ปัญหาโลกร้อนเป็นแพะทั่วราชอาณาจักรสำหรับทุกปรากฏการณ์ความผิดปรกติของธรรมชาติ โดยปัญหาเรื่องการที่โลก หรือจะจำกัดลงเฉพาะประเทศไทย ที่ขาดแคลนน้ำจืด ก็ถูกโบ้ยเป็นผลจากปัญหาโลกร้อนเสียทั้งหมด นัยว่า ถ้าปัญหาโลกร้อนยุติ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำจืด ปัญหาภัยธรรมชาติ และปัญหาฤดูกาลผิดเพี้ยนจะถูกแก้ไขไปเสียทั้งหมด ผู้เขียนได้มีการรวบรวมข้อมูลปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในช่วงปี 2548 ซึ่งตอนนั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อการปรับปรุงโรงงานให้สามารถอยู่รอดผ่านวิกฤติน้ำภาคตะวันออกไปได้ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่รวบรวมมามีประเด็นปัญหาการบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่น่าเป็นห่วงอยู่ ถ้าติดตามข่าวสาร จะมีการทำนายถึงภาวะการขาดแคลนน้ำในปี 2010 ซึ่งอาจมีพลเมืองโลกขาดแคลนน้ำถึง 2/3 เลยทีเดียว แต่ทีนี้ ข้อมูลที่จะทำให้เห็นภาพรวมของทรัพยากรน้ำยังค่อนข้างจำกัด จึงจะขออธิบายเพิ่มเติมสำหรับบุคคลทั่วไปนอกวงวิชาการ ปริมาณน้ำนำใช้ของประเทศไทยตามข้อมูลวิจัยของ "Shapkota" อ้างอิงจากข้อมูลของ TDRI มีปริมาณน้ำที่มนุษย์สามารถนำใช้ได้ทั้งสิ้น 199 ลูกบาศก์กิโลเมตร (พันล้านลูกบาศก์เมตร) ซึ่งปริมาณการใช้ต่อปีที่ปี 2000 อยู่ที่ 85 ลูกบาศก์กิโลเมตร และมีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นเท่าตัวใน 1 ทศวรรษ จากอัตราปัจจุบัน ประมาณได้ว่าในปี 2010 จะมีการใช้น้ำถึงร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำทั้งหมด ปริมาณน้ำนำใช้นี้ได้มาจากไหน เรามาดูกันที่ระบบนิเวศน์น้ำให้ชัดๆ จะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำจืดที่มีบนบกนั้น มาจากน้ำฝนที่ตกลงบนผืนแผ่นดิน และกลายเป็นแม่น้ำบ้าง น้ำบาดาลบ้าง บางส่วนตกลงในนิเวศน์ของป่า และพื้นที่ๆมนุษย์ไม่อาจเข้าถึง และนั่นคือที่มาของข้จจำกัดปริมาณน้ำของประเทศไทย หรือพื้นที่ต่างๆของโลก บางครั้ง ด้วยสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาจเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า พื้นที่ๆมนุษย์เตรียมไว้รับน้ำเช่นเขื่อนต่างๆ ก็กลายว่าเสียเปล่าเพราะฝนไปตกที่อื่นแทน ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมีจำกัดนี้ เรามาดูการวิเคราะห์การเพิ่มของอัตราการใช้น้ำ ว่าเป็นจริงอย่างที่นักวิจัยว่ากันหรือไม่ ในตัวอย่างที่เห็น เป็นการเก็บข้อมูลการใช้น้ำเฉพาะในภาคตะวันออก สังเกตว่าในคาบเวลา 5 ปี การใช้น้ำมีการเพิ่มขึ้นถึงเกือบเท่าตัว แน่นอนว่าข้อมูลดังกล่าวมากกว่าที่ TDRI ทำนายไว้ แต่เพราะภาคตะวันออกมีการใช้น้ำในการอุตสาหกรรม ทำให้อัตราการเติบโตสูงกว่าในภาคอื่นๆ แต่ก็เป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเราใช้น้ำกันมากขึ้นจริงๆ ณ จุดนี้ เราคงเห็นต้นตอจริงๆของการขาดแคลนน้ำแล้ว ไม่ใช่แค่เพราะสภาวะอากาศวิปริตแล้วเราจึงขาดน้ำ แต่เพราะเราใช้น้ำโดยไม่มีการควบคุมนั่นเอง ทั้งๆ ที่น้ำคือหัวใจของชีวิต แต่ต้นทุนน้ำกลับถูกแสนถูก แค่ 10 21 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าโรงงานไหนจะทำเรื่องการลดค่าใช้จ่ายน้ำก็ดูบ้าเต็มที เพราะอย่างโรงงานของผผู้เขียนมีการใช้น้ำเดือนละ 20,000 ลบม ก็เพียงแค่ 420,000 บาทเท่านั้น เทียบกับค่าวัตถุดิบอื่นๆแล้ว การลงทุนเพื่อลดทรัพยากรส่วนอื่นๆดูจะคุ้มค่ากว่าการทำเรื่องการอนุรักษ์น้ำเป็นไหนๆ ถ้าไม่ใช่เพราะปัญหาเรื่องภาคตะวันออกขาดน้ำ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำก็คงไม่ได้เกิด แต่ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องทรัพยากรน้ำก็ยังไม่จบเพียงแค่นี้ เพราะภาคอุตสาหกรรม แม้ดูว่าใช้น้ำมากแล้ว แต่ภาคเกษตรกรรม ยิ่งใช้น้ำมากกว่า โดยเกษตรกรรมเป็นภาคที่มีการใช้น้ำสูงสุดถึงร้อยละ 85 (ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว โดยการผลิตข้าว 1 กก ใช้น้ำ 2500 ลิตร สาบานได้ ผมเองก็ไม่อยากเชื่อ) ส่วนภาคอุตสาหกรรมจะมีการใช้น้ำเพียงร้อยละ 4 แต่ในแง่ของรายได้ประชาชาติแล้ว ขนาดรายได้ของภาคอุตสาหกรรมมีรายได้ดีกว่ามากโดยเฉพาะเมื่อเทียบเป็นบาทต่อลูกบาศก์เมตร ทีนี้เราจะแก้ปัญหากันอย่างไร ถ้าเราเชื่อกันแล้วว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นวาระระดับชาติ? เราจะต้องมาทบทวนกันอย่างจริงๆจังๆว่า นโยบายที่ประเทศไทยจะเป็นครัวโลก เราจะเป็นถึงขนาดไหน เราคงไม่คิดที่จะเป็นผู้ผลิตสินค้ามูลฐานกันเพียงอย่างเดียว สินค้าเกษตรเรา ถ้าจัดสัดส่วนให้ดี คือผลิตพอใช้เอง และผลิตให้พอกับความต้องการด้วยราคาที่เหมาะสม หรือแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จโดยเน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณ น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการที่เราจะสร้างผลิตผลทางการเกษตรแบบอีลุ่ยฉุยแฉก ปลูกไปไม่ได้ราคา เสียทรัพยากรน้ำโดยเปล่าประโยชน์ ในส่วนทิศทางการจัดการแหล่งน้ำของภาคอุตสาหกรรม จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ด้วยตนเองทั้งหมด เพื่อรับมือกับสภาพการขาดแคลนน้ำ และความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารแหล่งน้ำของรัฐ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่ขาดแคลนทั้งแหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน แต่กลับมีอัตราการเติบโตของอุปทานการใช้น้ำสูงถึงกว่าปีละ 10% วิธีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ที่มีการศึกษา ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการจัดลำดับการใช้น้ำ (Cascading per Activity) ส่วนการนำน้ำมาบำบัดจนใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของกระบวนการเดิม ยังมีข้อจำกัดจากจิตวิทยา ด้วยความรู้สึกว่า การเป็นน้ำบำบัดต้องสกปรก ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขด้วยการศึกษาต่อไป เพื่อความยั่งยืนของการพัฒนาแหล่งน้ำและความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรม และของประเทศ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
What LEGO can do!? | ||
![]() |
||
Praise to LEGO God hand, we ain't worthy!!! |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |