แต่ทว่า ชัยชนะของพระองค์ก็ไม่ได้ยั่งยืนนัก ปราสาทและบ้านเมืองทั้งหลายได้เสื่อมสลายลงในเวลาไม่ถึงศตวรรษ !!! “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” หรือชื่อใหม่ว่า ”เมืองโบราณโกสินารายณ์” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตามถนนสายบ้านโป่ง – กาญจนบุรี ในเขตตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ครับ จากภาพทางอากาศก่อนปี 2502 ทำให้เราได้เห็น“ผังเมือง” ของวิษัยนคร “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” อย่างชัดเจนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความกว้างเกือบเท่ากับความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ใจกลางเมืองเป็นที่ตั้งของ"จอมปราสาท" ปราสาทหิน (ศิลาแลงเป็นองค์ประกอบหลัก)ศิลปะแบบเขมรยุตจักรวรรดิบายนขนาดย่อม ซึ่งดูจากร่องรอยของหินทรายที่กระจัดกระจายอยู่โดยรอบ ที่ใช้เป็นวัสดสำหรับกรอบประตู หน้าต่าง ปราสาทประธานของ "จอมปราสาท" มีลักษณะแผนผัง "จัตุรมุข"เช่นเดียวกับปราสาทประธานที่ตาพรหมบาติ กำแพงแลง พนมบานอน ปราสาทเมืองสิงห์ ฯลฯ เป็นลักษณะของการก่อสร้างอาคารแบบ "อานุภาพ" ที่ตั้งของรูปประธาน "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี" ปริมณฑลของปราสาทอาจเคยมีการจัดวางระเบียงคดและโคปุระล้อมรอบ เช่นเดียวกับที่ปราสาทประธาน วัดมหาธาตุราชบุรีหรือที่ปราสาทเมืองสิงห์ครับ ปราสาทประธานแผนผังจัตุรมุข ตาพรหมแห่งโตนเลบาตี ที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ปราสาทประธานแผนผังจัตุรมุข ปราสาทกำแพงแลง ที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
ปราสาทประธานแผนผังจัตุรมุข ปราสาทพนมบานอน ที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ปราสาทประธานแผนผังจัตุรมุข ปราสาทเมืองสิงห์ ที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ปริมณฑลของปราสาทประธาน วัดมหาธาตุราชบุรี ที่มีร่องรอยของระบบโคปุระ - ระเบียงคดล้อมรอบ วิษัยนคร “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” มีสระน้ำอยู่ภายในตัวเมืองรวม 4 ทิศ เรียกกันตามความนิยมในยุคหลังว่า สระนาค สระจรเข้ สระมังกร และสระแก้ว ซึ่งก็แทนความหมายของมหาสมุทรทั้ง 4 ที่รายล้อม "เขาพระสุเมรุ" ที่สถิตแห่งพระพุทธเจ้าสูงสุดบนสรวงสวรรค์ หลังจากครอบครองดินแดนตะวันตก และสถาปนาวิษัยขึ้น 6 แห่ง เมืองขนาดย่อม “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” จึงได้ถูกสร้างขึ้นตามเส้นทางน้ำแม่กลอง เพื่อการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่าง “เมืองศรีชัยสิงหปุระ(ปราสาทเมืองสิงห์)” เมืองหลักของอาณานิคมนี้ กับ เมืองลวปุระ (ลพบุรี) และสุพรรณภูมิปุระ (อยุธยา - สุพรรณ) หัวเมืองใหญ่ของอาณาจักร “สงคราม” ที่ไม่มีรายละเอียด... การเข้ายึดครองแผ่นดินลุ่มน้ำแม่กลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คงไม่ได้ทำได้อย่างง่ายนัก จากหลักฐานที่เราพบ ทั้งที่ “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ”(โกสินารายณ์) และเมืองศรีชัยสิงหปุระ(ปราสาทเมืองสิงห์) คือ การค้นพบ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี" ทั้งสองแห่งครับ “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี” รูปสลัก “เปล่งรัศมี” อันแสดงถึงอานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ จะพบเฉพาะในบ้านเมืองหรือ “เขต (Areas)” ที่มีความขัดแย้งหรือสงครามที่รุนแรง เช่นเดียวกับที่ดินแดน “ตะวันตก” แห่งนี้ !!! เมื่อสิ้นอำนาจแห่งองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 วิษัยนครแห่งนี้ก็ยากแก่การป้องกันตัว “สงครามครั้งใหญ่” คงกลับมาเยือนอีกหลายครั้ง ทั้งเหตุการกระด้างกระเดื่องแยกตัวไม่ขึ้นกับกษัตริย์เมืองพระนครพระองค์ใหม่โดยเหล่ากมรเตงชคต (ผู้ปกครอง)เดิม หรือจากเหตุการ "แย่งชิงอำนาจ" ในอาณานิคม รวมทั้งประเด็นการตามทำลายล้าง “สัญลักษณ์แห่งอำนาจ” อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้าโดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ผู้ “ชิงชัง” ระบบ “ศาสนจักร”เดิม และที่คงลืมไม่ได้ก็คือ “เหล่าพระราชาตะวันตก” อาจหวนคืนกลับมา ทวงแผ่นดินแม่กลองกลับคืนไป !!! นคร “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” จึงปรากฏร่องรอยของความขัดแย้ง รูปเคารพ “เปล่งรัศมี” ที่สลักไว้ปรามเหล่าผู้คนในอาณาจักรให้เกรงกลัวและภักดี ก็ถูกทุบทำลายอย่างย่อยยับ “ปราสาทแห่งอานุภาพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7” ก็มีร่องรอยถูกทำลายให้พังทลายลง ดั่งเพื่อถมทับอำนาจเก่าให้สาบสูญจมธรณีไป ......ตลอดกาล !!! ซากเมืองโบราณ “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” ได้กลายมาเป็น เมืองโกสินารายณ์ มีการพัฒนามาโดยตลอด จากเมืองที่ถูกคลุมด้วยป่ารกกลายมาเป็นเมืองตามเส้นทางแห่งความเจริญ คลองชลประทานตัดผ่านเมือง กองหินที่เคยเป็นปราสาทถูกรื้อเอาหิน “ศิลาแลง” ไปใช้ประโยชน์ สระน้ำทั้งสี่ตื้นเขินและถูกไถถม คงเหลือแต่ สระโกสินารายณ์ ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือติดกับกำแพงเมืองเดิม แนวกำแพงเมืองทางทิศเหนือ กลายมาเป็นคันคลองที่มีถนนอยู่ด้านบน เมื่อมีการพัฒนาและขุดลอก”สระน้ำโกสินารยณ์” หลัง ปี 2519 เครือซิเมนต์ไทยได้เข้าดำเนินกิจการธุรกิจกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของ "จอมปราสาท" จัดสร้างเป็นโรงงานขนาดใหญ่ชื่อว่า “โรงงานสยามคราฟท์” ในเครือบริษัทเยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) จอมปราสาทจึงกลายไปเป็นเนินดินทำหน้าที่เป็นศาลพระภูมิประจำโรงงาน สระน้ำโกสินารายณ์ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลท่าผา ก็ได้ดำเนินการพัฒนาปรับเปลี่ยน "โบราณสถาน" ที่เหลืออยู่ ให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน
หากท่านต้องการเข้าไปเยี่ยมเยือน นครตะวันตกที่สาบสูญ อย่าง “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” ที่สระโกสินารายณ์ ก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของโรงงาน เข้าไปเยี่ยมชมเนิน "จอมปราสาท" ได้เลยนะครับ วันนี้ กรมศิลปากรกับภาคธุรกิจเข้าได้เจรจาตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หุหุ เมื่ออำนาจและเวลาผันผ่านไป คงทิ้งไว้แต่เศษซากแห่งศักดิ์ศรี เศษละออง กองทับ ใต้ปัฐพี ฝังความดี ความร้าย ให้จดจำ
แก้ไขบทความ มกราคม 2556 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
สำรวจบันทายฉมาร์ - บันทายทัพ | ||
![]() |
||
พาคณะ ร่วมเดินทางสำรวจ ถ่ายภาพ- เรียนรู้ ปราสาทบันทายทัพและปราสาทบันทายฉมาร์ ระหว่างวันที่ 4 6 พฤษภาคม 2560 ผู้ร่วมเดินทางรวม 18 คน |
||
View All ![]() |
งานวันผู้ไทโลก ครั้งที่ 8 | ||
![]() |
||
งานวันผู้ไทโลก เท่อที่ 8 "พระธาตุศรีมงคลงามสง่า บูซาเจ้าปู่มเหศักดิ์ โฮมฮักผู้ไทโลก" วันที่ 4 - 6 เมษายน 2560 ณ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |