เล่ามาว่า เมื่อราวปี 2502 – 2504 เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินระหว่างหน่วยงานรัฐกับชาวบ้านในเขตตำบลไร่รถ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นชุมชนเล็ก ๆ อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง แต่ด้วยเพราะบริเวณนั้น ปรากฏร่องรอยเมืองโบราณขนาดใหญ่และซากศาสนสถานหลายแห่ง จึงมีความพยายามสำรวจเพื่อปักปันประกาศเป็นเขตโบราณสถาน แต่ก็กินเวลาเนิ่นนานไปจนซากอาคาร กำแพงหินและคันดินนั้น ได้ถูกชาวบ้านและนักแสวงโชคจากภายนอกช่วยกันขุดรื้อถอน ทำลายจนหายไปเกือบทั้งหมด . . ปี พ.ศ. 2508 ศาสตราจารย์ ฌอง บัวเซอลีเยร์ ได้เดินทางมาสำรวจบริเวณเมืองโบราณที่บ้านหนองแจง ในช่วงที่เดินทางไปสำรวจเมืองอู่ทอง ท่านได้กล่าวว่า “...บริเวณพื้นที่แห่งนี้มีร่องรอยของโบราณวัตถุสถานสมัยขอมอันอาจกำหนดอายุได้ตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ลงมาจนถึงรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ...” . อาจารย์มนัส โอภากุล เคยเขียนไว้ในบทความ “ชุมชนลพบุรีที่บ้านหนองแจง สุพรรณบุรี” ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ปี 2532 ว่า “...นายเสรี แน่นหนา หัวหน้าหน่วยกรมศิลปากรบอกว่า เคยสำรวจทำแผนผังไว้เมื่อครั้งปี 2508 ทั้งยังร่วมกับ ศาสตราจารย์ฌอง บัวเซอลีเยร์ ขุดค้นซากโบราณสถานองค์หนึ่ง เป็นพระปรางค์และยังได้พบพระปฏิมากรมหายาน นางปัญญาบารมี (เทวีปรัชญาปารมิตา) ด้วย...” . . “...แผนผังเมืองโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สองชั้น ชั้นนอกยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้างประมาณ 500 เมตร ส่วนคูชั้นในหัวท้ายกลมมน ยาวประมาณ 600 เมตร กว้างประมาณ 300 เมตร ภายในและภายนอกคูเมืองมีซากโบราณสถานไม่น้อนยกว่า 12 – 15 แห่ง...” . “...ความจริง ในช่วง 20 ปี หลังจากปี 2508 เมื่อเกษตรกรบุกเบิกพื้นที่เกษตรกรรมออกไปอย่างกว้างขวาง ก็มักจะพบพระพุทธรูปปฏิมากรสำริด ศิลปะลพบุรี ครั้งละ 2 – 3 องค์ บางทีก็หลายองค์ รวมกันแล้วกว่า 200 องค์...” . “... ในปี 2530 มีกลุ่มบุคคลสองกลุ่ม มาจากเชียงใหม่และอยุธยาได้นำเครื่องไกเกอร์ แสวงหาแร่ธาตุใต้พื้นดิน มาหาพระพุทธรูปที่บ้านหนองแจง ในช่วงระยะเวลาเพียงปีเศษ ได้ทราบจากผู้ใกล้ชิดว่า ได้พระพุทธรูปสำริดศิลปะลพบุรีไปไม่น้อยกว่า 200 – 300 องค์ ครั้งละ 5 – 6 องค์ ถึง 15 – 20 องค์ เช่น พระโพธิ์สัตว์อวโลกิตศวร นางปัญญาบารมี 12 พักตร์ 18 กร นางรำ(โยคิณี) เหวัชระ พระปางนาคปรก พระปางประทานพร พระซุ้มเรือนแก้วทั้งประทับยืนและนั่ง ฯลฯ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น สังข์ คันฉ่อง กระดิ่ง ห่วงคานเสลี่ยง และอื่น ๆ อีกมาก เช่นเนื้อชินหลอมเป็นรูปขนมครกนับร้อยกิโลกรัม รวมพระพุทธปฏิมากรซึ่งพบเมื่อ 20 ปี ก่อน ประมาณ 500 – 600 องค์ ถือได้ว่ามากที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี ...” . . . . “... นอกจากบนพระพุทธรูปศิลปะลพบุรีเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังพบพระพุทธรูปศิลปะทวารวดี ศรีวิชัยและอู่ทองอีกประปราย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเมืองโบราณแห่งนี้มีอายุตั้งแต่สมัยทวารวดีตอนปลายเรื่อยมาจนถึงสมัยลพบุรี หากจะพิจารณาถึงคูชั้นในที่มีลักษณะกลมอันเป็นลักษณะเมืองทวารวดีแล้วก็ควรจะเป็นไปได้ ส่วนคูชั้นนอกที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านั้นเป็นคูเมืองของลพบุรีอย่างแน่นอน..” . ซึ่งบทความในปี 2533 อาจารย์มนัส ยังคงสันนิษฐานว่า เมืองโบราณที่หนองแจงคือเมือง “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” ในจารึกปราสาทพระขรรค์ แต่ ในบทความ เรื่อง “เมืองสมัยลพบุรีที่สุพรรณบุรี” ในวารสารเมืองโบราณ ปี 2543 อ. มนัส เริ่มที่ลังเลว่า เมืองโบราณที่บ้านหนองแจงนี้ ควรจะใช่เมืองสุวรรณปุระมากกว่า แต่ก็ยังคงติดใจเทียบกับโบราณสถานเนินทางพระที่ได้มีโอกาสขุดค้นทางโบราณคดี อยู่ครับ . ในบันทึกการสำรวจของกรมศิลปากร ในปี 2508 ยังระบุว่า “...มีฐานโบราณสถานทำด้วยศิลาแลง คล้ายฐานปราสาทเขมร มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงความยาวประมาณ 40 เมตร ซึ่งในบริเวณนั้นยังพบโกลนศิลาแลงรูปพระพุทธรูปนาคปรกอีกด้วย...” . . ** แต่จากปี 2508 เป็นต้นมา มีการขุดหาวัตถุโบราณโดยนักล่าสมบัติในพื้นที่ ทั้งที่บ้านหนองแจง บ้านหินแลงและบ้านหัวนา จากเดิมที่เคยพบวัตถุโบราณฝั่งอยู่ใต้ดินจากการขยายพื้นที่การเกษตรโดยบังเอิญ พระร่วง 1 องค์ แลกเหล้าขาวได้ 1 กลม กลายมาเป็นการเสาะด้วยเครื่องมือดูดหาโลหะที่ทันสมัย เป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี จนพระร่วงยืน 1 องค์ มีมูลค่ากว่าหลักแสนกลางไปแล้ว . จนไม่น่าจะมีอะไรเหลืออยู่ที่เมืองโบราณแห่งนี้แล้วครับ . . . วัตถุโบราณบนผิวดิน ทั้งที่เป็นรูปประติมากรรมและชิ้นส่วนประดับอาคารปราสาทศาสนสถาน รวมทั้งหินศิลาแลงจำนวนมากได้ถูกขนย้ายจากที่ตั้งเดิม เพื่อครอบครองสิทธิและพื้นที่ทำการเกษตรกรรม และยังถูกขุดไปทิ้งในวัด หรือขุดขายออกไปให้กับโลกภายนอกอย่างมากมาย . เป็นที่น่าสังเกตว่า รูปประติมากรรม ชิ้นส่วนแตกหักหลายรูปแบบที่อยู่พบอยู่บนผิวดินนั้น ทั้งหมดเหมือนถูกทุบทำลายอย่างย่อยยับมาตั้งแต่อดีต จนหาความสมบูรณ์ไม่ได้เลย ยกเว้นของที่ขุดได้จากใต้ดินเท่านั้นที่ยังคงมีความสมบูรณ์งดงามจนแทบทุกชิ้น . ปรากฏการณ์นี้ ก็อาจจะบอกเล่าเรื่องราวในอดีตหลังยุคบายนได้อย่างอนุมานว่า เมืองโบราณแห่งนี้คงเกิดสงครามครั้งใหญ่ เมืองถูกทำลายอย่างตั้งใจ รูปเคารพสำคัญถูกทุบตี ผู้คนที่เคยเป็นเจ้าของดินแดนได้พากันฝังข้าวของมีค่าไว้ก่อนหนีตายออกไป สิ่งของที่ขุดพบจากใต้ดินจึงล้วนแต่เป็นของที่อยู่ในสภาพดีและถูกจัดวางในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่น้อยก่อนฝัง กระจายตัวไปโดยรอบทั่วพื้นที่ของเมืองโบราณ . . จากเรื่องเล่าประกอบกับแผนที่ทางอากาศ ปี 1953 1975 (ดร. พจนก และคณะ 2556) และร่างแผนที่สำรวจในปี 2529 ของอาจารย์มนัส โอภากุล ได้แสดงให้เห็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนตะวันตกเป็นแนวคันดินรูปสี่เหลี่ยมขนาดความกว้างยาวประมาณ 800 เมตร ส่วนด้านตะวันออก มีร่องรอยคันดินผันน้ำ ต่อจากคันเมืองของส่วนแรกทางทิศเหนือ ประมาณ 750 เมตร คันดินทิศตะวันออกต่อลงมาจนถึงสระลั่นทม ความยาวประมาณ 850 เมตร คันดินด้านทิศใต้ มาชนกับแนวเมืองโบราณรูปวงกลม ความยาวประมาณ 650 เมตร ส่วนที่สองเป็นเมืองโบราณรูปวงกลม ความกว่างประมาณ 650 เมตร เหลื่อมทับอยู่ทางทิศใต้ ส่วนที่สามคือแนวกำแพงสี่เหลี่ยม ซากอาคารแบบปราสาทหินและบาราย (ยักคันดินเป็นขอบ) รวมทั้งแนวคันดินรูปมน รูปสี่เหลี่ยมและซากของเจดีย์ทวารวดี รวมกันอีกหลายแห่ง . ยังมีรูปประติมากรรมและโบราณวัตถุอีกเป็นจำนวนมากจากการลักลอบขุดที่พบจากพื้นที่เมืองโบราณบ้านหนองแจง ที่แสดงให้เห็นว่า เมืองโบราณแห่งนี้มีอายุตั้งแต่ยุคทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นอย่างน้อยและรุ่งเรืองสูงสุด ในยุคนครวัด – หลังบายน ก่อนถูกทำลายโดยสงครามครั้งใหญ่ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 . . ชิ้นส่วนวัตถุโบราณแตกหักที่เหลืออยู่จำนวนไม่มากนัก ยังคงเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์โรงเรียนบ้านหนองแจง โดยมี อาจารย์กำธง เกตุแก้ว เป็นผู้รับช่วงดูแลอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย ชิ้นส่วนรูปประติมากรรม พระพุทธรูปนาคปรกไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาสุคต (Bhaisaฺj yaguru) ชิ้นส่วนมือถือคัมภีร์หรือตลับยาของพระ (โพธิสัตว์) ศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ ชิ้นส่วนแขน พระเศียร รูปประติมากรรมบุคคล ชิ้นส่วนฐานรูปเคารพหินทราย ชิ้นส่วนรูปโกลนพระพุทธรูปนาคปรกศิลาแลง ชิ้นส่วนปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมรูปบุคคล รูปสัตว์ ครุฑ นาค อัปสรา ลวดลายประดับอาคาร ชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชายดินเผารูปหน้าสิงห์ ชิ้นส่วนบันแถลง นาคปัก – กลีบขนุนของอาคารปราสาท ภาชนะดินเผา ลูกกระสุน ตะคันดินเผา แบบทวารวดี เครื่องเคลือบเขมร เครื่องเคลือบ - เครื่องถ้วยจีน ภาชนะดินเผาจากเตาบาปูน หินบดยาแบบทวารวดีและแบบเขมร เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากสำริด เช่น กำไลสำริด ลูกกระพรวน และเครื่องมือเหล็ก . . . . . . . . . อีกทั้งยังเก็บชิ้นส่วนพระพิมพ์แบบต่าง ๆ อย่างพิมพ์ซุ้มพุทธคยา แบบปาละ –พุกาม พระตรีกาย – ตรีกาล หรือซุ้มกระรอกกระแต พระโมคคลา (ชื่อเรียกแบบชาวบ้าน) พระนารายณ์ทรงปืน พระแผงปาฏิหาริย์ ทั้งเนื้อดินเผาและโลหะ และแม่พิมพ์สำริดที่สมบูรณ์ 2 ชิ้น . . สำหรับรูปประติมากรรมในมือเอกชนที่ได้มาจากการลักลอบขุดขายในอดีตนั้น เล่ากันว่า มีจำนวนมากมายมหาศาลกว่าที่เห็นอยู่มาก ทั้งรูปประติมากรรมทางศาสนาความเชื่อ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่ล้วนแต่มีความสำคัญ สวยงามและไม่น่าเชื่อว่าจะได้มาจากเมืองโบราณบ้านหนองแจงที่ในปัจจุบันแทบไม่หลงเหลืออะไรให้เห็นอยู่ในวันนี้เลยครับ . . รูปประติกรรมเด่นที่พบจากเมืองโบราณบ้านหนองแจง คือรูปเคารพ “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปล่งอานุภาพบารมี (รัศมี)” (Bodhisattva Avalokitesvara irradiant) แบบบายน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนแบบวัดจีนในย่านกลางกรุงเทพมหานคร . . ยังมีศิลปวัตถุและพุทธศิลป์จากเมืองโบราณบ้านหนองแจงในยุคหลังบายน ที่มีรูปแบบอันเป็นลักษณะที่พบเฉพาะในกลุ่มรัฐขอมเจ้าพระยา (สุวรรณปุระ ละโวทยปุระ สุโขทัย) อย่างประติมากรรมสำริด “พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์สวมอุณหิสกลีบบัวหรือพระพุทธรูปสวมเทริดขนนก (Crowned Buddha) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุกามผ่านลงมาจากหริภุญชัยมาตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 (ซึ่งได้รับต่อมาจากคติพระไวรโรจนะจากราชวงศ์ปาละ – เสนะ ที่ปกครองรัฐพิหารและเบงกอล ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 - 17 และอิทธิพลทางศิลปะของจีน) มีพุทธลักษณะที่สำคัญคือทรงครองจีวรห่มดองแบบปาละ สวมอุณหิสห้ายอดเป็นเครื่องประดับศิราภรณ์แบบกระบังหน้า มีแถบผ้าผูกไขว้กันเป็นเงื่อน กระตุกเหนือพระกรรณทั้งสองข้างแบบปาละ - จีน กุณฑล (ตุ้มหู) ที่ปลายพระกรรณทั้งสองข้าง ส่วนของพระวรกาย ก็สลักเป็นรูปแผงกรองพระศอประดับด้วยลายดอกไม้ตรงกลางและมีพู่อุบะห้อยอยู่ด้านล่าง ที่พระพาหา (แขน) ยังสลักเป็นรูปพาหุรัด ที่ต้นแขน และรูปทองพระกร ที่ข้อมือ . ในยุคหลังบายน พระทรงเครื่องกษัตริย์สวมอุณหิสกลีบบัว (เทริดขนนก) ที่พบจากสามกลุ่มรัฐขอเจ้าพระยา ได้ดัดแปลงนำเอาคติเถรวาท (พระศากยมุนี การนุ่งห่มดอง ปางมารวิชัย) มหายาน (พระพุทธเจ้าไมเตรยะอนาคตพุทธะ) และคติวัชรยานแบบเขมร (มหาไวโรจนะ ไภสัชยคุรุ ปางสมาธิ - ธยานะมุทรา) เข้ามาผสมผสานกันแบบตั้งใจ พระพุทธรูปสวมเทริดขนนกจึงมีทั้งแบบปางสมาธิ ปางสมาธิมีหม้อยาพระไภสัชยคุรุ และปางมารวิชัยแบบเถรวาท กลายเป็นพุทธศิลป์ที่มีรูปแบบเฉพาะตัว และได้ความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะพบพุทธศิลป์นี้เฉพาะในพื้นที่อาณาเขตของสามรัฐ อันได้แก่ สุวรรณปุระ ลวโวทยปุระ และ สุโขทัยเท่านั้น . แต่ที่โดดเด่นที่สุดของพุทธศิลป์ยุคหลังบายนจากเมืองโบราณบ้านหนองแจง คือการขุดพบงานศิลปะมีการใช้แผ่นหลัง “ประภาวลี” (Altarpiece with crowned Buddha) เป็นซุ้มเรือนแก้วและแผงหลังประกอบเข้ากับรูปของพระพุทธเจ้า เป็นจำนวนมาก ด้านบนสุดของประภาวลีตกแต่งเป็นกิ่งต้นโพธิ์แตกแขนงออกจากประภามณฑล เป็นกิ่งท่อนขึ้นไปจนจบที่ปลายเป็นพุ่มดอกหรือใบแหลม ด้านข้างของกิ่งทำเป็นใบโพธิ์แบบเรียวยาว ขยายใบออกเป็นซุ้มปรกโพธิ์ก้านใหญ่ยอดใบแหลมด้านบน รวมทั้งการพบสถูปจำลองสำริดในคติยอดทรงหม้อดอกบัวตูม “กัลปลตา” ซึ่งเป็นพุทธศิลป์ที่ไม่เคยปรากฏในศิลปะยุคบายนแต่อย่างใดครับ . . . . ส่วนรูปลักษณ์ของพระพุทธรูปทั้งแบบพระใหญ่และแบบพระพิมพ์ในยุคหลังบายนที่เมืองโบราณบ้านหนองแจง นิยมทำเป็นรูปพระยืนปางแสดงธรรมหรือประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายจับจีวร หมายถึงพระมหาไวโรจนะพุทธเจ้า ราชาแห่งตภาคต อันเป็นอิทธิพลทางศิลปะจากปาละผ่านทางพุกามในคติมหายาน แตกต่างจากปางประทานพรในคติพระวัชรสัตว์ของฝ่ายวัชรยานเขมรที่จะยกขึ้นทั้งสองพระ ที่นักสะสมพระเครื่องนิยมเรียกว่า “พระร่วง” แบบต่าง ๆ ทั้งแบบสวมไปจนถึงแบบไม่สวมอุณหิสศิราภรณ์ แต่ก็ยังอยู่ในรูปปางเดียวกัน ซึ่งก็พบได้เป็นจำนวนมากในทุกภูมิภาคของกลุ่มรัฐขอมลุ่มเจ้าพระยาขึ้นไปถึงสุโขทัย และไม่ค่อยพบคติเช่นนี้ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรเขมรเช่นกัน . . เมืองโบราณบ้านหนองแจงควรจะใช่ “สุวรรณปุระ” ในจารึกปราสาทพระขรรค์หรือไม่ ถึงตรงนี้ท่านก็คงพิจารณาได้เอง ครับ . .
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
สำรวจบันทายฉมาร์ - บันทายทัพ | ||
![]() |
||
พาคณะ ร่วมเดินทางสำรวจ ถ่ายภาพ- เรียนรู้ ปราสาทบันทายทัพและปราสาทบันทายฉมาร์ ระหว่างวันที่ 4 6 พฤษภาคม 2560 ผู้ร่วมเดินทางรวม 18 คน |
||
View All ![]() |
งานวันผู้ไทโลก ครั้งที่ 8 | ||
![]() |
||
งานวันผู้ไทโลก เท่อที่ 8 "พระธาตุศรีมงคลงามสง่า บูซาเจ้าปู่มเหศักดิ์ โฮมฮักผู้ไทโลก" วันที่ 4 - 6 เมษายน 2560 ณ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2018 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |