ภาพถ่ายเก่า...ภาพหนึ่งของอาจารย์มานิต วัลลิโภดม ที่ถ่ายไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2504 แสดงภาพของปูนปั้นในศิลปะแบบขอม – เขมรโบราณ ระบุว่าเป็นปูนปั้นประดับปราสาทก่ออิฐหลังหนึ่งในจังหวัดโคราช เรียกว่า “กู่สีดา” หรือ “ปรางค์บ้านสีดา”(Prang Ban Sida)
ภาพ “ปูนปั้น” ที่ปรากฏในภาพถ่ายนั้น ได้ถูกกะเทาะอย่างบรรจง เลาะขโมยออกไปอย่าง”ตั้งใจ” ตั้งแต่ราวทศวรรษที่ 2510 หรือกว่า 50 ปีที่ผ่านมาครับ แต่กระนั้น ด้วยหลักฐานของซากปราสาทก่ออิฐ หรือที่เรียกว่า “กู่” ในภาษาตระกูลผู้ไท – ลาว ที่ยังคงเหลืออยู่ ผสมผสานกับภาพเก่าอันทรงคุณค่าของอาจารย์มานิต ก็เพียงพอสำหรับผม ที่จะนำใช้สร้าง “จินตนาการ” แบบ”นอกกรอบ” (ไม่น่าเชื่อ - ไม่ต้องเชื่อ) ให้ท่านผู้อ่านได้สัมผัสกับซากปราสาทร้างที่ไม่น่าสนใจในเมืองโคราชอีกแห่งหนึ่ง......อย่างมีชีวิต....ชีวา หากเมื่อได้มีโอกาสได้ไปท่องเที่ยวกันครับ ปรางค์บ้านสีดาหรือปรางค์สีดา ตั้งอยู่ที่วัดพระปรางค์สีดา ตำบลสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา เป็นอาคารที่ใช้หินศิลาแลงและอิฐเป็นโครงสร้างหลัก ลักษณะเป็นปราสาทหลังเดี่ยวทรงวิมาน -ศิขร(ะ) (ลดหลั่นขึ้นไป) แผนผังจัตุรมุข มีมุขซุ้มประตูสั้น ๆ ปิดทึบด้วยประตูหลอกทั้งสี่ด้าน มีกำแพงศิลาแลง และคูน้ำล้อมรอบ ลักษณะเป็นปราสาทแบบ “สรุก” หรือศาสนสถานตามคติความเชื่อแบบฮินดู(Hinduism) ประจำชุมชนโบราณ ที่มักจะมีบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) อยู่ทางด้านหน้าทิศตะวันออก ฐานไพทีของตัวปราสาทเป็นชั้นบัวลูกฟักศิลาแลงเพิ่มมุม (หยักที่มุม) ที่ชั้นฐานของตัวเรือนธาตุปราสาทก่อด้วยศิลาแลงขึ้นไปถึงชั้นเหนือประตู เหนือขึ้นไปก่อด้วยอิฐ ฉาบปูนและปั้นปูนขาวฉาบประดับทั้งองค์ปราสาท สภาพของปราสาทปรางค์บ้านสีดา ตามภาพถ่ายเก่าเมื่อปี 2504 ชั้นเรือนยอดที่ก่อด้วยอิฐน่าจะพังทลายลงมาทั้งหมดในยุคก่อนหน้า คงเหลือเพียงชั้นของเรือนธาตุกับปูนปั้นประดับกลุ่มบัวเชิงธาตุและปูนปั้นหัวเสาติดอยู่กับตัวอาคารเรือนธาตุที่แตกร่วงหล่นกระจัดกระจาย ส่วนที่คงเหลืออยู่เห็นเป็นเด่นชัดเป็นภาพปูนปั้นประดับบนส่วนของทับหลังและหน้าบันทางฝั่งทิศตะวันตก ที่เป็นภาพของนางอัปสรา 7 นางกำลังร่ายรำ และภาพของกลุ่มบุคคลรายล้อมเทพเจ้าสำคัญ (?) ที่ประทับอยู่บนดอกบัวตรงกลางภาพหน้าบัน สภาพของประตูหลอก ซุ้มประตูทิศตะวันตก ที่เคยมีภาพปูนปั้นประดับในปัจจุบัน จากร่องรอยหลักฐานที่เหลืออยู่ของซากปราสาทปรางค์บ้านปรางค์ ในความคิดของผม ฐานบัวเชิงเรือนธาตุที่เหลืออยู่มีลักษณะยกชั้นสูงกว่าชั้นลวดบัวเชิงเสาประดับผนัง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมในยุคปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ประกอบกับภาพลวดลายปูนปั้นบนทับหลังหรือหน้าบัน ที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวของภาพบุคคลโดด ๆ ไม่มีลายหน้ากาล/เกียรติมุข หรือลายพรรณพฤกษามาประกอบ เป็นความนิยมทางศิลปะในช่วงหลังต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งก็หมายความว่า ปรางค์บ้านสีดาอาจกำหนดอายุการก่อสร้างได้ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ครับ ภาพจินตนาการ ปูนปั้นประดับทับหลังและหน้าบันฝั่งทิศตะวันตกของปรางค์บ้านสีดา (เทียบจากภาพบน) ถึงลักษณะของบุคคล รวมทั้งลวดลายเครื่องแต่งกายของภาพปูนปั้นที่ “เคย” มีอยู่นั้นมีความโดดเด่นแบบศิลปะขอม – เขมรโบราณ แต่ก็ยังมีความเป็น “ท้องถิ่น” ผสมผสานอยู่มากครับ ซึ่งก็”อาจ” เป็นภาพปูนปั้นที่เพิ่งปั้นแต่ง เพิ่มเติมเข้าไปในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ในช่วงซ่อมแซมปราสาทครั้งใดครั้งหนึ่งก็เป็นได้ ชื่อของ “ปรางค์บ้านสีดา” นั้น อาจมาจากชื่อ“นางสีดา” นางเอกสำคัญในวรรณกรรมรามเกียรติ์ และยังปรากฏอยู่ ในนิทานพื้นบ้านลาว เรื่อง "ไก่แก้วหอมชู" ซึ่งเล่าต่อกันในท้องถิ่นว่า นางสีดาเป็นพระธิดาของท้าวกะโยงคำพญานาคเจ้าเมืองบาดาล วันหนึ่งแอบขึ้นมาเที่ยวบนโลกมนุษย์ โดยเนรมิตกายให้เป็น “ไก่แก้ว” (ไก่เผือก) ท้าวกำพร้า (ผู้มีวิชาต่อไก่ บุตรของผัวเมียกำพร้า) ได้มาพบไก่แก้ว จึงเข้าต่อไก่ไล่จับ คว้าไว้ได้แต่เพียงปลายหางเส้นหนึ่งของไก่แก้ว แต่นางสีดา (ไก่แก้วจำแลง)ก็สามารถหนีลง “รู” กลับไปเมืองบาดาลได้ ปลายขนหางไก่แก้วที่ท้าวกำพร้านำกลับมา ได้ส่งกลิ่นหอมชูฟุ้งไปทั่วเขตคราม หอมโชยไปจนถึงวังของพญาจาตูม (พญากุญชโร) พระองค์จึงมีรับสั่งให้ออกตามหาที่มาของกลิ่นหอมชู เมื่อทราบความแน่แล้วจึงให้ทหารขุดรูลงไปหาไก่แก้ว แต่จะขุดลึกลงไปมากเท่าใดก็ยังไม่ถึงเมืองบาดาล แม้จะเอาด้ายหย่อนลงไปก็ไม่ถึง พญาจาตูมจึงให้นายช่างหลวงทำสายยนต์เป็นเชือกโซ่เหล็ก ใช้เวลาตีสายเชือกยนต์เจ็ดปีเจ็ดเดือนจนมีความยาวมากพอ แต่ก็ไม่มีใครอาสาลงรูไปตามไก่แก้ว พญาจาตูมจึงขอให้ท้าวกำพร้า เป็นผู้ลงไปตามหาไก่แก้ว โดยสัญญาว่า จะดูแลมารดาของท้าวกำพร้าไว้ให้ (บ่อที่ขุดตามรูก็เรียกว่า "บ่อไก่แก้ว" ช่องหินศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยม (ที่ปักเสาจารึกแบบเขมรโบราณ) ในวัดบ่อไก่แก้ว ที่จะมีงานประจำปีทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี) เมื่อตั้งหลักยนต์ไว้ข้างบ่อแล้วจึงผูกสายยนต์หย่อนลงไป ให้ท้าวกำพร้าอยู่ในยนต์ โดยแจ้งสัญญาณว่าถ้าต้องการขึ้นมา จะให้ดึงขึ้น ก็ขอให้กระตุกสายยนต์ เมื่อหย่อนลงไปถึงเมืองบาดาล ท้าวกำพร้าก็ได้พบนางสีดา(ไก่แก้วจำแลง) ซึ่งเป็นพระธิดาพญานาค แต่ด้วยเพราะอดีตชาติเป็นคู่ตุนาหงัน ทั้งสองจึงตกลงปลงใจแต่งงานกัน ต่อมาท้าวกำพร้าคิดถึงมารดาที่ฝากพญาจาตูมดูแลไว้ จึงขอพญานาคเจ้าเมืองบาดาลเดินทางกลับขึ้นมาพร้อมกับนางสีดา แต่เมื่อมาจะขึ้นยนต์ นางสีดาลืมของใช้ จึงขอให้ท้าวกำพร้ากลับไปเอามาให้ ท้าวกำพร้าสั่งกำชับนางสีดาว่า ห้ามถูกต้องสายเชือกยนต์โดยเด็ดขาด แต่นางสีดาก็เผลอขึ้นไปนั่งบนยนต์ ทำให้สายเชือกยนต์กระตุก ทหารข้างบนจึงชักสายยนต์ขึ้น ท้าวกำพร้าวิ่งกลับมาไม่ทันจึงขึ้นมาไม่ได้ และต้องย้อนกลับไปยังเมืองบาดาล เพื่อขอให้เจ้าเมืองบาดาลหาหนทางช่วยให้กลับขึ้นมาเบื้องบน เมื่อนางสีดาถูกยนต์ชักขึ้นมาแล้ว พวกทหารที่เฝ้ายนต์ จึงนำตัวนางไปถวายพญาจาตูม พญาจาตูมทรงโปรดและหลงรักนางสีดา หวังจะอภิเษกให้เป็นมเหสีด้วย แต่ด้วยเพราะพญาจาตูมไม่ใช่เนื้อคู่จึงไม่อาจเข้าใกล้ตัวนางสีดาและหากเข้าใกล้ถูกเนื้อต้องตัวนางสีดาก็จะลุกร้อนเป็นไฟ นางสีดาขอเวลา 3 ปี รอให้ท้าวกำพร้ากลับมา ถ้าท้าวกำพร้าไม่กลับ ก็จะยอมเป็นมเหสีของพญาจาตูม แต่ขอให้สร้างปราสาทแยกให้ไปประทับอยู่ห่าง ๆ ซุ้มประตูหลอก ฝั่งทิศใต้ พญาจาตูมจึงทำตามที่นางสีดาขอ โดยสร้างปราสาทให้นางสีดา (ปรางค์บ้านสีดา) หลังหนึ่ง และเมื่อท้าวกำพร้าสามารถเดินทางกลับขึ้นมาจากบาดาลจนได้มาพบกับนางสีดาและกลับมาอยู่ด้วยกัน เมื่อพญาจาตูมรู้เข้าจึงส่งคนมารับนางกลับไป แต่ท้าวกำพร้าไม่ให้ เพราะพญาจาตูมผิดคำสัญญาที่จะดูแลมารดาให้ดี แต่กลับปล่อยปะละเลยจนเสียชีวิต เกิดการรบพุ่งกันระหว่างพญาจาตูมกับท้าวกำพร้า ท้าวกำพร้าเสกให้พญาจาตูมตัวแข็งเป็นหิน เสกให้น้ำท่วมเมือง จนพ่ายแพ้ พญาจาตูมยอมรับผิด ยกบ้านเมืองให้ท้าวกำพร้าครอบครอง แต่ท้าวกำพร้าปฏิเสธ จึงยกเมืองคืนให้กับพญาจาตูม ครอบครองดังเดิม พร้อมกับสั่งสอนให้ตั้งตนอยู่ในศีลธรรม....เอวัง ซุ้มประตูด้านหน้าฝั่งทิศตะวันออก มีใบเสมาแบบวัฒนธรรมทวารวดีตั้งอยู่ นอกจากซากของปราสาทร้างในยุควัฒนธรรมเขมรที่บ้านสีดาแล้ว โดยรอบของชุมชนยังปรากฏร่องรอยของเนินเมืองที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ คูน้ำคันเมืองรูปวงกลมและวัตถุโบราณในวัฒนธรรมแบบทวารวดี (ใบเสมาหินแบบทวารวดี) ที่บ้านโนนเมือง (ทางทิศเหนือของปรางค์บ้านสีดา)แสดงให้เห็น”ร่องรอยหลักฐาน” ของพัฒนาการผู้คน – วัฒนธรรมที่ทับซ้อน ต่างกาลเวลากันมายาวนานจากชุมชนยุคเหล็กมาถึงวัฒนธรรมทวารวดีกลายมาเป็นชุมชนเขมรตั้งแต่ยุคพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาได้อย่างชัดเจน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
สำรวจบันทายฉมาร์ - บันทายทัพ | ||
![]() |
||
พาคณะ ร่วมเดินทางสำรวจ ถ่ายภาพ- เรียนรู้ ปราสาทบันทายทัพและปราสาทบันทายฉมาร์ ระหว่างวันที่ 4 6 พฤษภาคม 2560 ผู้ร่วมเดินทางรวม 18 คน |
||
View All ![]() |
งานวันผู้ไทโลก ครั้งที่ 8 | ||
![]() |
||
งานวันผู้ไทโลก เท่อที่ 8 "พระธาตุศรีมงคลงามสง่า บูซาเจ้าปู่มเหศักดิ์ โฮมฮักผู้ไทโลก" วันที่ 4 - 6 เมษายน 2560 ณ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |