“ศรีชยเกษมปุรี” ชื่อนามเดิมของกรุงสุโขทัย ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (?) . . เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า วัฒนธรรมเขมรโบราณเริ่มขยายตัวเข้ามาสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งอิทธิพลทั้งอำนาจทางการเมือง ศิลปะและคติความเชื่อแบบฮินดู มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 14 ดังที่พบร่องรอยหลักฐานที่เมืองอู่ทองโบราณ เมืองโบราณนครปฐม (ชยศรี) เมืองโบราณพงตึก เมืองละโว้ทยปุระ ฯลฯ แต่กระนั้น หลักฐานโบราณวัตถุหลายชิ้น (เช่น เอกามุขลึงค์ ฐานศิวลึงค์ ที่เมืองโบราณอู่ทอง) ยังแสดงให้เห็นว่า หลายเมืองโบราณในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน อาจรับอิทธิพลทางคติฮินดู (Hinduism) มาจากชวาหรืออินเดียโดยตรงอีกด้วย . “จารึกปักษีจำกรง” ราวพุทธศตวรรษที่ 15 กล่าวถึงดินแดนของพระเจ้ายโศวรมัน ที่ทรงมอบให้แก่ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ผู้สืบราชสมบัติ ว่ามีอาณาเขตจรดเมืองมอญ ที่เมืองสะเทิม รามัญประเทศ . ชุมชนใหม่ของชาวเขมรโบราณเข้าซ้อนทับบนเมืองทวารวดีอย่าง “ลวะปุระ” (ลพบุรี) พัฒนาให้ “กรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร” กลายมาเป็นเมืองท่าใหม่ของขอมในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อไปยังเมืองในเครือข่ายอย่างนครปฐม พงตึกและอู่ทอง สุวรรณปุระ ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มเมือง “หัวหอก” สำคัญ ของการขยายอำนาจทางการเมือง การปกครองของอาณาจักรเข้าสู่ลุ่มน้ำแม่กลองและลุ่มน้ำเพชรบุรี โดยมีเมืองพิษณุโลกและสุโขทัยเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญทางทิศเหนือ มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ดังที่พบ “ปราสาทเขาปู่จ่า” ในอำเภอคีรีมาศ ทางตอนใต้ของเมืองโบราณสุโขทัย (ภาพที่ 1) ที่สร้างขึ้นบนยอดเขาในคติวิมานแห่งเขาไกรลาส และระบบ “กัลปนา” แบบเขมรโบราณในยุคพระเจ้าสูริยวรรมเทวะที่ 1 . . จนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 เมืองลวะปุระและเมืองอโยธยา ก็ได้กลายเป็นหัวเมืองใหญ่ทางตะวันตกสุดของอาณาจักรเขมรอย่างชัดเจน โดยมีอิทธิพลในการปกครองและผู้ปกครองจากเครือญาติกษัตริย์จากลวะปุระ ครอบคลุมอำนาจไปถึงเมืองนครปฐม (ชยศรี) อู่ทอง และสุพรรณบุรี ในขณะที่เมืองสุโขทัยและเมืองพิษณุโลกหัวเมืองบายนทางเหนือ ก็ได้ขยายอิทธิพลของจักรวรรดิออกไปยังเมืองทุ่งยั้ง เมืองนครไทย เนินศาลาบ้านสระตาพรหม เขาตีคลี ดงแม่นางเมือง ทั้งกลุ่มรัฐลวะปุระและกลุ่มรัฐสุโขทัย ต่างก็ล้วนมีผู้ปกครองในตำแหน่ง “กมรเตง อัญ” ที่มาจากเมืองพระนครหลวง . ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 “จักรวรรดิบายน” (Bayon Empire) ในยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (Jayavarman 7) ได้ขยายอิทธิพลทางการเมืองและคติความเชื่อแบบมหายาน (วัชรยาน) ครั้งใหญ่ เข้ามาสู่แดนตะวันตกและลุ่มเจ้าพระยาตอนบน จากฐานที่มั่นใหญ่ของราชวงศ์ “มหิธระปุระ” ที่เมืองลวะปุระ . จารึกปราสารทตอว์ (Tor Pr.) ที่กล่าวถึงการสงครามเพื่อ “พิชิตเหล่าราชาในแดนตะวันตก” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และจารึกปราสาทพระขรรค์ (Preah Khan Inscription) บทที่ 114 – 120 ที่กล่าวถึงเรื่องของการถวาย “พระชัยพุทธมหานาถ” (Jaya Buddha Mahanart) ไปยังหัวเมืองสำคัญทั่วจักรวรรดิบายน ได้กล่าวถึงชื่อนามของเมืองใหญ่อย่างน้อย 6 วิษัยนคร ที่เชื่อกันว่า คือเมืองในเขตภาคตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลองและลุ่มน้ำเพชรบุรี ทั้ง วิษัย “ชยวัชรปุระ” ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี วิษัย “ชยราชปุรี” ที่มีราชวิหารเป็นศูนย์กลางอยู่ที่วัดมหาธาตุราชบุรี วิษัย “ชยสิงหปุระ” หรือปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีการขุดพบรูปประติมากรรมเฉพาะในคติวัชรยานจำนวนมาก วิษัย “ลโวทยปุระ” หรือเมืองโบราณลพบุรี วิษัย “สุวรรณปุระ” ที่เมืองโบราณหนองแจง ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งเมืองเครือข่ายชุมชนขนาดเล็กที่มีศาสนสถานประจำสรุก กระจายตัวไปทั่วลุ่มน้ำท่าว้า - ท่าจีน อย่างบ้านเนินทางพระ บ้านดอนกอก บ้านดอนคา บ้านดงเชือก และ วิษัย “ศัมพูกปัฏฏนะ” ที่สันนิษฐานว่า คือเมืองโบราณข้างสระโกสินารายณ์ ใกล้แม่น้ำแม่กลอง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ที่มีจอมปราสาทเป็นศูนย์กลาง (ภาพที่ 2) . . แต่การกำหนดชื่อนามของบ้านเมืองในยุคจักรวรรดิบายนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากชื่อเมือง 23 แห่งในจารึกปราสาทพระขรรค์ ทั้ง “ลโวทยปุรํ(ะ) สุวรรฺณปุรํ(ะ) ศมฺพูกปัฏฏนมฺ ชยราชปุรี ศฺรีชยสีหปุรี ศรีชยวชฺรปุรี” นั้น ก็ล้วนกำหนดขึ้นจากหลักฐานทางโบราณวิทยาที่สอดรับ ทั้งร่องรอยความเป็นเมือง หลักฐานของศิลปวัตถุและศาสนสถานที่พบร่วมอยู่ในยุคสมัยอย่างชัดเจน และการใช้หลักการเทียบ “ชื่อนามดั้งเดิม” (Toponyme) ของชื่อนามเมืองในยุคหลังที่สืบทอดต่อมาจากอดีต . แต่ชื่อนามของกรุงสุโขทัยที่มีหลักฐานในยุคสมัยเดียวกันอย่างครบถ้วนนั้นกลับไม่เคยถูกกล่าวถึง (ภาพที่ 3 – 5) ก็คงด้วยเพราะอิทธิพลของการสร้างประวัติศาสตร์ไทย ให้เป็นราชธานีในอุดมคติแห่งแรกของไทย และการลำดับราชวงศ์จากจารึกในยุคหลังกว่า จึงไม่มีการสืบหาชื่อนามของวิษัย (เมือง) ในยุคขอม – เขมรบายน กันมาเลย . . . . จากชื่อที่เหลืออีก 17 ชื่ออันได้แก่ “ศรีชยราชธานี ศรีชยันตนครี ศรีชัยสิงหวดี ศรีชยวีรวดี ศรีชยสตัมภบุรี ศรีชยราชคีรี ศรีชยวีรบุรี ศรีชยวัชรตี ศรีชยกีรติบุรี ศรีชยเกษมบุรี ศรีวิชยาทิบุรี ศรีชยสิงหคราม มัธยมครามกะ สมเรนทรครามะ ศรีชยบุรี วีหาโรตตรกะ ปูรพาพาส” นั้น มีชื่อนามหนึ่งที่มีความหมายตรงกับคำว่าสุโขทัย คือ “ศรีชยเกษมปุรี” ที่มีความหมายว่า “มีความสุขใจ” ตรงกับ “สุโข ไท - ทัย” ที่หมายความว่า “ใจที่มีความสุข – คนมีความสุข” . เมื่อประกอบกับหลักฐานทางโบราณวิทยาในยุคเขมรที่พบอย่างมากมายในเขตรัฐสุโขทัย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมมีคูน้ำล้อมรอบแบบเขมร (ภาพที่ 6) ที่พบอยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาและสาขาตอนบนเพียงไม่กี่แห่ง บรรณาลัยศิลาแลงแบบเขมรที่วางตำแหน่งในรูปแบบแผนผังสมมาตร – สมดุล (Symmetry – Balance Plan) ในตำแหน่งเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของอาคารประธานแห่งศาสนสถานที่วัดมหาธาตุ (ภาพที่ 7) รูปเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากปราสาทวัดพระพายหลวง (Wat Pra Phai Luang Pr.) ในสภาพถูกทุบทำลายอย่างรุนแรง แสดงรูปบุคคลเพศชาย ประทับนั่งในท่าธยานะมุทรา (นั่งขัดสมาธิราบ) บนฐานเขียง นุ่งภูษาสมพตขาสั้น พระวรกายเอียงมาทางด้านหน้า หน้าแข้งคม ที่หัวเข่าสลักเป็นลูกสะบ้ามีกล้ามเนื้อล้อมรอบคล้ายดอกไม้ ตามแบบรูปเหมือนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในเมืองพระนครหลวง จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา (ภาพที่ 8) . . . . ยังมีหลักฐานสำคัญอย่างศาสนาสถาน ปราสาทหินแบบเขมร ทั้งที่ปราสาทตาผาแดง และวัตถุโบราณแบบเขมรที่พบ (ภาพที่ 9 - 10) ปราสาทวัดพระพายหลวง และวัตถุโบราณแบบเขมรที่พบ (ภาพที่ 11 - 13) ที่สร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 รวมทั้งพระพุทธรูปนาคปรกแบบบายนที่พบจากเขาปู่จ่า และศิลปวัตถุทางพุทธศาสนาสายมหายานแบบบายนอีกเป็นจำนวนมาก ล้วนแต่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมืองสุโขทัยนั้น เดิมก็คือวิษัย (นคร) ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิบายนที่มีองค์ประกอบครบถ้วนเช่นเดียวกับเมืองทั้ง 6 แห่ง . . . . . . ชื่อนาม “ศรีชยเกษมปุรี” จากจารึกปราสาทพระขรรค์ จึงอาจเป็นชื่อนามของเมืองสุโขทัยในยุคเขมรนั่นเอง ครับ . . .
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
สำรวจบันทายฉมาร์ - บันทายทัพ | ||
![]() |
||
พาคณะ ร่วมเดินทางสำรวจ ถ่ายภาพ- เรียนรู้ ปราสาทบันทายทัพและปราสาทบันทายฉมาร์ ระหว่างวันที่ 4 6 พฤษภาคม 2560 ผู้ร่วมเดินทางรวม 18 คน |
||
View All ![]() |
งานวันผู้ไทโลก ครั้งที่ 8 | ||
![]() |
||
งานวันผู้ไทโลก เท่อที่ 8 "พระธาตุศรีมงคลงามสง่า บูซาเจ้าปู่มเหศักดิ์ โฮมฮักผู้ไทโลก" วันที่ 4 - 6 เมษายน 2560 ณ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |