
บทความร่วมโครงการในหลวงในดวงใจของชาวโอเคเนชั่น พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพสกนิกร ได้แผ่ไพศาลไปทั่วทุกภูมิภาคในแผ่นดินไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร บนฝั่งขวาของทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๐๔ ที่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นเสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" หนึ่งในศูนย์การศึกษาการพัฒนา ๖ แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
แต่ดั้งเดิมมา พื้นที่หลายหมื่นไร่ของอำเภอพนมสารคามเป็นป่าดงดิบ มีเขาหินตามธรรมชาติก้อนใหญ่ก้อนเล็กระเกะระกะอยู่ทั่วไป จึงมีชื่อว่า "เขาหินซ้อน" และเคยเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เพียงชั่วระยะเวลา ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา มีการสร้างถนนทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๐๔ พนมสารคาม - กบินทร์บุรี ได้มีการระเบิดหินไปทำถนน และเปิดทางนำผู้คนเข้าสู่พื้นที่โดยสะดวก ป่าดงดิบเขาหินซ้อนจึงถูกน้ำมือมนุษย์โค่นทำลายลงเป็นที่ดินทำกิน และต่อมาก็ถูกทอดทิ้งให้เป็นแผ่นดินเสื่อมโทรมรกร้าง
ด้วยเดชะพระบารมี เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เขาหินซ้อน ได้เสด็จไปทอดพระเนตรที่ดินที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย แล้วได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็น ศูนย์ตัวอย่างรวมการพัฒนาด้านเกษตรกรรมที่สมบูรณ์แบบ เช่น การพัฒนาชุมชน ฟื้นฟูป่าไม้ พัฒนาแหล่งน้ำ การเลี้ยงปศุสัตว์ การประมง งานส่งเสริมการเกษตร การชลประทาน สาธารณสุข การเลี้ยงปศุสัตว์ การประมง งานส่งเสริมการเกษตร การชลประทาน สาธารณสุข ตั้งวิทยาลัยเกษตรกรรม ส่งเสริมศิลปาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านเพิ่มพูนรายได้ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบนอกศูนย์ บริเวณลุ่มน้ำโจนให้เจริญขึ้น สำหรับเป็นแบบอย่างการพัฒนาให้ขยายออกไปสู่พื้นที่ตำบลอื่น ๆ
 

|
| | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการฟื้นฟูสภาพของดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิชาการในหลายๆ ด้าน ประกอบกันเป็นการดำเนินการแก้ไขในลักษณะผสมผสานของหลายๆ หน่วยงานแบบบูรณาการ โดยดำเนินการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชแซม การป้องกันศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดิน 
ในการปลูกไม้ผล การฟื้นฟูสภาพป่า การบำรุงพันธุ์ไม้เดิม ไม้มีค่าหายาก และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การจัดทำสวนสมุนไพร การรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าหายากในภาคตะวันออก การสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การสาธิตการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงาม ซึ่งราษฎรสามารถนำไปประกอบอาชีพเป็นรายได้เสริม นอกเหนือจากการทำการเกษตร รวมทั้งแนะนำส่งเสริมระบบสหกรณ์ให้แก่เกษตรกร การให้บริการสีข้าว ฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย อันจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงสมบูรณ์ต่อไป 
|
|
ในการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาแห่งนี้ มีลักษณะการดำเนินงานแบบผสมผสาน มีหน่วยงานต่างๆรวมกันดำเนินงานในพื้นที่ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน กรมพัฒนาชุมชน กรมโยธาธิการ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา และมีหน่วยงานนอกศูนย์ฯ ตลอดจนภาคเอกชน สนับสนุนการดำเนินการอีกมาก โดยมีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักประสานการดำเนินการ และบริหารงานโดยคณะกรรมการ คณะทำงานต่างๆ ทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ | 

|

|
| |
| ๑. ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ๑.๑ การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และอนุรักษ์ธรรมชาติ ๑.๒ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน ๑.๓ การฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งน้ำ ๑.๔ การศึกษาวิจัยพันธุ์พืชและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร 
๒. งานค้นคว้าวิจัย ๒.๑ ผักหวานบ้าน ๒.๒ โครงการสร้างพันธุ์ลูกผสมสองชั้นในพืชผักรับประทานผล ๒.๓ ข้าวโพดหวานลูกผสมสามทางพันธุ์ "ฉัตรทอง 2-9 F1" ๒.๔ ทดสอบปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ฉัตรทอง 2-9 F1
๒.๕ ข้าวโพดหวานพันธุ์ "ฉัตรทอง 1-4" ๒.๖ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดียวชั่วที่ 1 พันธุ์ "ฉัตรเงิน F1" ๒.๗ ถั่วฝักยาวพันธุ์ "พนมสารคาม" ๒.๘ พันธุ์ไม้หายาก อาทิ จำปีสิรินธร , สิรินธรวัลลี , เปล้าน้อย , ยี่หุบปลี , พระเจ้าห้าองค์ เป็นต้น
๓. งานขยายผล ๓.๑ การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำจากงบประมาณประจำปี ๓.๒ การจัดสร้างแหล่งน้ำโดยใช้งบประมาณของสำนักงาน กปร.

๔. งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ๔.๑ ต้อนรับผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานเยี่ยมชมศูนย์ฯ ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่บรรยายให้กับคณะเยี่ยมชม พื้นที่ โดยทำการสรุปผลจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเป็นรายเดือน

|
| จากการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐาน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประกอบการเกษตรได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ กล่าวคือได้จัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สร้างสภาพป่าและไม้ยืนต้นในบริเวณโครงการและพื้นที่ข้างเคียงเป็นการปรับสภาพแวดล้อมและเพิ่มความชุ่มชื้นให้มากขึ้น สร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินซึ่งปัจจุบันพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้หญ้าแฝกในการดำเนินการดังกล่าว 
และปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นหลังจากนั้นได้ศึกษาหาเทคโนโลยีพัฒนาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยเน้นวิธีการผสมผสานเป็นการรักษาสมดุลธรรมชาติและประหยัด เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรเข้าศึกษาหาความรู้ นำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้ ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมศึกษาดูงานของผู้สนใจทั่วไป จากนั้นได้ขยายผลออกสู่หมู่บ้านบริเวณรอบศูนย์ให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
|
| |
| ๑. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ ประมาณ 1,250 ไร่ ๒. โครงการส่วนพระองค์เขาหินซ้อนฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ 655 ไร่
๓. หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ พื้นที่ลุ่มน้ำโจน จำนวน 15 หมู่บ้านในเขตตำบลเขาหินซ้อน และตำบลเกาะขนุน มีเนื้อที่ประมาณ 113,214 ไร่ ๔. พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย บริเวณตำบลบ้านซ่องและตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสาร คาม มีเนื้อที่ 33 ไร่

๕. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ประมาณ 23,157 ไร่
|
|
 |
| |
|
| กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร กรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์
ต้นพระศรีมหาโพธิ ในหลวงทรงปลูก
กรมประมง ตำรวจตระเวนชายแดน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมปศุสัตว์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดฉะเชิงเทรา กรมพัฒนาที่ดิน กรมการพัฒนาชุมชน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

|
| |
| ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 100กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก อยู่บนฝั่งขวาของถนนฉะเชิงเทรา -กบินทร์บุรี ตามทางหลวงแผ่นดินสาย304 ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม ประมาณ 15 กิโลเมตร 
 
|
|


|
พื้นที่ดำเนินการ ๑,๘๖๙ ไร่ โทร. (๐๓๘) ๕๙๙๑๐๕-๖ โทรสาร (๐๓๘) ๕๙๙๑๐๖
การไปทัศนศึกษาครั้งนีต้องการปลูกฝังเยาวชนให้รับรู้และเข้าใจใครงการต่างๆที่ในหลวงทรงทำเพื่อปวงชนชาวไทย และเพื่อก่อให้เกิดสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้น ข้าพเจ้าขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป แมวเหมียว 3 ตุลาคม 2550 
http://www.rdpb.go.th/rdpb/TH/BRANDSITE/theproject_rdsc04_1.aspx http://web.ku.ac.th/king72/center/center1.htm
|