![]() พ.ศ. ๒๔๒๖
รัฐบาลไทยเริ่มอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ารับสัมปทานทำไม้สักในประเทศไทยได้ และในช่วงเวลาเดียวกัน คือ หลังจาก พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นต้นมา ที่พม่าก็ได้ปิดป่าไม้สักไม่ให้มีการทำ เนื่องจากสภาพป่าสักเสื่อมโทรมลงมากจากการทำไม้ของบริษัทต่างชาติ และความต้องการไม้สักในหมู่ประเทศยุโรปจึงมีมากขึ้น เมื่อมีความชำนาญในการทำไม้ในพม่า บริษัทของอังกฤษทราบถึงวิธีการที่จะได้ผลมากที่สุด ทั้งเทคนิคการตัดไม้และลากจูง การลงทุนที่คุ้มค่าและมีกำไรสูงสุด และการบริหารงาน ความเชี่ยวชาญ และเหตุผลข้างต้นทำให้บริษัททำไม้ของยุโรปเข้ามาตั้งบริษัททำธุรกิจในประเทศไทย
เริ่มจากบริษัทบริดิช เบอร์เนียว จำกัด มาตั้งที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ แต่เริ่มอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา เทรดดิ้ง จำกัด [Bombay Burma Trading Corporation,Ltd.]ของอังกฤษ ซึ่งเป็นใหญ่และมีอิทธิพลมากในประเทศพม่าเข้ามาใน พ.ศ. ๒๔๓๒ ตั้งสาขาที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ บริษัทสยามฟอเรสต์ จำกัด [Siam Forest Company,Ltd.] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น แองโกลสยามและแองโกลไทย จำกัด เข้ามาทำป่าไม้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ บริษัทหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ [Louis t.Leonowens Ltd.] ซึ่งแยกมาจากบริษัทบริดิช บอร์เนียว ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ และบริษัทของชาวเดนมาร์กอีกแห่งหนึ่งคือ บริษัทอิสต์ เอเชียติค จำกัด ตั้งขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นบริษัทที่นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาค้าขายด้วย สำนักงานเดิมตั้งอยู่ข้างโรงแรมโอเรียลเต็ล และบริษัทนี้ยังคงทำธุรกิจอยู่จนทุกวันนี้ และยังมีบริษัทของฝรั่งเศสอีกหนึ่งบริษัทคือ บริษัทเอชิอาติก เออาฟริเกน ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ส่วนผู้ทำไม้รายย่อยซึ่งเริ่มเป็นกลุ่มชนชั้นนำที่เป็นนายทุนของสยามได้แก่ บริษัทล่ำซำ จำกัด ของนายอึ้ง ล่ำซำ ซึ่งเป็นคนในบังคับฝรั่งเศส บริษัทกิมเซ่งหลี จำกัด ก่อตั้งโดย นายอากรเต็งหรือหลวงอุดรภัณฑ์พานิช ซึ่งมีทุนน้อยกว่าชาวยุโรป นอกจากนี้ยังมีเจ้านายจากเมืองต่างๆ โดยเฉพาะเมืองแพร่และเมืองน่าน คนอเมริกันและฮอลันดา และคนท้องถิ่น
![]() ![]() ![]() การทำป่าไม้ในมณฑลพายัพดำเนินการโดยพ่อค้าอังกฤษและชาวพม่าในบังคับอังกฤษ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของ ๒ บริษัทป่าไม้อังกฤษใหญ่ๆ คือ บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา และบริษัท บริดิช บอร์เนียว ซึ่งการดำเนินงานของทั้งสองบริษัทจะกระทำอย่างมีแบบเเผนและใช้วิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง คนที่ทำป่าไม้ก็มีความชำนาญในการทำป่าไม้มาจากพม่า เมื่อบริษัทได้มาตั้งสาขาขึ้นในมณฑลพายัพก็ดำเนินการทำป่าไม้ทุกอย่าง นับตั้งแต่การรับเช่าทำป่าไม้ การตัด แม้แต่การออกทุนในการรับซื้อไม้จากพ่อค้าไม้ชาวพื้นเมือง
![]() การทำธุรกิจป่าไม้เป็นแบบการรับสัมปทานป่าเป็นผืนๆ ไป การลงทุน เทคโนโลยี การจ้างแรงงานเป็นของบริษัทรับทำทั้งหมด ส่วนการอนุญาตเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ เช่น เจ้าผู้ครองนครของหัวเมืองต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การขัดแย้งในทางธุรกิจที่อาจนำไปสู่ข้ออ้างทางการเมืองที่ฝ่ายเจ้าอาณานิคมที่เป็นคนดูแลทั้งบริษัทและคนในบังคับชาติต่างๆ สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการจุดประเด็นเพื่อเข้ายึดดินแดนต่างๆ ได้ ดังที่เคยเกิดขึ้นในพม่าและที่อื่นๆ
การจัดการป่าไม้โดยรัฐบาลจากกรุงเทพฯ การฟ้องร้องจำนวนมากและหลายคดีที่ฝ่ายเจ้าของสัมปทานคือเจ้าผู้ครองนครเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้รัฐไทยตระหนักว่าความขัดแย้งเหล่านี้จะขยายเพิ่มมากขึ้นและคุกคามต่ออาณาเขตของรัฐที่ยังไม่มีความชัดเจนในขณะนั้น จนนำไปสู่ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์และยกเลิกหัวเมืองประเทศราช จัดระบบการปกครองที่ดูแลจากส่วนกลางอย่างเข้มข้นในระยะเวลาเดียวกัน
การแก้ไขปัญหาในเรื่องการทำสัมปทานป่าไม้ซึ่งมีการออกพระราชบัญญัติและประกาศต่างๆ เกี่ยวกับไม้สักเพื่อแก้ปัญหาการให้สัมปทานเช่าซ้ำซ้อน การจัดเก็บภาษีที่ดีขึ้น การลักขโมยตัดไม้ การฆาตกรรม การลอบตีตราเถื่อนและซ้ำซ้อน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๖ เจ้าผู้ครองนครต่างๆ ที่จะทำสัญญากับชาวต่างประเทศต้องได้รับความยินยอมจากกรุงเทพฯ ก่อน
![]() ในช่วง พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๒๗ รัฐบาลส่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ไปเป็นข้าหลวงพิเศษแก้ไขปัญหาป่าไม้ และมีประกาศ พ.ศ. ๒๔๒๗ เรื่องซื้อขายไม้ขอนสักและประกาศเรื่องตัดไม้สัก พ.ศ. ๒๔๒๗ เพื่อควบคุมเรื่องการทำสัญญาเช่าป่าให้อยู่กับรัฐบาลและข้าหลวงจากกรุงเทพฯ เท่านั้น ห้ามเจ้านายเจ้าของป่าออกใบอนุญาตแก่ผู้ขอเช่าทำป่าไม้เอง เป็นการลดอำนาจเจ้าผู้ครองนครโดยตรง เพราะรายได้จำนวนมากเหล่านี้ตกอยู่กับเจ้านายในหัวเมืองต่างๆ ซึ่งสวนทางกับแนวโน้มในการจัดระบบการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจที่จะเกิดขึ้น และห้ามไม่ให้ตัดฟันไม้สักในป่าเขตเมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน นอกจากได้รับอนุญาตจากข้าหลวง นอกจากนี้ยังมีประกาศเรื่องการเก็บภาษีไม้ขอนสักให้ถูกต้องใน พ.ศ. ๒๔๓๑ ห้ามไม่ให้ล่องไม้ในเวลากลางคืน ห้ามลักขโมยไม้ใน พ.ศ. ๒๔๓๙
รัฐบาลได้โอน Mr. Castenjold ที่เดิมปฏิบัติราชการประจำกระทรวงการคลังมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อช่วยสำรวจสถานการณ์ป่าไม้สักทางมณฑลพายัพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ แต่ได้ล้มป่วยและถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันที่จังหวัดตาก ต่อมาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เจรจาขอยืมตัว Mr. H. A. Slade ข้าราชการอังกฤษที่รับราชการในกรมป่าไม้พม่าให้เข้ามาช่วยให้คำแนะนำ คำปรึกษา ในกิจการป่าไม้ของไทย เช่นเดียวกับที่ Sir. Dietrich Brandis ได้เริ่มลงมือจัดการป่าไม้ในประเทศพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙
ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๘ Mr. Slade ขึ้นไปตรวจการทำป่าไม้ในหัวเมืองภาคเหนือ โดยออกเดินทางจากกรุงเทพฯ พร้อมนักเรียนไทยฝึกหัดอีก ๕ คน ออกไปสำรวจและนำเสนอรายงานชี้แจงข้อบกพร่องต่างๆ ของการทำป่าไม้ในเวลานั้น และให้ข้อเสนอแนะต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลไทยเคยออกประกาศและพระราชบัญญัติต่างๆ โดยสรุปคือ
ข้อเสนอแนะต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยของ Mr. Slade
* ควรทำแผนที่แบ่งป่าไม้สักและไม้อื่นๆ ทางภาคเหนือเพื่อทราบความหนาแน่นของไม้และมูลค่าจริงของป่าแต่ละแห่งแล้วจัดวางโครงการทำป่าไม้
* ควรสำรวจไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สักเพื่อใช้ทดแทนไม้สัก เป็นการสงวนพันธุ์ไม้สักไว้ใช้ประโยชน์ในทางที่เหมาะสมต่อไป
* ควรดำเนินการให้ป่าไม้อยู่ในความดูแลของรัฐบาลและยกเลิกส่วนแบ่งค่าตอไม้ซึ่งเจ้านายต่างๆ ได้รับมาแต่เดิม โดยรัฐบาลจ่ายเงินเดือนให้เป็นการทดแทน รวมทั้งควรจัดตั้งหน่วยงานควบคุมป่าไม้ขึ้นเป็นทบวงการเมืองของรัฐ
* ควรออกกฎหมายสำหรับควบคุมกิจการป่าไม้เพื่อป้องกันรักษาป่า การจัดวางโครงการป่าและการจัดเก็บผลประโยชน์จากป่า รวมทั้งการแก้ไขสัญญาอนุญาตทำไม้ให้มีความเป็นระเบียบ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ
ควรจัดส่งนักเรียนไปศึกษาอบรมที่โรงเรียนการป่าไม้ในต่างประเทศ ๒-๓ คนทุกปี เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการบริหารกิจการป่าไม้ไทยต่อไป
* ควรจัดตั้งด่านภาษีใหม่รวม ๖ แห่ง ที่เมืองพิชัย สวรรคโลก ปากน้ำโพ และกรุงเทพฯ ส่วนค่าตอไม้สำหรับไม้ที่ล่องลงแม่น้ำสาละวิน ควรตั้งด่านภาษีที่เมืองมะละเเหม่งหรือเมาะลำเลิงเพื่อควบคุมไม้ที่ล่องไปยังพม่า และควรปรับปรุงวิธีจัดเก็บภาษีให้เป็นไปตามมาตรฐานการป่าไม้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นชอบกับกระทรวงมหาดไทยและรายงานของ Mr. Slade ว่าถูกต้องสมควรทุกประการ โดยกล่าวถึงอำนาจรัฐบาลซึ่งถือว่าป่าไม้เป็นของหลวงมาแต่เดิมจะใช้สิทธิ์ตามอำนาจนั้น เจ้าผู้ครองนครผู้เป็นเจ้าของป่าเมื่อเป็นผู้อนุญาตแต่ผู้เดียวก็ไม่สามารถจัดการกับการสัมปทานค่าตอไม้ได้อย่างชัดเจน และการใช้จ่ายเงินทองรั่วไหลไปที่ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ถึงรัฐอย่างเต็มที่ หากจะสูญเสียรายได้ก็น่าจะเป็นการเสียรายได้จากการจ่ายเงินเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาคอรัปชั่นในการสัมปทานป่ามาตั้งแต่ช่วงแรกๆ
จากปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปิดให้สัมปทานหรือทำสัญญาเช่าทำป่าไม้สัก กลายเป็นช่องทางให้ผู้รับเหมาตัดไม้สักอย่างเดียว ไม่จำกัดขนาดและปริมาณจนหมดป่า รัฐบาลกลางจึงจัดตั้ง กรมป่าไม้ ขึ้นในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Royal Forest Department สังกัดกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากในเวลานั้นกระทรวงเกษตราธิการเพิ่งจะสถาปนาขึ้นใหม่ ยังไม่มีกำลังพอจะดำเนินการเองได้ และชื่อภาษาอังกฤษบ่งบอกเป็นนัยว่า ป่าไม้นั้นเป็นของหลวง
เมื่อตั้งกรมป่าไม้ขึ้นแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ Mr. Slade เป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรกในอีกหนึ่งเดือนต่อมา สิ่งที่กรมป่าไม้จัดการก็คือ การแก้ปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ป่าไม้ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความไม่พอใจจากเจ้านายจากหัวเมือง โดยเฉพาะที่เกิดเหตุการณ์จนถึงกับล้มเลิกระบบเจ้าหลวงปกครองเมืองเป็นแห่งแรกในหัวเมืองเหนือ เช่นที่เมืองแพร่ เป็นต้น
ไม้สักแห่งป่าลุ่มแม่น้ำลี้
บ.บอมเบย์เบอร์ม่า ใด้ยื่นขอสัมปทานไม้สัก จากเจ้าผู้ครองนครลำพูน ในปี พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๔๓ หลังจากที่คู่แข่งที่สำคัญเชื้อชาติเดียวกันคือ บ.บริชติซบอร์เนียวใด้เข้ามายื่นขอสัมปทานไม้สักไปก่อนแล้วหลายสิบปี สาเหตุก็เพราะ บ.บอมเบย์เบอร์ม่าใด้ทำสงครามกับราชอาณาจักรพม่า จนกระทั่งสงครามแล้วเสร็จ บ.บอมเบย์เบอร์ม่าถอดตำแหน่งพระเจ้าธีร์บอว์ ออกจากราชบัลลังค์พร้อมทั้งเนรเทศพระองค์ไปใว้ที่เมืองรัตนปุระคีรี ประเทศอินเดีย จากนั้น บ.บอมเบย์เบอร์ม่าจึงรีบใส่เกียร์ ๕ มุ่งมายังล้านนา นครลำพูน เชียงใหม่ บ.บอมเบย์เบอร์ม่าได้ขอแบ่งสิทธิในการทำไม้สักในป่าตลอดแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตั้งแต่เมืองลำพูนไปจนถึงเขตเมืองเชียงใหม่ พร้อมกันนั้น ยังยื่นขอซื้อป่าแม่ก้อ ๓๐,๐๐๐ บาท จาก หม่องคำชาวพม่าที่อยู่ในเมืองตาก ป่าแม่ก้อเป็นป่าสัมปทานไม้สักแห่งแรกของสยาม ที่มีการสัมปทานอย่างทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๘๓ การทำไม้ของ บ.บอมเบย์เบอร์ม่าเป็นไปตามกฏหมายข้อตกลง ๔ ข้อที่ทำกับรัฐบาลสยามเอาไว้คือ
๑. อนุญาตให้ตัดเฉพาะไม้สักชั้นหนึ่ง ที่มีขนาดเส้นรอบวง ๖ ฟุต ๔.๕ นิ้ว และจะต้องวัดขนาดในความสูงที่ไม่ต่ำกว่า ๔ ฟุต ๕ นิ้วจากพื้นดิน
๒. ไม้สักที่จะตัด จะต้องทำการกานไม้เอาไว้ไม่ต่ำกว่า ๒ ปี เพื่อให้ไม้สักยืนต้นตาย ๓. การตัดไม้สัก ๑ ต้นจะต้องปลูกไม้สักทดแทนไว้ให้ ๔ ต้น ไม้ต้นใดที่งดงามต้องกันเอาไว้เป็นแม่ไม้
๔. ต้องตีตราสัญลักษณ์ของ บ. เอาไว้ที่ท่อนซุง
![]() ขั้นตอนการทำไม้สักในป่าสัมปทาน นายห้างฝรั่ง(นักสำรวจ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ)จะทำการสำรวจไม้สักคัดไม้ที่จะให้คนงาน กานไม้ (สับ หรือ ฟันให้เปลือกไม้และท่อน้ำเลี้ยงที่เปลือกไม้ขาด จากนั้นรอให้ต้นสักแห้งยืนต้นตาย เพื่อที่เวลาตัดหรือเลื่อยไม้จะไม่แตกหรือบิด เวลาที่ช้างลาก น้ำหนักของต้นไม้จะใด้ลดลง แถมเวลาล่องซุง ไม้สักแห้งจะลอยน้ำใด้ดีขึ้น) ช่วงระหว่างนี้ คนคุมงานชาวไทใหญ่จะสั่งนำช้างและควาญข้ามมาจากรัฐฉาน ช้างและควาญที่ยังไม่เคยทำงานจะถูกฝึกในระหว่างระยะเวลานี้
![]() ![]() พอใด้เวลา ๒ ปีแล้ว คนงานแรงงานจะไปตัดต้นไม้สักที่ได้กานต้นจนแห้งดีแล้ว โค่นลงมา จากนั้นช่วงที่หมดฤดูฝน ช้างงานจะเข้าไปลากไม้ในป่า ลากออกมากองไว้ตามริมห้วยริมลำธารกองเอาไว้ รอจนถึงต้นฤดูฝน พอน้ำป่าน้ำห้วยไหลแรง ช้างงาจะดันไม้ซุงล่องลงไปกับสายน้ำ ในแต่ละคุ้งน้ำ ที่เป็นโค้ง หรือ ช่วงที่น้ำไม่แรงก็จะมีช้างงาคอยเฝ้าเพื่อดันซุงที่มาปะ(ติด)กับริมฝั่ง ออกไป เพื่อให้ซุงไปถึงที่บริเวณที่มีการดักซุง ในเมืองนครลำพูนจะทำการดักซุงไว้ที่บริเวณบ้านป่าพลู ไม้ซุงจะถูกลากขึ้นจากแม่น้ำลี้เพื่อนำไปขึ้นรถราง เพื่อทำการชักลากไปลงแม่น้ำลี้ที่บ้านเวียงดอยหลังถ้ำ เพื่อผูกเป็นแพล่องที่บริเวณบ้านเวียงส่งล่องลงไปตามแม่น้ำ ไปจนถึงด่านขนอน เดิมจะอยู่ที่เมืองชัยนาทร ต่อมาใด้ย้ายมาที่เมืองปากน้ำโพ(นครสรรค์)
![]() ทางรัฐบาลสยามจะตรวจนับท่อนซุงเพื่อเก็บภาษีจากทาง บ.ต้นทางที่ตัดไม้ซุงล่องลงมา พอตรวจนับเสร็จก็จะปล่อยแพซุงให้ไหลลงมา ที่บนแพซุง จะมีคนงานหลายคนคอยเฝ้าแพ เพื่อคัดถ่อหัวแพและท้ายแพไม่ให้ไปเกยตื้นริมฝั่ง แพซุงจะมีเชือกหวายผูกไว้ที่รูจมูกซุง(รูเจาะสำหรับร้อยโซ่ให้ช้างลาก)ผูกติดกันเป็นผืนและมีการสร้างกระท่อมไว้บนแพ กินอยู่หลับนอนบนแพซุงเป็นแรมเดือน ช่วงแรกๆแพซุงจะล่องออกไปจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย ที่มีเรือกลไฟฝรั่งคอยรับไม้ซุงเป็นท่อนๆไป
ต่อมามีการลงทุนสร้างโรงเรื่องเครื่องจักรไอน้ำขึ้น เรียงรายตั้งแต่บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ลงไปจนถึงสมุทรปราการ คนคุมแพถ้าส่งไม้ซุงถึงโรงเรื่อยแล้วก็จะพากันกลับมาขึ้นรถไฟ ในแรกๆในสมัยนั้นสถานีรถไฟมาถึงแค่เมืองพิษณุโลก ต้องเดินเท้ากลับขึ้นมาจากพิษณุโลกขึ้นไปทาง เมืองเถิน เมืองลี้ เป็นขบวนนายฮ้อย จนต่อมาถึงมีการเจาะอุโมงค์ดอยขุนตาลและขยายทางรถไฟมาจนถึงเชียงใหม่
![]() กิจการล่องซุงทำมาจนถึงยุคหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา รถยนต์หรือรถลากไม้ก็เริ่มเข้ามามีบทบาท แทนที่การใช้ช้างลากซุงไปล่องแม่น้ำ รถลากรุ่นแรกๆเข้ามา ยี่ห้อ ด๊อจ.สหะ ดีซาโก้ ฟาโก้ และ เชฟ วิ่งเข้ามาลากไม้ในเมืองลี้ ครั้งแรกๆในปลายๆปี ๒๔๘๔ การทำถนนสำหรับรถลากไม้ เขาจะใช้แรงงานคนในการตัดต้นไม้ถางป่า ตอไม้จะถูกตัดจนชิดกับพื้นดิน ตอไหนขุดออกใด้ก็จะขุด ที่ขุดไม่ใด้ก็เอาไฟสุมเผา ช่วงที่เป็นลำธารข้ามลำห้วยก็จะสร้างสะพานไม้ซุงข้าม สมัยนั้นยังไม่มี บักผีปากกว้าง หรือ รถแทร๊คเตอร์ การทำไม้สักของ บ.บอมเบย์เบอร์ม่าในป่าเมืองลี้ ทำตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๓ มาหยุดชงักในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ปี ๒๔๘๔ - ๒๔๘๗ หลังสงครามก็มาเริ่มกิจการอีกครั้งจนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๓ จึงเลิกกิจการไป
ขอบคุณ : FB ล้านนาประเทศ & ช่างตุ๋ย ทีเคแอร์แอนด์เซอร์วิส
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |